นาซาส่งยาน 'พาร์กเกอร์โซลาร์โพรบ' ลุยสำรวจดวงอาทิตย์


เพิ่มเพื่อน    

องค์การนาซาปล่อยจรวดนำส่งยาน "พาร์กเกอร์โซลาร์โพรบ" ขึ้นสู่อวกาศแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม ลุยภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์โดยตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ หวังจะเปิดเผยความลึกลับของพายุสุริยะ

ภาพจากนาซา จรวดเดลตา 4 เฮฟวี นำยานพาร์กเกอร์โซลาร์โพรบพุ่งทะยานจากลอนช์คอมเพล็กซ์ 37 ที่สถานีกองทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล เมื่อวันอาทิตย์ / NASA / AFP

    หลังจากเลื่อนภารกิจจากกำหนดเดิมเมื่อวันเสาร์ จรวดเดลตา 4 เฮฟวีก็นำยานพาร์กเกอร์โซลาร์โพรบพุ่งทะยานขึ้นจากฐานปล่อยที่แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ของสหรัฐ เมื่อเวลา 03.31 น. ของวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2561 (14.31 น.ตามเวลาไทย) และไม่ถึง 1 ชั่วโมงต่อมา บริษัท ยูไนเต็ดลอนช์อัลลายแอนซ์ ซึ่งดำเนินการจรวดเดลตาก็ยืนยันว่า ยานอวกาศได้แยกตัวจากจรวดสำเร็จตามแผน และเดินทางต่อไปอย่างปลอดภัย

    รายงานของสำนักข่าวเอเอฟพีกล่าวว่า ภารกิจของยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศลำนี้ ซึ่งจะใช้เวลานาน 7 ปี คือการเดินทางเข้าใกล้ดาวฤกษ์ของระบบสุริยะดวงนี้ยิ่งกว่าวัตถุทุกชนิดที่มนุษย์เป็นผู้สร้าง โดยจะพุ่งเข้าใส่ชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า โคโรนา ของดวงอาทิตย์

    ยานสำรวจได้รับการปกป้องโดยเกราะป้องกันความร้อนที่มีความหนาเพียง 4.5 นิ้ว (11.43 ซม.) แต่สามารถทนทานความร้อนในระดับที่ไม่เคยเจอมาก่อน และทนทานต่อรังสีในระดับที่มากกว่าบนโลกถึง 500 เท่า

    ตามแผนการที่นักวิทยาศาสตร์คำนวณไว้นั้น ถึงแม้อุณหภูมิของดวงอาทิตย์จะสูงได้มากกว่า 1 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ แต่คาดว่าเกราะจะมีความร้อนเพียง 2,500 องศาฟาเรนไฮต์ (1,371 องศาเซลเซียส) และตัวยานที่อยู่ภายในจะยังคงอุณหภูมิไว้ที่ 85 องศาฟาเรนไฮต์ (29 องศาเซลเซียส) เท่านั้น

ภาพจากนาซา จรวดเดลตา 4 เฮฟวี พุ่งเป็นลำแสงขึ้นสู่อวกาศ / NASA / AFP

    องค์การนาซากล่าวถึงภารกิจนี้ว่า เป็นยานอวกาศลำแรกที่จะ "แตะตะวัน" แต่รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า ในความเป็นจริงนั้น ยานลำนี้จะเข้าใกล้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ในรัศมี 3.83 ล้านไมล์ (6.16 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งก็ใกล้เพียงพอต่อการศึกษาปรากฏการณ์ลมสุริยะ และชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ 300 เท่า ตามแผนนั้นยานจะผ่านชั้นนี้ 24 ครั้ง

    ยานสำรวจลำนี้ ซึ่งมีขนาดเท่ากับรถยนต์ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจลมสุริยะและพายุแม่เหล็กโลกได้มากขึ้น ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปะทุบนดวงอาทิตย์นี้เสี่ยงต่อการสร้างความโกลาหลต่อระบบพลังงานไฟฟ้าบนโลกที่จะทำลายระบบพลังงานไฟฟ้าที่ตอบสนองชาวโลกหลายล้านคน

    จัสติน แคสเปอร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์โครงการนี้ กล่าวว่า ยานพาร์กเกอร์โซลาร์โพรบจะช่วยให้ทำนายได้ดีขึ้นว่าโลกจะเผชิญความปั่นป่วนวุ่นวายจากพายุสุริยะเมื่อใด

    นอกจากนี้ ความรู้ที่ดีขึ้นเกี่ยวกับลมสุริยะและพายุอวกาศจะช่วยปกป้องการสำรวจอวกาศห้วงลึกในอนาคตเมื่อยานอวกาศต้องเดินทางไปยังดวงจันทร์หรือดาวอังคาร.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"