15ส.ค.61- ในโอกาสครบรอบ 40 ปี มูลนิธิเด็ก จึงได้จัดเสวนา “พิทักษ์เด็ก พิทักษ์อนาคตชาติ ด้วยสังคมก้มหน้าได้จริงหรือ” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สังคม ภาครัฐเกิดการพัฒนาอย่างตรงจุดอย่างเข้าใจ และโดยเฉพาะพ่อแม่ หรือผู้ปกครองได้เกิดการรับรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเลี้ยงดู ให้อยู่ในสังคมโซเชียลมีเดีย นำไปใช้ให้ถูกทางและเกิดประโยชน์ ให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นอนาคตของชาติอย่างมีคุณภาพ
ในวงเสวนา พิภพ ธงไชย เลขาธิการมูลนิธิเด็ก กล่าวว่า ขณะนี้การพัฒนาเด็กอยู่ในภาวะวิกฤต เด็กไทย 30% จบจากโรงเรียน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีอาการจากโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือโรคแอลดี ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งถูกคัดออกจากระบบการศึกษา เมื่อเรียนจบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นำไปสู่การถูกผลักไสเจ้าสู่วงจรของผู้ใช้แรงงาน ดังนั้น การศึกษาไทยและการเลี้ยงดูเด็กไทย ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปการศึกษา ที่สำคัญตอนนี้ เป็นยุคที่สังคม ถูกย่อขนาดให้อยู่ในสมาร์ทโฟน ที่สะดวกสบาย พบว่ามีกลุ่มเด็กและเยาวชนกว่า 13 ล้านคน ที่ก้าวเข้าสู่สังคมก้มหน้า ติดเกมส์ เสพความบันเทิง หรืออื่นๆ นำไปสู่ปัญหาสมาชิกในครอบครัวสนใจสิ่งที่อยู่ในโลกออนไลน์ แม้จะอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน จนทำให้เกิดภาวะพลัดพรากซึ่งๆหน้า อีกทั้งข้อมูลจากทางสำนักสถิติแห่งชาติปี 2560 พบว่าในประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป มีการใช้มือถือร้อยละ 88.2 คอมพิวเตอร์ 52.9 และอินเตอร์เน็ต 30.3 โดยในกลุ่มอายุ 6-14 ปี ใช้ 60% มากที่สุดในกลุ่มอายุ 15-24 ปี ใช้ถึง 80% และในกลุ่ม 25-34 ปี วัยที่เป็นพ่อและแม่ ใช้ถึง 60%
"ดังนั้นเด็กและเยาวชน 13 ล้านคนจึงควรได้รับ การเลี้ยงดูเพื่อให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท ที่ต้องเริ่มมาจากสถาบันครอบครัว ซึ่งผู้ที่เป็นพ่อแม่สามารถเลี้ยงลูกให้อยู่กับเทคโนโลยีได้ แต่ก็ต้องคอยดูอยู่ใกล้ๆด้วย เพื่อให้คำแนะนำสิ่งต่างๆที่อยู่ในโซเชียล เพื่อให้เด็กได้รู้จักสิ่งที่ถูกสิ่งที่ผิด และไม่นำไปลอกเลียนแบบ เพราะในอนาคตพวกเขาก็คือผู้ที่พัฒนาและจับเคลื่อนสังคม และพ่อแม่เองในยุคสมัยนี้ก็ติดโซเชียลเช่นเดียวกันดังนั้นจึงควรทำเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกด้วย"เลขาธิการมูลนิธิเด็กกล่าว
ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยแชะวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า จากการศึกษาการติดสมาร์ตโฟนและผลกระทบ ในปี 2559 วัยรุ่นใช้สมาร์ตโฟนตั้งแต่ตื่นนอนถึงเข้านอนเฉลี่ย 10-15 ชั่วโมง ส่งผลให้มีอาการปวดตา ปวดแขน และในปี 2557 มีเด็กที่ติดเกมส์ออนไลน์ ทั่วประเทศราวๆ 10-15% ใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 3.1 ชั่วโมง ส่งผลให้วัยรุ่นไทยมีความเครียดและจิตใจที่แปรปรวน นอกจากนี้ข้อมูลจากทางสถาบันสุขภาพจิตได้รายงานว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2560 พบผู้ป่วยและวัยรุ่นส่วนใหญ่ อายุ 14-16 ปี ที่มีอาการเสพติดเกมส์ที่ต้องเข้ารับการบำบัดถึง 53 คน เพิ่มสูงขึ้น 1.5 เท่าในรอบ 3 ปี และเริ่มพบในเด็กที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ โดยน้อยที่สุดอยู่ที่อายุ 5 ขวบ ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเลี้ยงดูที่ปล่อยปละละเลย จากผู้เป็นพ่อและแม่
ด้าน พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เจ้าของเพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา ให้ความเห็นว่า สัมพันธภาพของครอบครัวที่ดีต้องสร้างตั้งแต่เด็กเกิดมา ด้วยหลัก 2 ร. คือ ร.แรก การให้ความรักความอบอุ่น ไม่รักจนจาดสติ ตามใจอย่ามีเหตุและผล เพื่อให้เด็กรู้จักควบคุมความต้องการ ไม่เกิดอาการก้าวร้าว โวยวาย และ ร.สอง คือ ระเบียบวินัย เด็กควรรู้จักควบคุมตัวเองตามระเบียบกฎเกณฑ์ตามช่วงวัยที่เหมาะสม และที่สำคัญคือต้องสมดุลกับ ร.ตัวแรกเพื่อให้เกิดสัมพันธ์ที่ดี เด็กก็จะเกิดการเชื่อฟังมากขึ้นด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |