ยโสธร-อำนาจเจริญ ต้านอีไอเอโรงไฟฟ้าชีวมวล หลัง กกพ.ไฟเขียวบริษัทน้ำตาล จี้'บิ๊กตู่'ทบทวนโครงการ ตรวจสอบผลกระทบให้ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพ
6ส.ค.61-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายได้เขียนจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อคัดการออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 61 เมกะวัตต์ และให้ทบทวนอีไอเอโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงงานน้ำตาลซึ่งตั้งอยู่ใน2พื้นที่คาบเกี่ยวกันระหว่างจังหวัดยโสรธร และ จ.อำนาจเจริญ
สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ส่งหนังสือระบุว่าโครงการผลิตไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท มิตรผล ไบโอเพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) จากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561
โดยในการพิจารณาของ คชก. ได้นำประเด็นข้อร้องเรียนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา EIA ด้วยแล้ว รวมทั้งได้ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมครบถ้วนตามหลักวิชาการและในการประชุมครมเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 ที่ประชุมมีมติรับทราบประเด็นการคัดค้านดังกล่าวและมีมติยืนตามมติเดิมที่ให้ความเห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังไม่มีการยื่นขอใบอนุญาตใดๆ มายังสำนักงาน กกพ.
ทั้งนี้ สผ.ชี้แจงว่าได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในการประชุมครั้งที่ 1/2561 ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 ซึ่งควรพิจารณาแล้วมีมติดังนี้ 1) รับทราบประเด็นการคัดค้านและร้องเรียนกรณีโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท มิตรผล ไบโอเพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ของกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร 2) ยืนยันมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท มิตรผลไบโอเพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด โดยให้บริษัทปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
นางมะลิจิตร เอกตาแสง อายุ 56 ปี กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร กล่าวว่ากรณีโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 61 เมกะวัตต์ จำกัด ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) จากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 นั้น
เธอระบุว่า พวกเราไม่ยอมรับเนื่องจากว่า ชุมชนเราอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นของผู้ที่จะได้รับผลกระทบในรัศมี 5 กิโลเมตร พื้นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าชีวมวลใกล้กับชุมชน และยังขัดแย้งกับนโยบายของจังหวัดยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากพื้นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นพื้นที่ คาบเกี่ยวกันระหว่าง 2 จังหวัด อาจส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ของจังหวัดยโสธร หลังจากที่ทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ครม.สัญจร เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 61 ที่ อ.พนา จ.อำนาจเจริญ เราก็ยังรอคำตอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะทางกลุ่มเสนอให้ทำการทบทวนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของทั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงโรงงานน้ำตาลด้วย
ด้านนายสิริศักดิ์ สะดวก ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร กล่าวว่าที่ผ่านมากลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง จ.ยโสธร ทำหนังสือคัดค้านกระบวนการอีไอเอมาโดยตลอด เพราะทางกลุ่มมองว่าขาดกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่ให้หน่วยงานมาตอบว่าได้รับทราบประเด็นการคัดค้านและการร้องเรียนและได้มีมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมครบถ้วนตามหลักวิชาการ ซึ่งสิ่งที่ชาวบ้านข้องใจคือกลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรไม่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น ทางกลุ่มฯเลยต้องทำหนังสือคัดค้านและไม่ยอมรับการได้มาของอีไอเอมาแต่เริ่มต้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องกล้าพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเรียกร้องถ้ามีความบริสุทธิ์ใจ รวมทั้งทางกลุ่มมีข้อเสนอในระดับนโยบายคือ ทบทวนอีไอเอโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงงานน้ำตาล และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องการมีส่วนร่วม เรื่องทรัพยากร เรื่องสุขภาพ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |