หลักสูตรอบรมครูของสพฐ.


เพิ่มเพื่อน    

    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดสรรงบประมาณให้ครูคนละ 10,000 บาท เพื่อเลือกช็อปปิ้งหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากสถาบันคุรุพัฒนากว่า 1,400 หลักสูตร เจตนารมณ์ของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อการพัฒนาผู้เรียน และนำความรู้และประสบการณ์จากการอบรมไปพัฒนาการเรียนการสอน โดยจัดขึ้นปีนี้เป็นปีที่ 2 โครงการนี้ใช้งบประมาณถึง 4,000 ล้านบาท แต่ไม่มีความชัดเจนในการติดตามผลว่าครูได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาผู้เรียนหรือไม่
    ความผิดพลาดที่เห็นได้ชัดของของโครงการนี้คือ การนำโครงการนี้ไปผูกติดกับเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ ส่งผลให้ได้ตัวเลขผู้ลงทะเบียนอบรมมากแต่ไม่ได้สะท้อนถึงคุณภาพ เพราะครูมาอบรมเพื่อจะได้ชั่วโมงอบรมสำหรับทำวิทยฐานะ อบรมเพื่อตัวเอง ที่มาอบรมเพราะเป็นของฟรี เมื่อไม่ได้จัดการอบรมในโรงเรียนจึงเหมือนได้ไปเที่ยวฟรี แต่ก็มีข้อดีคือครูมีโอกาสเลือกในการเข้ารับการอบรมตามความต้องการของตัวเอง เพื่อให้มีการพัฒนาต่อยอด ครูได้อบรมตรงกับสิ่งที่สามารถนำไปใช้ และตรงกับความต้องการของโรงเรียนโดยตรง
    ในขณะที่เดียวกันก็มีคำถามเกี่ยวกับการอนุมัติหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตรการใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ราคา 10,000 บาท หลักสูตรการพัฒนาครูไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งถ้าติดตามข่าวจะพบว่าครูที่เข้าอบรมบ่นผิดหวังกันเป็นจำนวนมาก บางบริษัทก็ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อดูดงบประมาณก้อนนี้เข้ากระเป๋าโดยตรง สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ การตั้งเนื้อหาการอบรมที่หวังผลต่อผู้เรียน ต้องมุ่งตอบโจทย์ผู้เรียนยุคปัจจุบันและอนาคต ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการประเมินผลหลักสูตรต่างๆ ให้ชัดเจน ปีนี้การตรวจสอบที่เข้มข้นคือผู้เข้าอบรมต้องสแกนบาร์โค้ดทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย เพื่อแสดงตัวตนว่าได้เข้าร่วมการอบรมครบ 20 ชั่วโมง ครูหลายท่านต้องถ่ายรูปพร้อมมีสมุดบันทึกการอบรมเพื่อใช้เป็นหลักฐาน การคุมเข้มนี้เกิดจากการอบรมครั้งก่อนที่ครูจะลงทะเบียนข้ามภาคเพื่อหาโอกาสไปเที่ยว และไม่ได้เข้าร่วมอบรมอย่างจริงจัง
    ทุกหลักสูตรจะต้องมีการอบรมจริยธรรมปิดท้าย ซึ่งคนเป็นครูน่าจะมีวิชานี้อยู่ในจิตวิญญาณ ไม่น่าจะต้องมาทำการอบรมซ้ำ ขั้นตอนการเข้าอบรมนั้นก็วุ่นวาย ตั้งแต่การจองหลักสูตรผ่านเว็บ ซึ่งครูหลายคนก็ไม่ได้อบรมหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการเพราะเต็ม บางคนก็ไปอบรมกับเพื่อน จองแบบตามๆ กันไป ไม่ได้ใส่ใจจริงจัง บางคนเลือกไปอบรมในจังหวัดที่ไม่เคยไป จะได้หาโอกาสท่องเที่ยวพักผ่อนไปในตัว ที่น่าสนใจก็คือ ไม่ว่ารัฐบาลจะคิดโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่ดีเพียงใด แต่คนไทยที่ไม่สนใจในการเคารพกติกาก็หาทางเลี่ยงกฎ หาช่องทางผันงบเข้ากระเป๋าจนได้ โดยไม่สนใจความถูกต้อง ไม่ละอายต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมแถมมีการทำงานกันเป็นทีมแบบมีระบบ เพื่อหากินกับครูที่เป็นอนาคตของชาติ ผลที่ตามมาก็คือคนที่ตั้งใจทำถูกต้องตามหลักการต้องพบกับความยุ่งยากในขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อสกัดสิ่งที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว กลายเป็นอุปสรรคในการทำงานของคนที่ทำแบบถูกต้อง จนหลายบริษัทเริ่มมีเสียงบ่นว่าจะเลิกทำ เนื่องจากทำไปก็ไม่คุ้ม และเบื่อหน่ายกับขั้นตอน รวมถึงการตรวจสอบที่เข้มข้นจนบางครั้งเป็นการรบกวนการอบรม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ทำหลักสูตรที่มีคุณภาพ สู้เพื่อครูต่อไปนะคะ.

            จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
            ([email protected])


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"