บีซีพีจีเซ็งสภาพแสงแดดไม่เป็นใจ ทำกำไรหด


เพิ่มเพื่อน    

บีซีพีจี โอดผลการดำเนินงานหด กำไรไตรมาส 2 ของปี 61 อยู่ที่ 419 ล้านบาท ลดลง 9.4% ชี้เป็นผลจากความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ไม่ดีฉุดกำลังการผลิตหด การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หวังครึ่งปีหลังจะเติบโตจากโครงการโซลาร์รูฟที่เริ่มซีโอดี


นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รายได้ในไตรมาสที่ 2  ของปีนี้ บริษัทฯ มีการรับรู้ผลการดำเนินงานจากการจำหน่ายไฟของบริษัทฯและรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในบริษัทย่อย โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการขายไฟฟ้าประมาณ 874 ล้านบาท ลดลง 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุเกิดจากความเข้มของแสงอาทิตย์ในไตรมาสที่ 2/2561 ลดลงทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นส่งผลให้กำลังการผลิตไม่ดีเท่าที่ควร

ขณะที่ไตรมาส 2/61 มีกำไรสุทธิ 419 ล้านบาท ลดลง 9.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกําไร 462.5 ล้านบาท มาจากปีที่แล้วมีการบันทึกรายการพิเศษจากการเข้าซื้อกิจการในประเทศญี่ปุ่น 139.9 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินจากการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ และมีการบันทึกกําไรพิเศษจากการดำเนินงานในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ประเทศฟิลิปปินส์จำนวน 53.1 ล้านบาท ขณะที่ งวดครึ่งปีแรกปี 61 มีกำไรสุทธิ 770.14 ล้านบาท ลดลง 25.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1,039.66 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัทฯ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น 66.7 ล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ลดลง 27.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิประมาณ 419 ล้านขณะที่ไตรมาสที่ 2/61 กลุ่มบริษัทมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 33,388 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.8% เทียบกับสิ้นปีก่อน สำหรับหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 18,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% เทียบกับสิ้นปีก่อน และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 1.32 เท่า ณ สิ้นไตรมาส เพิ่มขึ้นล็กน้อยจาก 1.23 เท่า ณ สิ้นปีก่อน

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 บริษัทฯ ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการโซลาร์ฟาร์มสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตรกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปภัมภ์ (อผศ.) ของบริษัทฯ ที่จังหวัดสระบุรีและกาญจนบุรี ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์(ซีโอดี) ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา และเริ่มรับรู้รายได้ด้วยอัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบฟีดอินทารีฟ(FiT) ที่ 4.12 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 25 ปี โดยมีกำลังการผลิตตามสัญญาที่ 8.94 เมกะวัตต์

ส่วนการขยายธุรกิจยังคงเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ อาทิ การดำเนินการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในโครงการต่างๆ  การดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 10 เมกะวัตต์ โดยโครงการนี้ได้รับอัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบอัตราส่วนเพิ่ม (adder) ที่ 3.5 บาท จากค่าไฟฐาน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"