วันนี้ (17 ก.ค.)นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า ในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการแบนสารเคมี 2 ชนิด คือพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ซึ่งจากข้อมูลใหม่เห็นว่าควรจะมีการแบนไปด้วยนั้น เบื้องต้นภาคประชาชนจะมีการดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ 1.มูลนิธิชีววิถี และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะมีการรวบรวมรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบจากสารเคมีทั้ง 3 ชนิด เพื่อฟ้องร้องคณะกรรมการวัตถุอันตรายต่อศาลปกครอง กรณีมีมติไม่แบนสารเคมีทั้ง3 ชนิด ตามมติของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอยู่ระหว่างการหาข้อมูลและรวบรวมรายชื่อ คาดว่าจะใช้เวลา 2สัปดาห์ จะสามารถทำการฟ้องร้องได้ 2.ได้รับข้อมูลเบื้องหลัง ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้ในการตัดสินมติอัปยศ ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยจะมีการเปิดเผยข้อมูล คาดว่าในวันจันทร์ ที่ 20 ส.ค.จะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงข้อมูลดังกล่าว และคาดว่าใน 1-2 วันนี้จะสามารถเปิดข้อมูลต่อประชาชนเพื่อให้ประชาชนดาวโหลดผ่านเว็บไซต์ Thai-Pan 3.การจับตามองคณะกรรมการชุดใหม่ ชื่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงที่ นายกฯ แต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง โดยขอให้คณะกรรมการรายงานผลการประชุมต่อ นายกฯภายใน 60 วัน
“คณะกรรมการชุดใหม่ ถูกมองว่าเป็นคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเป็นการยื้อเวลาการแบน สารพิษทั้ง 3 ชนิด โดยขอให้คณะกรรมการเปิดเผยข้อมูลต่อนายกฯ ภายใน 60 วัน ซึ่งต้องมาจากการประมวลข้อมูลจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร นายกฯ ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาเองต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่โลกมีการแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด เห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกามีการตัดสินให้บริษัทสารเคมีชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าเกิดจากสารเคมีของบริษัทนั้น แต่กลับมีการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา ซึ่งในคณะกรรมการมีมีกลุ่มของผู้สนับสนุนให้มีการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดต่อ และมี 3 คนที่ชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์กับบริษัทผู้ผลิต” นายวิฑูรย์ กล่าวและว่า.คณะกรรมการชุดใหม่ต้องตัดสินด้วยความโปร่งใส ซึ่งต้องมีความรอบคอบไม่ให้เกิดการตัดสินซ้ำรอยเดิมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ทั้งนี้จากการที่ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกมาให้สัมภาษณ์แสดงจุดยืนให้มีการแบนตามมติเดิม เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก หากเรื่องนี้สำเร็จมีการแบนสารพิษทั้ง 3 ชนิด จะกลายเป็นคุณูปการ และเป็นเกียรติคุณให้ประชาชนได้พูดถึงคุณงานความดีของท่านเมื่อท่านได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว โดยทางภาคประชาชนกว่า 700 องค์จะให้การสนับสนุนท่านในเรื่องนี้ ซึ่งจะให้การสนับสนุนทางคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขโดยมี นพ.เสรี ตู้จินดา เป็นประธาน และ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่มีความเห็นตรงกับกระทรวงสาธารณสุขด้วย ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้นที่ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ก็ขอชื่นชมว่าที่จริงท่านบอกว่าเห็นด้วยให้มีการแบน แต่มีความกังวลว่าประชาชนจะไม่มีทางเลือก ตนเห็นว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตรง ในฐานะรัฐมนตรีท่านสามารถหากลไกแก้ไขและหาสารทดแทนได้ ไม่ใช่เรียกร้องให้หน่วยงานอื่นหาทางแก้ไข.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |