เห็นข่าวการโกงเหรียญบิตคอยน์อภิมโหฬาร จำนวนเกือบ 800 ล้านบาทในประเทศไทย นับเป็นการช่อโกงรูปแบบใหม่ ที่ควรต้องเฝ้าระวังและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
เพราะการลงทุนบิตคอยน์ หรือสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency กำลังเป็นเรื่องที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นของใหม่และมีผลตอบแทนสูง ทำให้มีคนสนใจที่อยากจะเข้ามาลองเสี่ยง
แม้ว่าเรื่องของกติกาและการกำกับดูแลการซื้อขายเงินดิจิทัล ยังไม่ได้มีความชัดเจนมากนัก แต่ก็มีคนไม่น้อยที่พร้อมที่จะเข้ามาอยู่ในวงของการลงทุนรูปแบบนี้ โดยมีหลายบริษัท ที่ประกาศระดมทุนด้วยวิธีการเสนอขายเหรียญดิจิทัลให้คนทั่วไป (ไอซีโอ) และเป็นกลายกระแสฮือฮาในแวดวงตลาดเงิน ตลาดทุนอย่างมาก
ร้อนจนทำให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต้องรีบวางกฎเกณฑ์ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหา จนในที่สุดก็มีการออก พ.ร.ก.ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ออกมากำกับดูแล
ซึ่งกติกาที่ออกมามีความเกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลด้วยกระบวนการไอซีโอ และการให้ความเห็นชอบให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ไอซีโอพอร์ทัล) ซึ่งใน พ.ร.ก.กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะออกไอซีโอต้องผ่านการคัดกรองจากไอซีโอพอร์ทัล ส่วนตัวของไอซีโอพอร์ทัล ก.ล.ต.จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง
เงื่อนไขของไอซีโอพอร์ทัลจะต้องเป็นบริษัทไทย มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากรที่เหมาะสมเพียงพอต่อการประกอบธุรกิจ และมีความพร้อมในการทำหน้าที่คัดกรองผู้ระดมทุน ประเมินแผนธุรกิจและโครงสร้างการกระจายโทเคนดิจิทัล ตรวจสอบชุดรหัสทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในกระบวนการไอซีโอ (ซอร์สโค้ด) ให้ตรงกับข้อมูลที่เปิดเผย ทำความรู้จักตัวตนและสถานะของผู้ลงทุน ตลอดจนประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ทั้งนี้ เมื่อมีไอซีโอพอร์ทัลที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ก.ล.ต.จะเริ่มพิจารณาคำขออนุญาตออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลของผู้ประสงค์ออกไอซีโอ
นอกจากนี้ การออกไอซีโอแต่ละครั้งสามารถเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ นิติบุคคลร่วมลงทุน และกิจการเงินร่วมลงทุนได้โดยไม่จำกัดวงเงิน ส่วนการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายย่อยในแต่ละครั้งจะจำกัดวงเงินที่รายละไม่เกิน 3 แสนบาท นอกจากนี้ วงเงินรวมที่ขายผู้ลงทุนรายย่อย ต้องไม่เกิน 4 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น หรือไม่เกิน 70% ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด โดยผู้ออกไอซีโอสามารถรับชำระค่าโทเคนดิจิทัลเป็นเงินบาท หรือคริปโทเคอร์เรนซี ได้แก่ Bitcoin, Bitcoin Cash, Ethereum, Ethereum Classic, Litecoin, Ripple และ Stellar”
ล่าสุด นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้สนใจระดมทุนด้วยไอซีโอทั้งคนไทยและเป็นบริษัทร่วมทุนคนไทยและต่างชาติมาติดต่อและสอบถามถึงข้อกฎหมายในการออกไอซีโอแล้ว 50 ราย รวมถึงต้องการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ไอซีโอพอร์ทัล) ที่ยื่นเอกสารเข้ามาให้พิจารณาแล้ว 3 ราย จากที่แจ้งความจำนง 5 ราย และต้องการสมัครเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (เอ็กซ์เชนจ์) แล้ว 20 ราย สะท้อนให้เห็นว่ามีผู้ที่สนใจต้องการระดมทุนผ่านไอซีโอเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีกฎระเบียบที่ค่อนข้างชัด แต่การลงทุนไอซีโอยังเป็นของใหม่ในประเทศไทยมาก และมีรายละเอียดมากมายที่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาให้รอบคอบ โดยเฉพาะรายย่อย หรือบุคคลธรรมดา การที่จะเทรดเงินเหรียญดิจิทัล อาจจะต้องระมัดระวัง และเรียนรู้การลงทุนอย่างละเอียด เพราะด้วยความยากและซับซ้อน ทำให้อาจถูกมิจฉาชีพใช้ช่องว่างในการหลอกลวงได้
ไม่ใช่เฉพาะแค่การลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ตอนนี้เรื่องของบิตคอยน์ยังถูกนำไปใช้ล่อลวงอีกหลายอย่างโดยเฉพาะ ในวงการแชร์ลูกโซ่ ที่มักจะมีกระแสชวนคนเข้าไปลงทุนในบิตคอยน์หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เยอะขึ้น ซึ่งกลุ่มหลอกลวงนี้ดูง่าย คือ ถ้ามีการันตีว่าเอาลงทุนเท่านี้แล้วจะได้ผลตอบแทนเท่านี้ทุกเดือน แบบนี้หลอกหลวงแน่นอน เพราะบิตคอยน์ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนได้ หรือมีผลตอบแทนพิเศษจากการชวนคนอื่นมาลงทุนเพิ่ม ซึ่งทาง ธปท.ก็พยายามออกโรงเตือนการลงทุนรูปแบบนี้.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |