'มีชัย'ข้องใจสนช.ทำไมชอบไปยุ่งกับผู้ตรวจการเลือกตั้งที่เป็นมือไม้ของกกต.


เพิ่มเพื่อน    

7 ส.ค.61- นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เข้าชื่อเสนอแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 เรื่องการสรรหาผู้ตรวจการเลือกตั้ง ว่า  ผู้ตรวจการเลือกตั้งเป็นมือไม้ของกกต.ในการทำงานในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการ เพื่อให้การทำงานเกิดความรวดเร็ว ซึ่งส่วนตัวยังไม่ทราบถึงแนวทางที่สมาชิกสนช.ได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ตนไม่รู้ว่าทำไมสนช.ถึงไปยุ่ง เพราะนี่มันมือไม้ของกกต.

เมื่อถามว่า การใช้อำนาจของสนช.ลักษณะนี้เป็นการแทรกแซงการทำหน้าที่ของกกต.หรือไม่ ประธานกรธ.ตอบว่า ไปพูดอย่างนั้นก็คงไม่ได้ เพราะคงเป็นความคิดของสนช.ที่จะมีการเสนอ

ถามว่า เริ่มมีหลายฝ่ายวิจารณ์การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้มีเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะรายชื่อผู้ตรวจการเลือกตั้งอาจไม่ถูกสเปก นายมีชัย กล่าวว่า "เป็นเรื่องนานาจิตตัง เวลาที่สนช.ตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมาธิการ ก็ไม่ได้แปลว่าคนข้างนอกจะพอใจ อะไรที่เป็นอำนาจของคนอื่นก็ต้องฟังคนอื่น"

ซักว่าตามหลักการเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้ง ควรให้เป็นหน้าที่ของกกต.ชุดปัจจุบันหรือชุดใหม่ นายมีชัย แจงว่า ต้องควบคู่กันไป ใครที่ถูกตั้งมาแล้วก็เป็นอำนาจของกกต. เพราะกลัวว่าจะไม่ทันกับการเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องสรรหาผู้ตรวจการเลือกตั้ง แต่กกต.ชุดใหม่ ก็มีสิทธิจะดำเนินการเช่นกัน เพราะเท่าที่ดูประกาศของกกต.ทำให้ไม่แน่ใจว่ากกต.ได้ดำเนินการเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้งแล้วหรือไม่ เพราะในตอนท้ายของประกาศดังกล่าวระบุว่าประกาศมาเพื่อทราบเสนอความคิดเห็นและจะได้แต่งตั้งต่อไป ซึ่งดูเหมือนว่าจะยังไม่ได้ตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง ดังนั้น หากยังไม่ได้ตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง เท่ากับว่ากกต.ชุดใหม่สามารถเข้ามาพิจารณาได้ และคิดว่าน่าจะแก้ไข หากพบว่ามีบุคคลที่ไม่เหมาะสม

"ผู้ตรวจการเลือกตั้ง คือ มือไม้ของกกต. ไม่ใช่คนที่มาทำหน้าที่แทนกกต. เพราะอำนาจทั้งหมดอยู่ที่กกต. ดังนั้น ต้องเลือกคนที่เขาไว้ใจได้ มาเป็นหูเป็นตาแทนเขา นั่นคือเป้าหมายที่เราต้องมีไว้" 

ประธานกรธ. กล่าวว่า เมื่อมีการดำเนินการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกกต.แล้ว โดยปกติควรสอบถามความคิดเห็นกกต. เพราะขนาดกรธ.ยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังต้องฟังกกต.เป็นหลัก เพราะกกต.มีประสบการณ์และพื้นฐานดีกว่า เว้นแต่ในทางทฤษฎีที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ แต่หากสนช.จะทำการเสนอร่างกฎหมายแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ย่อมทำได้ เพราะเป็นอำนาจทางนิติบัญญัติ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"