สิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ปิดตำนานสวนสัตว์ดุสิตที่ก่อตั้งมา 120 ปี เพื่อย้ายไปอยู่ที่ใหม่ที่คลอง 6 ปทุมธานี ซึ่งเป็นที่ดินพระราชทาน 300 ไร่ ลดความแออัดของสัตว์จำนวนมาก องค์การสวนสัตว์นัดแถลง 14 ส.ค.นี้
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ประชาสัมพันธ์สวนสัตว์ดุสิตแจ้งว่า ทางสวนสัตว์ดุสิตจะเปิดให้บริการจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2561 เพื่อทยอยเคลื่อนย้ายสัตว์ออกไปจัดแสดง ณ สวนสัตว์ต่างๆ ภายใต้การบริหารขององค์การสวนสัตว์ จำนวน 6 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา สวนสัตว์อุบลราชธานี และสวนสัตว์ขอนแก่น โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ขณะที่สวนสัตว์ดุสิตจะย้ายไปเปิดให้บริการในพื้นที่แห่งใหม่ บริเวณคลอง 6 ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
สำหรับพื้นที่แห่งใหม่ดังกล่าว นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ต่อประชาชนชาวไทยและชาวองค์การสวนสัตว์ ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 พระราชทานโฉนดที่ดิน จำนวน 300 ไร่ ให้กับองค์การสวนสัตว์ เพื่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ จัดว่ามีขนาดใหญ่กว่าสวนสัตว์ดุสิตเดิมถึง 3 เท่า ทำให้สัตว์มีพื้นที่ที่อยู่อย่างสบาย มีอากาศที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาสำรวจข้อมูลในด้านต่างๆ แล้ว เพื่อให้สภาพแวดล้อมสวนสัตว์ใหม่ออกมาอย่างดีที่สุด ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล
ในส่วนของประชาชนที่จะเดินทางมาเที่ยวชมสวนสัตว์ดุสิตในช่วงนี้ ทางสวนสัตว์ดุสิตได้เตรียมความพร้อมในการให้บริการต่างๆ ไว้แล้ว โดยขอความร่วมมือจากประชาชนทุกท่านด้วยว่า ให้เข้าชมด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งนี้ องค์การสวนสัตว์จะจัดแถลงข่าวเพื่อเชิญสื่อมวลชนให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วนอย่างเป็นทางการ ในวันอังคารที่ 14 สิงหาคมนี้
สวนสัตว์ดุสิต หรือเขาดินวนา เป็นสวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 71 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กับสนามเสือป่าและพระที่นั่งอนันตสมาคม มีเนื้อที่ 118 ไร่
สวนสัตว์ดุสิตอยู่ในอาณาบริเวณของ "วังสวนดุสิต" มาตั้งแต่ พ.ศ.2441 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อสวนและนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงคลองสามเสน ด้านตะวันออกถึงทางรถไฟ ด้วยเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยพระราชทานชื่อที่ตำบลนี้ว่า "สวนดุสิต" (ราชกิจจานุเบกษา 7 มีนาคม รศ.117) ปัจจุบันเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
18 มีนาคม 2481 เทศบาลนครกรุงเทพขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตดัดแปลงบริเวณสวนสัตว์ดุสิตเป็นสวนสาธารณะ เปิดให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจโดยมิต้องมีค่าเช่า และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นสวนสาธารณะ และยังพระราชทานลูกหลานกวางดาวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาจากอินโดนีเซีย ที่เมืองบุยเตนซอค (Buitenzurg) เมื่อการเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งหลัง พ.ศ.2444 (ร.ศ. 120) และสัตว์อื่นอีก 2-3 ชนิดจากสวนกวางบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถานมาเลี้ยง
โอนกิจการสวนสัตว์ดุสิตของเทศบาลนครกรุงเทพ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของกระทรวงมหาดไทย มาอยู่กับองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์ พ.ศ.2497) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพื่อทรงรับองค์การสวนสัตว์เข้าไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงรับองค์การสวนสัตว์เข้าไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2506 จากการขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ของพลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการและผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เพื่อรับพระราชทานโฉนดที่ดินบริเวณตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 ไร่ โดยย้ายไปยังที่ใหม่ เนื่องจากที่เก่านั้นมีพื้นที่คับแคบและไม่เพียงพอกับจำนวนสัตว์และนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน เป็นการปิดตำนานสวนสัตว์แห่งแรกของไทยที่มีอายุถึง 120 ปี.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |