ดุสิตโพล เผยผลสำรวจปัญหาภัยธรรมชาติ ประชาชนยอมรับฝนตกดินถล่ม เป็นภัยธรรมชาติควบคุมยาก เชื่อปัญหาเกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม แนะช่วยกันปลูกป่า และเพิ่มระดับการบริหารจัดการน้ำ จะช่วยแก้ปัญหาได้ เสนอให้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นวาระสำคัญ
ดุสิตโพล เผยผลสำรวจปัญหาภัยธรรมชาติ ประชาชนยอมรับฝนตกดินถล่ม เป็นภัยธรรมชาติควบคุมยาก เชื่อปัญหาเกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม แนะช่วยกันปลูกป่า และเพิ่มระดับการบริหารจัดการน้ำ จะช่วยแก้ปัญหาได้ เสนอให้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นวาระสำคัญจากปริมาณฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลกับภาวะเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เช่น น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม ในขณะที่รัฐบาลได้สั่งการให้ทุกจังหวัดเตรียมแผนรองรับป้องกันภัยพิบัติทุกรูปแบบและติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,063 คน ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2561 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี ภัยพิบัติจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม ณ วันนี้
อันดับ 1 เป็นภัยธรรมชาติ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ ควบคุมได้ยาก 47.99%
อันดับ 2 ภาครัฐควรหาแนวทางป้องกัน วิธีการรับมือ มีระบบเตือนภัยที่ดี 34.26%
อันดับ 3 รู้สึกเป็นห่วง เห็นใจผู้ประสบภัย สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก 25.66%
อันดับ 4 ประชาชนจะต้องเตรียมความพร้อม ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด 24.27%
อันดับ 5 มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก ควรให้ความสำคัญและเร่งแก้ไข 22.05%
2. ประชาชนคิดว่าสาเหตุของภัยพิบัติจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม คือ
อันดับ 1 การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ตัดไม้ทำลายป่า 64.01%
อันดับ 2 สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อน 40.41%
อันดับ 3 ระบบการบริหารจัดการน้ำ และระบบการแจ้งเตือนไม่มีประสิทธิภาพ 21.77%
อันดับ 4 มีฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนมากเกินไป น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ผิวดินอ่อนตัว อุ้มน้ำ 18.53%
อันดับ 5 การก่อสร้างที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ขวางทางน้ำ 15.30%
3. ประชาชนคิดว่าควรมีวิธีป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม อย่างไร?
อันดับ 1 ปลูกป่า ปลูกพืชคลุมดิน ไม่ทำลายป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น 54.82%
อันดับ 2 บริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบ กักเก็บ และผันน้ำให้มีปริมาณเหมาะสม 34.84%
อันดับ 3 ตรวจสอบเขื่อน ฝาย ทำนบน้ำ คันกั้นน้ำ ให้แข็งแรงอยู่เสมอ 28.66%
อันดับ 4 ขุดลอกคูคลอง สร้างทางระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ 23.60%
อันดับ 5 มีการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่ขวางทางน้ำ 16.88%
4. ประชาชนคิดว่าควรมีแนวทางแก้ไขภัยพิบัติจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม อย่างไร?
อันดับ 1 มีมาตรการช่วยเหลือ เยียวยา สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น 43.83%
อันดับ 2 ในพื้นที่ที่มีภัยพิบัติ ต้องมีการติดตาม เฝ้าระวังตลอดเวลา 33.28%
อันดับ 3 รัฐบาลเอาจริงเอาจัง เร่งแก้ไข รายงานสถานการณ์ให้ประชาชนรับรู้ 23.92%
อันดับ 4 เร่งกู้ภัย รื้อถอน ระบายน้ำ อพยพประชาชนออกจากพื้นที่โดยเร็ว 22.88%
อันดับ 5 กำหนดเป็นวาระสำคัญ ติดตาม ประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 16.49%
5. ใคร/หน่วยงานใด? ที่ประชาชนอยากให้เข้ามาช่วยเหลือดูแลเรื่องนี้มากที่สุด
อันดับ 1 กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต. 56.63%
อันดับ 2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำ กรมป่าไม้ 39.13%
อันดับ 3 กระทรวงกลาโหม ทหาร 26.43%
อื่นๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมชลประทาน กรมสุขภาพจิต หน่วยกู้ภัย มูลนิธิ เป็นต้น 17.40%
6. ข้อเสนอแนะ/สิ่งที่อยากบอกรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
อันดับ 1 สำรวจความเสียหาย จัดส่งอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ สิ่งที่ต้องการอย่างเร่งด่วน 43.14%
อันดับ 2 กำหนดให้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นวาระสำคัญ 36.60%
อันดับ 3 จัดหาที่พักชั่วคราว ดูแลเรื่องสุขภาพ สภาพจิตใจให้กับผู้ประสบภัย 29.41%
อันดับ 4 ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมใจกันทำงานอย่างเต็มที่ 25.82%
อันดับ 5 ระมัดระวังการแอบอ้าง รับบริจาคเงิน สิ่งของช่วยเหลือ 20.26%
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |