ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านหนังสือ “How to talk to kids so kids will listen & how to listen to kids so kids will talk” ของ Adel Faber และ Elaine Mazlish หนังสือเล่มนี้ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการสื่อสาร 6 ด้านที่นำไปใช้เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในครอบครัว พูดง่ายๆ ก็คือ เราจะ “ฟังอย่างไรเมื่อลูกพูด และพูดอย่างไรให้ลูกฟัง” ฟังเหมือนง่ายแต่จากที่เดินสายให้ความรู้ด้านนี้กับกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองและครู พบว่าทุกคนมองเด็กเป็นลูก เป็นลูกศิษย์ แต่ไม่ได้ตระหนักว่า “เด็ก” คือ “มนุษย์” คนหนึ่งที่มีความคิดเป็นของตัวเอง มีความต้องการเป็นของตัวเอง และมีความรู้สึกในแบบฉบับของเขาเอง แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ชอบคิดแทน ชี้นำ และทำตัวเป็นนักปั้นมือทอง โดยลืมไปว่าเขาเป็นมนุษย์ ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่สามารถจะกดปุ่มบังคับได้ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ถ้าย้อนไปสู่ความทรงจำในวัยเด็ก เราทุกคนก็ผ่านพ่อแม่ หรือครูที่เป็นนักปั้นกันมาแล้วทั้งนั้น แต่ในการปั้นนั้นต้องถามตัวเองว่าเราปั้นในสิ่งที่เด็กมีพรสวรรค์ ในสิ่งที่เด็กอยากเป็น หรือปั้นในสิ่งที่เราต้องการ
ในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงทักษะในการสื่อสารทั้งหมด 6 ทักษะด้วยกัน ได้แก่
1.มันเจ็บที่ใจ เมื่อเด็กมีบาดแผลทางกายเราต้องรีบทำการปฐมพยาบาล แล้วหากมีอะไรมากระทบจนเด็กเกิดบาดแผลทางใจ เราจะทำการปฐมพยาบาลความรู้สึกของเด็กอย่างไร
2.ขอมือเธอหน่อย ทักษะนี้จะกล่าวถึงวิธีการสื่อสารในการขอความร่วมมือแต่ไม่ใช่ทำตามคำสั่ง คำขอหรือคำบอกโดยที่เด็กไม่เต็มใจ
3.ทำไมต้องดุด่า การดุด่าหรือการลงโทษทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าเขาไม่ดีพอ และต้องการที่จะตอบโต้กลับอย่างรุนแรงในบางครั้ง แทนที่จะพิจารณาถึงสิ่งผิดพลาดที่ได้ทำลงไป ทักษะนี้จะกล่าวถึงความร่วมมือในการหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน
4.คิดเองได้ ทำเองเป็น ทักษะนี้จะเป็นการสื่อสารที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กกล้าที่จะคิดและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง
5.ชมให้เป็นไม่มีเหลิง การชมที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ผู้ที่ถูกชมรู้สึกอึดอัด บางครั้งก็ต้องแบกคำชมไว้ตลอดชีวิตด้วยการระมัดระวังทุกอย่างให้สมกับที่ได้รับคำชมนั้น ทักษะนี้จะพูดถึงการสื่อสารที่ใช้คำชมอย่างถูกต้อง
6.มีฉายาต้อง un-follow บทบาทหรือฉายาที่ถึงแม้จะฟังดูดีในด้านบวก แต่ก็มีผลกระทบในด้านลบเช่นกัน เพราะต้องรักษาบทบาทหรือมาตรฐานนั้นไว้ นอกจากนี้เด็กจะเอาคุณค่าของตัวเองไปผูกกับบทบาทและฉายาดังกล่าว ทักษะนี้จะพูดถึงการสื่อสารที่ปลดฉายาดังกล่าว
นอกจากการสื่อสารด้วยคำพูดแล้ว ภาษากาย หรือ Body Language ก็มีความสำคัญมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นสีหน้า น้ำเสียง ท่าทางและการสัมผัส ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมากในการสื่อสาร หากโรงเรียนใดสนใจสามารถติดต่อมาได้ตามอีเมลที่ให้ไว้ เรามีทีมวิทยากรจิตอาสาที่จบด้านการสื่อสารโดยตรงไปบรรยายให้ฟรี เพราะเราอยากให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูทุกคนมีทักษะในการ “ฟังอย่างไรเมื่อลูกพูด และพูดอย่างไรให้ลูกฟัง”.
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
([email protected])
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |