13 ส.ค.-เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ(คป.ตร.) Police Watch และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเสวนา หัวข้อ "ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา จะแก้ปัญหาความอยุติธรรมในสังคมไทยได้แค่ไหน?"
นายบรรเจิด สิงคะเนติ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ยังไม่เห็นในร่างพ.ร.บ. การสอบสวนคดีอาญา คือ 1.ไม่มีหลักความอิสระของพนักงานสอบสวนทั้งในร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และร่างพ.ร.บ. การสอบสวนคดีอาญา 2. เขียนกฎหมายแบบซ่อนกล ไม่เปิดโอกาสให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนคดีตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อกำหนดทิศทางแสวงหาข้อเท็จจริง เพราะกฎหมายเขียนว่าให้อัยการเข้ามาร่วมต่อเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น ดังนั้นหากไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา อัยการก็ไม่มีสิทธิเข้ามาถ่วงดุล จะทำให้กระบวนการยุติธรรมหายไป 3.คดีอาญาเชื่อมโยงประชาชน โดยให้ตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการสอบสวนอย่างในต่างประเทศ เพราะหากพบว่ามีการสอบสวนที่ไม่ชอบก็สามารถร้องเรียนไปยังคณะกรรมการดังกล่าวนี้ได้ เพราะจากเดิมตำรวจมีช่องทางร้องเรียนเฉพาะเรื่องทั่วไปเท่านั้น จึงอยากเสนอให้มีช่องทางร้องเรียนเฉพาะเรื่องการสอบสวน โดยตรง
นอกจากนี้ 4. สร้างหลักประกันให้ผู้เสียหาย กำหนดให้มีการฟ้องร้องสามารถมอบสำนวนให้ผู้เสียหายไปฟ้องร้องเองได้ 5. เรื่องอายุความ ควรให้มีการแสดงความรับผิดชอบของภาครัฐ เพราะที่ผ่านมาเมื่อใกล้หมดายุความ จะโยนภาระให้ศาลซึ่งบางครั้งสำนวนอาจจะยังไม่สมบูรณ์ จึงถือว่ากระทบต่อการตัดสินคดีของประชาชน 6. อัยการสามารถเข้ามาสอบสวนร่วมกับตำรวจได้ หาผู้เสียหายร้องขอเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการสอบสวน
นายบรรเจิด กล่าวว่า การจัดโครงสร้างตำรวจไปรวมกับโครงสร้างราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด ควรมีอำนาจสั่งการสั่งการตำรวจในจังหวัดในพื้นที่ได้ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายที่มีอำนาจสั่งการ กรณี 13 หมูป่า ติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ ไม่มีการแยกแยะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจที่จะเข้าไปบริหารความยุติธรรมให้กับประชาชนแต่อย่างใด
นายน้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า สิ่งที่กฎหมายไม่มีคือ ตำรวจกลัวที่สุดคือให้อัยการเข้ามาเห็นพยานหลักฐานตั้งแต่แรก เนื่องจากเกรงว่าจะเห็นเรื่องหวยใต้ดิน ยาเสพติด โสเภณี อาวุธสงคราม เพราะจะทำให้ตำรวจไม่อาจจะสามารถบิดเบือนคดีได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ต้องหาไม่สามารถใช้เงินและตำรวจในท้องที่นั้นก็จะไม่มีความหมาย ไม่มีการซื้อตำแหน่ง และระบบผลประโยชน์หายไป ดังนั้นจึงเป็นเหตุไม่อยากให้หน่วยงานอื่นๆ เข้ามาร่วมในการสอบสวนด้วยตั้งแต่ต้น
พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร อดีตที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ การปฏิรูปตำรวจสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นใน พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ คือ การโอนตำรวจไปให้หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบ โดยในร่างกฎหมายดังกล่าวมีการโอนแค่ผิวเผิน เช่น ยุบตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ขณะที่ตำรวจจราจร กทม. และเทศบาลนคร จะโอนภายใน 5 ปี ตนไม่เข้าใจว่าตำรวจชอบอ้างว่างานเยอะ แต่เหตุใดไม่ยอมโอนภารกิจ ดังนั้นหากมีการโอนตำรวจก็จะทำให้ภารกิจและงานต่างๆ ของตำรวจลดลง รวมทั้งยังไม่มีการประกันความอิสระของตำรวจ มีแต่คำว่าอิสระที่เป็นเพียงคำพูดที่สวยหรูเท่านั้น
"ส่วนพ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญานั้น ไม่เปิดช่องให้อัยการเข้ามาสอบสวนได้ แต่มีการเขียนที่อยากนิยามว่า ไร้เดียงสา ขี้หมูราขี้หมาแห้ง และหมกเม็ดเพราะแม้ให้อัยการเข้ามาร่วมสอบสวนก็ต่อเมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น เช่น คดีการฆ่าตัดตอนคดียาเสพติดกว่า 3,000 ศพ อัยการก็ไม่เคยเข้ามาร่วมสอบสวน เพราะพนักงานสอบสวนไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ทั้งนี้ตนเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวมีการปฏิรูปแค่30%เท่านั้น"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |