ราชบัณฑิตยสภาแจงกรณีมีการอ้างว่าไม่ให้ใช้ 'ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี'


เพิ่มเพื่อน    

10 ส.ค.2561 - เพจเฟซบุ๊กราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ระบุว่า “ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี”

การที่มีข้อมูลส่งเผยแพร่ต่อกันทางไลน์  อ้างว่าไม่ให้ใช้ “ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี” โดยอ้างราชสำนักบ้าง  หรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนบ้าง ซึ่งส่งต่อกันโดยไม่อ้างอิงที่มาของผู้ให้ข้อมูลก็มี การอ้างดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน  ไม่อาจนำมาอ้างอิงอย่างเป็นทางการได้

การใช้ถ้อยคำถวายพระพรอย่างสั้นที่ใช้ในการถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ใช้มาตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ จวบจนปัจจุบันว่า 

“ทรงพระเจริญ” หรือ “ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี” เป็นต้น  

ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี มีความหมายว่า ขอให้องค์มหาราชินีมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน 

ปัจจุบันสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ การถวายพระพรชัยมงคลให้พระองค์มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ไม่น่าจะมีเหตุผลใดที่จะใช้ไม่ได้ 

การใช้ถ้อยคำในการสื่อความหมายต้องอาศัยบริบทหรือข้อความแวดล้อมประกอบด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น  การทำป้ายถวายพระพรหรือการออกแบบหน้าเว็บถวายพระพร จึงต้องมีองค์ประกอบทั้งพระฉายาลักษณ์ ถ้อยคำราชาศัพท์ที่ถูกต้องเหมาะสม  และหากระบุหลังคำว่า “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ว่า “ในรัชกาลที่ ๙” หรือ “ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร” จะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น 

ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 

๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๑
ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก กรรมการวิชาการ
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หรือ
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙
๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๑
ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี
 ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก กรรมการวิชาการ
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"