คาดปี 61 ตายพิษสุนัขบ้าไม่ต่ำกว่า 20 ราย


เพิ่มเพื่อน    

 


15ส.ค.61-คร. ชี้ยังไม่สิ้นปีมีคนตายจากพิษสุนัขบ้าแล้ว 15 รายคาด มีความเป็นไปได้ที่จะพบผู้เสียชีวิตเพิ่มถึง 20 ราย  มีการหารือทางผู้ผลิตในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจากการประมาณการณ์ยืนยันว่ามีวัคซีนเพียงพอ


ที่โรงแรมริชมอนด์ กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การบูรณาการการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า พื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่รอยต่อ” ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย กล่าวว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในคน ตั้งแต่ 1 มกราคท- 4 สิงหาคม 2561 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า 15 ราย และจากข้อมูลใน Thairabies.net ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ทั่วประเทศพบสัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า 1,180 ตัว พบในสุนัขมากที่สุด 1,034 ตัว คิอเป็นร้อยละ 88 รองลงมาเป็นโค 85 ตัว แมว 46 ตัว กระบือ 6 ตัว กระบือเนื้อ 4 ตัว แพะ 2 ตัว กวาง ม้า และสุกร อย่างละ 1 ตัว จะเห็นได้ว่าโรคพิษสุนัขบ้าเกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆได้เช่นกัน ไม่ใช่เป็นเฉพาะสุนัขเท่านั้น การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ต้องร่วมกันในหลายภาคส่วน ทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)
และในปี 2561 นี้ กรมควบคุมโรค โดยสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สำนักโรคติดต่อทั่วไป ศูนย์สารสนเทศ ได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์ และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พัฒนา Mobile Application ในการทำทะเบียนสัตว์เลี้ยงในกรุงเทพฯและปริมณฑล ทำให้ทราบจำนวนสัตว์เลี้ยง จำนวนสัตว์ที่ได้รับวัคซีน และการทำหมัน ที่ใกล้เคียงความจริง สามารถนำข้อมูลมาใช้วางแผนดำเนินการ เพื่อลดจำนวนสัตว์ป่วย คนป่วย

 


นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า ปัญหาของผู้เสียชีวิตจากการสัมผัสโรค คือ ไม่ไปฉีดวัคซีน ซึ่งพบว่ายังขาดความตระหนักในเรื่องนี้ จากข้อมูลพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งเป็นสัตว์มีเจ้าของ ทั้งนี้ ในส่วนของการติดตามผู้สัมผัสโรคอื่นๆที่ไม่ได้ถูกกัด เลีย อย่างกรณี  อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ขณะนี้ได้ฉีดวัคซีนในคนเพื่อป้องกันโรคไปแล้วประมาณร้อยละ 80 ของชาวบ้านที่สอบสวนโรคพบว่ามีการสัมผัส ทั้งนี้ขอย้ำว่า การติดเชื้อส่วนสำคัญคือ ตอนชำแหละ ตอนปรุงอาหาร กับตอนกิน ซึ่งอาจไม่สุก แต่อย่างไรก็ตาม  ไม่แนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์ที่ตายโดยไม่รู้สาเหตุ ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิต 15 ราย ยังไม่ครบปี ดังนั้น ก็ต้องเฝ้าระวัง และประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนอย่างหนักว่า หากสัมผัสโรคต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับวัคซีน เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะพบผู้เสียชีวิตเพิ่มถึง 20 รายภายในปี 2561


นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า พื้นที่เสี่ยงยังเป็นแบบเดิม หากพิจารณา 2 ปีก่อนจะพบพื้นที่ระบาดในตะวันออก รอบๆกรุงเทพฯ และอีสานใต้ แต่ปีนี้เปลี่ยนไปพบในอีสานกลาง บางส่วนของภาคกลางตอนล่าง เช่น จ.ประจวบคีรีขันธ์ และพบส่วนของแหล่งท่องเที่ยว อย่างภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการควบคุมโรคคุมเข้ม แต่ที่กังวลมีภาคตะวันออก และอีสานใต้ อย่างล่าสุดอ.กาบเชิง ก็เป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังมากเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งข้อกังวลว่าวัคซีนจะไม่เพียงพอนั้น ประชาชนไม่ต้องงกังวลทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้หารือกับทางผู้ผลิตในประเทศและต่างประเทศ โดยจากการประมาณการณ์ยืนยันว่ามีวัคซีนเพียงพอ เพียงแต่อาจมีข่าวจากแหล่งผู้ผลิตบางแห่งที่มีปัญหาวัคซีน แต่เมื่อหารือแล้วกับทางผู้ประสานงานก็ยืนยันว่าประเทศไทยไม่มีปัญหาวัคซีนป้องกันในคน.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"