เป็นที่ประจักษ์กันดีถึงคุณค่าของผักและผลไม้ว่ามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนชาวไทย พบว่า ส่วนใหญ่ยังกินผักผลไม้น้อยกว่าวันละ 400 กรัม ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่ทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องนพรัตน์ สามพราน ริเวอร์ไซด์ จ.นครปฐม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิสังคมสุขใจ จัดกิจกรรมสนับสนุนโครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม “Design My Plate” ด้วยการเสวนาเรื่อง “สู่ชีวิตใหม่ด้วยการกินผักผลไม้” พร้อมกิจกรรม “21 วัน มหัศจรรย์ผักผลไม้” ด้วยความหวังว่าจะทำให้คนทำงานเปลี่ยนชีวิตใหม่ด้วยการกินผักผลไม้
นางสาวจันทร์จิดา งามอุไรรัตน์ หัวหน้าโครงการเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงานด้วยการบริโภคผักผลไม้ 400 กรัม สสส. กล่าวว่า จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557 พบว่า คนส่วนใหญ่ หรือประมาณร้อยละ 74.1 บริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ และเป้าหมายยุทธศาสตร์ 10 ปีของ สสส.ตั้งเป้าให้ประชาชนบริโภคผักผลไม้ที่มีความปลอดภัยอย่างเพียงพอ 400 กรัมต่อวัน ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ให้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 50 ในปี 2564 สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการประกาศเป็นปีแห่งการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัย
การจัดเสวนาเรื่อง “สู่ชีวิตใหม่ ด้วยการกินผักผลไม้” มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการบริโภคผักผลไม้ให้กับประชาชนวัยทำงาน ในปีนี้เราได้ดำเนินการเป็นปีที่ 3 เพราะอยากเห็นคนไทยไร้โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไต ที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพระดับชาติที่ต้องการการแก้ไข
“ที่ผ่านมาเรามีกิจกรรม Design My Plate 21 วัน มหัศจรรย์ผักผลไม้ โดยแต่ละกิจกรรมเราได้มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อหวังให้แต่ละคนได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผัก 400 กรัมได้อย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลต้นแบบคือ เห็นผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง และมีผลในด้านสุขภาพที่ดีขึ้น รวมไปถึงยังมีองค์ความรู้ในการช่วยให้คนรอบตัวปรับพฤติกรรมในการบริโภคผักผลไม้อีกด้วย ต้องขอบคุณทาง สสส.ที่ให้การสนับสนุนโครงการเป็นอย่างดี จนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ในวันนี้” นางสาวจันทร์จิดากล่าว
ด้านนางสาววิภาจรี เจริญวงศ์ เจ้าหน้าที่จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบุคคลต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการ ได้เล่าถึงประสบการณ์และผลลัพธ์ให้ฟังว่า หลังจากการเข้าร่วมโครงการ 21 วัน มหัศจรรย์ผักผลไม้ มีสิ่งดีๆ ในเรื่องสุขภาพเกิดขึ้นหลายอย่าง ที่ชัดเจนเลยคือ ระบบขับถ่ายที่ตรงเวลา อาการท้องผูกที่เคยเป็นได้หายไป ร่างกายแข็งแรงขึ้น รู้สึกได้จากไข้หวัดที่มักจะเป็นบ่อยๆ เวลาอากาศเปลี่ยน ตอนนี้การรับประทานผักผลไม้เป็นนิสัย เวลาสั่งอาหารนอกบ้านก็จะเลือกเมนูผักด้วยเสมอ หรือถ้าสั่งอาหารจานเดียวก็จะสั่งเพิ่มผัก เชื่อว่าการดูแลสุขภาพต้องเริ่มจากตัวเราเองง่ายๆ จากการเลือกรับประทานของที่ดีมีประโยชน์
“การกินผักผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม ไม่ยากเลยค่ะ เมื่อจบโครงการก็ยังคงกินผักผลไม้ต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย อีกทั้งยังบอกเล่าถึงประโยชน์ของการกินผักผลไม้ และชวนให้คนรอบข้างหันมากินผักผลไม้ในทุกๆ วัน เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับคนที่เรารัก ปัจจุบันนี้ยังได้ต่อยอดการดูแลสุขภาพเพิ่มจากการกินผักผลไม้ด้วยการควบคู่ไปกับการออกกำลังกายด้วยค่ะ การมีสุขภาพที่ดีจะได้อยู่ดูแลคนที่เรารักได้นานๆ ดังนั้นสุขภาพดีสร้างได้ด้วยตัวเราเอง อยากให้ทุกคนสุขภาพดีไปด้วยกัน” เจ้าหน้าที่จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าว
ด้าน ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมามีการเชิญชวนให้คนไทยหันมาสนใจการกินผักและผลไม้ โดย สสส.สนับสนุนการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการบริโภคผักผลไม้ที่มีความปลอดภัยอย่างน้อยวันละ 400 กรัม ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงสนับสนุนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริโภคผักผลไม้ อาทิ ส่งเสริมการปลูกผัก การมีตลาดนัดหมุนเวียน หรือจัดเมนูอาหารสุขภาพสำหรับพนักงาน
"มีข้อมูลระบุว่า หากกินผักได้วันละ 400 กรัม จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ 30 เปอร์เซ็นต์ ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง 6 เปอร์เซ็นต์ ลดความเสี่ยงมะเร็งทางเดินอาหาร หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร 1-6 เปอร์เซ็นต์ ลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดน้ำหนัก ประโยชน์มหาศาลที่ตามมาจากการกินผักนั้น ทำให้ทุกคนต้องเริ่มทบทวนว่าตอนนี้เรากินผักเพียงพอหรือไม่" ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.กล่าวเชิญชวนปิดท้าย
เห็นประโยชน์ของการรับประทานผักผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัมกันแล้ว ก็ควรถึงเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน รวมทั้งหมั่นออกกำลังกาย และควบคุมอารมณ์ให้ดีอยู่เสนอ มั่นใจอายุยืนยาวแน่นอน.
เตือนนักวิจัยอย่ารับทุนบริษัทบุหรี่ ชี้ผิดกม.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เปิดเผยว่า ขอเตือนนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่าไม่ควรรับทุนจากบริษัทบุหรี่ เนื่องจากทราบมาว่าขณะนี้มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้รับการติดต่อจากตัวแทนบริษัทบุหรี่ เพื่อขอความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ (บุหรี่ไฟฟ้า) และเชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาที่บริษัทบุหรี่จะจัดขึ้น และเชื่อว่าจะนำไปเป็นข้อมูลมาวางแผนการตลาดต่อไป
ผู้อำนวยการ ศจย.กล่าวต่อว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนบริษัทบุหรี่หรือองค์กรที่แอบแฝงของบริษัทบุหรี่ จะพัฒนาต่อไปจนถึงขั้นเกิดการให้ทุนสนับสนุนนักวิจัยไทยในการทำวิจัยในอนาคต ซึ่งถือเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 โดยมาตรา 35 ระบุว่า ห้ามผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การอุปถัมภ์ หรือให้การสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ คือ 1.เป็นการสร้างภาพลักษณ์ต่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2.ที่ส่งผลหรือที่อาจส่งผลต่อการแทรกแซงนโยบายการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 3.โฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ 4.ส่งเสริมการบริโภคยาสูบ เป็นต้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |