วิพากษ์ร่างกฎหมายปฏิรูปตำรวจ ยังไม่ตอบโจทย์ประชาชน


เพิ่มเพื่อน    


3ส.ค.61- พ.ต.อ.วิรุตม์  ศิริสวัสดิบุตร  อดีตรองผู้บังคับการจเรตำรวจ กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ..... และร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญาพ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ ได้พิจารณาวาระที่หนึ่งเสร็จแล้ว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เผยแพร่เพื่อให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่า  ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่นี้  แม้ในภาพรวมจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากซึ่งบางคนอาจคิดว่าเป็นการปฏิรูประบบตำรวจแล้ว  แต่ในความเป็นจริง ประเด็นที่แก้ไขหรือเพิ่มเติมล้วนแต่เป็นเรื่องการบริหารงานบุคคลซึ่งถือเป็นเรื่องภายในองค์กรเป็นส่วนใหญ่  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย  การช่วยราชการ  การมีคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม และคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
 
"ไม่ได้มีแนวทางปฏิรูปที่สอดคล้องกับเสียงเรียกร้องต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงเลย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง  "ตำรวจจังหวัด” ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องมีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายให้คุณให้โทษตำรวจในจังหวัดได้เมื่อผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการตำรวจจังหวัด หรือ กต.ตร. ปัจจุบัน  ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานฯ อยู่แล้ว  ซึ่งสามารถปรับโครงสร้างองค์ประกอบให้มีข้าราชการในกระบวนการยุติธรรมฝ่ายอื่นเพิ่มขึ้นรวมทั้งตัวแทนทนายความและสื่อมวลชนและองค์กรเอกชนในจังหวัด"

พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวต่อว่า อย่างงานสอบสวน  แม้จะกำหนดให้มีสายงานสอบสวน มีตำรวจระดับผู้บัญชาการเป็นหน้าคู่ไปกับผู้บัญชาการพื้นที่   มีอำนาจเสนอแต่งตั้งโยกย้ายและเลื่อนเงินเดือนพนักงานสอบสวน  แต่ก็ระบบงานสอบสวนก็ยังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง  โดยเฉพาะสถานี  ยังไม่เห็นการกำหนดความเป็นอิสระของหัวหน้างานสอบสวนสถานีในเรื่องการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายและการเลื่อนเงินเดือนรวมทั้งการลงโทษทางวินัย  ความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ “อยาก” หรือ “ความกลัว” เพื่อเป็นหลักประกันความยุติธรรมในการรวบรวมพยานหลักฐานด้วยความสุจริตและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงจึงยังไม่เกิดขึ้น

"หรืออย่างการโอนหน่วยตำรวจและงานสอบสวนเฉพาะทาง 11 หน่วย เช่น ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง  ตำรวจน้ำ  ตำรวจทางหลวง  กองบังคับการตำรวจจราจร  ตำรวจป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ  ตำรวจป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  ตำรวจท่องเที่ยว  ตำรวจคุ้มครองผู้บริโภค ไปให้กระทรวงทบวงกรมที่รับผิดชอบตามมติสภาปฏิรูปแห่งชาติและมติคณะรัฐมนตรี  ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ด้วยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฉบับปัจจุบันเท่านั้น  และไม่มีเหตุผลอะไรที่จะยื้อหรือซื้อเวลาให้เนิ่นนานสร้างความเสียหายต่อประชาชนและสังคมต่อไป  ก็ไม่มีความชัดเจน  คงมีเพียงการยุบเลิกตำรวจรถไฟ   การกำหนดให้โอนตำรวจป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งงานจราจรให้กรุงเทพมหานคร และมหานครภายในเวลาห้าปี"

ส่วน ร่างพ.ร.บ.การสอบสวนดคีอาญา นั้น พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า  ก็ยังคงเป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสอบสวนในเรื่องที่ไม่ใช่สาระสำคัญของปัญหา  เช่น  ประเด็นการตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีสำคัญโดยพนักงานอัยการตั้งแต่เกิดเหตุรวมทั้งคดีที่ประชาชนร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม   และการบันทึกภาพเสียงการสอบปากคำผู้กล่าวหา  ผู้เสียหาย  ประจักษ์พยาน และผู้ต้องหา  ยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้  
  
"ยังคงเป็นช่องว่างที่พยานหลักฐานการกระทำผิดคดีต่างๆ  อยู่ในความรับรู้ของตำรวจฝ่ายเดียว  โดยเฉพาะการสอบปากคำบุคคลมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนหรือบิดเบือนได้ง่ายอย่างยิ่ง  ไม่มีใครหรือองค์กรใดสามารถตรวจสอบระหว่างการสอบสวนได้ว่า  พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานอย่างครบถ้วนเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาด้วยความสุจริตและมีประสิทธิภาพยุติธรรมอย่างแท้จริงหรือไม่?"

พ.ต.ท.วิรุตม์ กล่าวด้วยว่า ประเด็นการปฏิรูปสำคัญที่ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในร่างกฎหมายทั้งสองฉบับของคณะกรรมการปฏิรูปชุดนายมีชัย  ฤชุพันธุ์ เหล่านี้  ก็เป็นเรื่องที่ประชาชนจะต้องเรียกร้องต่อรัฐบาลไม่ว่าชุดนี้หรือพรรคการเมืองที่จะอาสามาเป็นรัฐบาลในการหาเสียงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นให้ดำเนินการปฏิรูปต่อไป   


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"