การบินไทย คาดเลือกพันธมิตรร่วมลงทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาภายใน พ.ย.นี้ คาดเซ็นสัญญาภายใน ธ.ค.นี้ พร้อมเริ่มดำเนินการในปี 65 ตั้งเป้าดึงส่วนแบ่งตลาดซ่อมเครื่องบินเอเชีย 4%ภายใน 10 ปี
นายสุรชัย เพียรเจริญศักดิ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายช่าง บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (TG MRO Campus) บนพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า ขณะนี้การบินไทยเตรียมความพร้อมที่จะลงนามความร่วมมือกับกองทัพเรือและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อได้สิทธิ์เข้าใช้พื้นที่ 210 ไร่ และเมื่อมีการลงนามจะนำเรื่องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานให้ความเห็นชอบก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)ต่อไป
ทั้งนี้เพื่อของบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างโรงซ่อมและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงซ่อมหรือแฮงก้า รวม 6,333 ล้านบาท ขณะเดียวกันการบินไทยและบริษัทผู้ร่วมทุนจะลงทุนอุปกรณ์ที่จำเป็นอีกประมาณ 4,000 ล้านบาทโดยลงทุนฝ่ายละแบ่งจ่ายฝ่ายละครึ่งหรือฝ่ายละประมาณ 2,000 บาท ส่วนเอกชนผู้ร่วมทุนคาดว่าจะคัดเลือกได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนปีนี้
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาร่วมทุนกับการบินไทยในโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) คาดว่าจะคัดเลือกให้เหลือ1รายได้ในเดือน พ.ย.นี้ และคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาร่วมลงทุนได้อย่างเร็วในเดือน ธ.ค.61 โดยหลักการเบื้องต้นนั้นการบินไทยและพันธมิตรจะถือหุ้นฝ่ายละ 50% ของมูลค่าเงินลงทุนกว่า 4 พันล้านบาท ซึ่งในส่วนของการบินไทยจะใช้เงินทุนประมาณ 2 พันล้านบาท เพื่อลงทุนในอะไหล่และอุปกรณ์ คาดว่าโครงการจะเปิดดำเนินการได้ในปี 65
นายสุรชัยกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของกรรมการคัดเลือกก็มีคุยอยู่หลายราย เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องบิน เช่น แอร์บัส ที่ได้ร่วมทำการศึกษาโครงการด้วย ซึ่งกรรมการคัดเลือกจะสรุปได้ พ.ย. นี้ สำหรับการลงทุนโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา เฟสแรกในช่วงปี 65-83 จะรองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานได้ราว 80-100 ลำ เริ่มดำเนินการได้ในปี 65 จากนั้นจะขยายเฟส 2 หลังจากปี 83 โดยในช่วงแรกบริษัทจะหาลูกค้าจากในประเทศและกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามที่อุตสาหกรรมการบินมีการเติบโตดี
"คาดว่าปีแรกจะมีรายได้ 400-500 ล้านบาท จากการรับซ่อมเครื่องบิน 10 ลำในรุ่นต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องบินแอร์บัส เอ 350, เอ 380, โบอิ้ง 787 รุ่นใหม่ ประเมินแนวโน้มการเติบโต 2% ต่อปี และในช่วง 50 ปี จะมีรายได้รวม 2 แสนล้านบาท"นายสุรชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปัจจุบันศูนย์ซ่อมอากาศยานในประเทศสิงคโปร์ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ มีส่วนแบ่งการตลาด6% ของการซ่อมบำรุงทั้งหมดในตลาดเอเชีย ขณะที่การบินไทยตั้งเป้าจะมีส่วนแบ่งให้ได้ที่ 4 %ภายใน 10 ปีนับจากปี 65 ตลาดเป้าหมายกลุ่มแรก คือ เครื่องบินจากสายการบินในประเทศ เครื่องบินของการบินไทยเอง รวมถึงเครื่องบินของกลุ่มสายการบินในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก โดยประเทศเวียดนามถือเป็นตลาดใหญ่ตลาดหนึ่ง เนื่องจากมีการสั่งซื้อเครื่องบินมาก รวมถึงตลาดประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีค่าแรงแพงกว่าจึงมีโอกาสที่จะมาใช้บริการซ่อมในประเทศไทยได้ ตลาดยุโรปก็มีค่าแรงสูงก็มีโอกาสเข้ามาใช้บริการเช่นกัน
สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานแห่งใหม่นี้ ถือว่ามีความทันสมัยและครอบคลุมการบริการด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ให้บริการตั้งแต่การซ่อมบำรุงย่อยไปถึงการซ่อมบำรุงใหญ่สำหรับเครื่องบินในหลากหลายประเภทตามมาตรฐานระดับสากล สามารถรองรับ ตลาดเครื่องบินที่ใช้ในเอเชียทั้งหมดคลอบคลุมท้ังโบอิ้งและแอร์บัส โครงการระยะ 2 จะขยายในช่วงปี 83.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |