ทางด่วนกระทู้-ป่าตอง ส่อเลื่อนประมูลทางด่วนหลังเอกชนเมินลงทุน


เพิ่มเพื่อน    

ทางด่วนกระทู้-ป่าตอง ส่อเลื่อนประมูลทางด่วนหลังเอกชนเมินลงทุน เล็งปรับทีโออาร์ 3 ด้าน ขยายสัมปทาน-ลดส่วนแบ่ง-เพิ่มค่าผ่านทาง มัดใจนักลงทุนชิงเค้กโครงการ 

แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางด่วนช่วงกระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 3.98 กม. วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท ว่า โครงการดังกล่าวขณะนี้คงติดปัญหาและถูกตั้งข้อสังเกตหลายด้าน โดยเฉพาะภาคเอกชนและนักลงทุนที่เรียกร้องให้พิจารณาปรับปรุงรายละเอียด TOR เพื่อให้โครงการเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนมากขึ้น 

ดังนั้นกทพ.จึงอยู่ระหว่างทบทวนแนวทางการปรับเงื่อนไขใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การขยายสัมปทานโครงการออกไปให้มากกว่าเดิมที่ระบุไว้ 30 ปี โดยอาจเพิ่มเป็น 50ปี หรือมากกว่า ควบคู่กับการพิจารณาปรับสัดส่วนการจัดเก็บรายได้เข้าภาครัฐและการพิจารณาปรับค่าผ่านทางให้สูงมากยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการเปิดPPP ว่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost หรือ PPP Gross Cost โดยจะเป็นการกำหนดเอกชนลงทุนโครงการบางส่วนและจัดสรรผลตอบแทนให้กับภาครัฐตามที่ตกลงกัน ส่วนเรื่องค่าผ่านทางที่จะปรับเพิ่มขึ้นนั้นตามแผนศึกษาเดิมเระบุอัตราค่าผ่านทางสำหรับรถจักรยานยนต์ 15 บาท รถ 4 ล้อ 45 บาท รถ 6-10 ล้อ 85 บาท และมากกว่า 10 ล้อ 130 บาท อย่างไรก็ตามพบว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR)นั้นสูงถึง 12% ขณะที่ผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) อยู่ที่เพียง 4%

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า จากการปรับแก้ไข TOR ดังกล่าวส่งผลให้โครงการนี้มีแนวโน้มสูงที่จะไม่สามารถเปิดประมูลได้ตามแผนภายในปีนี้ เนื่องจากยังต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายด้านทั้งการเสนอTORใหม่เข้าสู่คณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)กทพ.เพื่อขออนุมัติ ก่อนเสอนต่อไปยังกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดPPP) ทำให้แผนก่อสร้างเดิมที่ตั้งไว้ในช่วงกลางปี 2563 อาจต้องขยับออกไปอีก

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่าสำหรับข้อกังวลของนักลงทุนเรื่องความคุ้มค่าของโครงการนั้นมาจากมูลค่าก่อสร้างงานอุโมงค์ลอดภูเขานาคเกิดระยะทาง 1.85 กม.ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินลงทุนจำนวนมาก จึงต้องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางเสนอขอเปลี่ยนมือให้หน่วยงานในสังกัดอย่างกรมทางหลวงและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยลงทุนช่วงดังกล่าวโดยใช้งบประมาณภาครัฐแทนเพื่อให้โครงการสามารถเดินต่อได้ทันตามกรอบเวลาที่รัฐบาลวางไว้เพราะเป็นโครงการที่บรรจุในยุทธศาสตร์ชาติตั้งแต่ปี 2558 

นอกจากนี้ยังมีบางฝ่ายมองว่าFIRR ที่ต่ำนั้นเหมาะกับการลงทุนของกลุ่มทุนรายใหญ่เพราะเป็นกิจการประเภทรับรู้กำไรระยะยาวแต่รายได้ไม่หวือหวาในช่วงแรก ทั้งนี้คาดว่าปริมาณจราจรในปี 2567 เป็นปีแรกเปิดใช้ รถจักรยานยนต์อยู่ที่ 28,488 คันต่อวัน รถยนต์ 24,216 คันต่อวัน เป็นทางด่วนขนาด 8 ช่องจราจร หรือไป-กลับ 4 ช่องจราจร สำหรับให้รถยนต์วิ่ง 2 ช่องจราจร และรถจักรยานยนต์ 2 ช่องจราจร ในบริเวณจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"