9 ส.ค.61 - นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ให้สัมภาษณ์พิเศษใน เว็บไซต์ประชาไท ช่วงหนึ่งเขาตอบคำถามที่ว่า " คุณจะปฏิเสธก็ได้ แต่คนภายนอกมอง พรรคเพื่อไทยยังเป็นของคุณทักษิณและตระกูลชินวัตร เมื่อไหร่พรรคเพื่อไทยจะก้าวข้ามคุณทักษิณและตระกูลชินวัตรไปสู่ความเป็นสถาบันเสียที"
โดยนายณัฐวุฒิ ตอบว่าคำว่า ก้าวข้าม มันฟังดูแล้วไม่เป็นบวก เพราะต้องยอมรับคุณูปการของการเป็นนายกฯ ทักษิณ มันสำคัญมากที่ทำให้พรรคเพื่อไทยยังคงอยู่ในใจของประชาชนมาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้น แทนที่จะบอกว่าก้าวข้ามก็เป็นเพียงว่าแต่ละส่วนจัดวางสถานะหรือบทบาทอย่างเหมาะสม ผมว่าเป็นไปได้มากกว่า
"จะบอกว่าพรรคเพื่อไทยไม่มีทักษิณ ผมก็มองไม่ออกเหมือนกันว่าคุณจะเดินไปยังไงในสนามเลือกตั้ง แต่ถ้าบอกว่ายี่ห้อทักษิณ นโยบายทักษิณ ประชาชนเชื่อใจและเชื่อมั่น ในขณะที่จะไปบอกว่าพรรคเพื่อไทยมีทักษิณอย่างเดียว ไม่มีประชาธิปไตยก็ไม่ได้อีก เพราะฉะนั้นมันอยู่ที่การจะเป็นสถาบันการเมืองของพรรคเพื่อไทยจะจัดวางสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้อย่างไร ซึ่งส่วนตัวผม ผมคาดหวังว่าจะเห็นในรอบของการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงว่าจะจัดวางสถานะบทบาทกันอย่างไร"
นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าจะบอกว่าเพื่อไทยไม่ใช่ทักษิณ ผมไม่เห็นด้วยนะครับ คุณจะปฏิเสธสิ่งที่คุณเกิด คุณเติบโตมาได้อย่างไร เพราะถ้าไม่ใช่ไทยรักไทย ไม่ใช่นโยบายที่มีนายกฯ ทักษิณเป็นผู้นำ ผู้บริหาร พรรคไทยรักไทยอาจจะเหลือแต่ชื่อตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผมจึงไม่เห็นว่าพรรคเพื่อไทยต้องปฏิเสธการดำรงอยู่ของนายกฯ ทักษิณ แต่ขณะเดียวกัน เพื่อการไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมือง จะจัดวางสถานะนี้อย่างไร
"ถ้ามีใครในพรรคเพื่อไทยเสนอจะก้าวข้ามทักษิณ ผมเห็นต่างครับ ผมคิดว่าพรรคการเมืองที่เป็นพรรคใหญ่ที่สุดของประเทศมายาวนานต้องมีมิติทางความคิดที่คมคายและลึกซึ้งกว่านั้น ที่จะจัดวางสิ่งที่มีคุณค่าที่มีอยู่ทั้งหมดให้ลงตัวและเดินไปข้างหน้าทางการเมืองได้ ผมว่านั่นแหละเป็นสิ่งที่แสดงความเหนือชั้นกว่าแค่คิดว่าจะก้าวข้ามหรือไม่ก้าวข้ามทักษิณ"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |