มุมมองที่คนทั่วไปมีต่อคนไร้บ้านที่พบเจอ อาจมองว่าคนเหล่านี้ไร้คุณค่า น่ารังเกียจ ไม่อยากเข้าใกล้ จัดให้พวกเขาอยู่ในสภาพเดียวกับคนขอทาน ทั้งที่ความจริงแล้วคนไร้บ้านส่วนใหญ่นั้นมีศักยภาพกว่านั้น เพราะเคยมีอาชีพ แต่ขอเพียงโอกาสเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆ อย่างเท่าเทียมเช่นประชาชนทั่วไป ก็เชื่อว่าจะดึงพวกเขากลับสู่สังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณภาพ และยังลดภาระพึ่งพิงภาครัฐได้
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีภาครัฐและภาคประชาสังคม จัดเวทีเสวนาวิชาการสาธารณะ "หน้าใหม่ - ไร้บ้าน: ชีวิตกับนโยบาย" เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน และการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนโยบายสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับคนไร้บ้าน/คนไร้ที่พึ่ง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยรวมของประเทศ
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า ในประเทศไทยมีการสำรวจจำนวนคนไร้บ้านด้วยวิธีวิทยา ใน 3 เมืองใหญ่ของประเทศ พบจำนวนคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ 1,307 คน เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 136 คน และเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 75 คน โดยสัดส่วนเพศชายอยู่ที่ประมาณร้อยละ 85 และเพศหญิงประมาณร้อยละ 15
สำหรับเหตุปัจจัยที่ทำให้กลายมาเป็นคนไร้บ้านก็แตกต่างกันไป ทั้งจากแรงผลักดันส่วนบุคคล เช่น พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิต การติดสุรา ความเปราะบางของสถาบันครอบครัว ความผิดหวังจากการทำงาน ภาวะตกงานเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม การศึกษาในหลายประเทศได้ชี้ให้เห็นว่า ‘คนไร้บ้าน’ มีสาเหตุความเป็นมาจาก “ความเหลื่อมล้ำ” ทางเศรษฐกิจและสังคม
ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวต่อว่า ความเหลื่อมล้ำทางเชิงโครงสร้างและนโยบาย ทำให้คนไร้บ้านกว่าร้อยละ 55 เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ ร้อยละ 51 มีปัญหาสุขภาพจิต และสุขภาพช่องปากเท่ากัน ร้อยละ 70 ทั้งนี้ พบว่าร้อยละ 35 ของคนไร้บ้าน หรือ 450 คน เป็นคนไร้บ้านหน้าใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน ทางออกหรือการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสุขภาพของคนไร้บ้านจำเป็นต้องสร้างกลไกเฉพาะสำหรับกลุ่มคนไร้บ้าน รวมทั้งคนอื่นๆ ในผืนแผ่นดินไทยที่เข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ ด้วยปัญหาทางสถานะบุคคลหรือการมีบัตรประจำตัวประชาชน
โดย สสส.จะร่วมกับภาคีทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน พัฒนาศักยภาพคนไร้บ้าน และเสริมพลังเครือข่าย ขับเคลื่อนให้เกิดกองทุนรักษาพยาบาลสำหรับคนไทยไร้สิทธิ และการเข้าถึงที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (social safety net) ในการป้องกันการเกิดคนไร้บ้านรายใหม่ และช่วยเหลือฟื้นฟูให้คนไร้บ้านสามารถช่วยเหลือตนเองและกลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ
ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการศึกษาแนวทางวิเคราะห์ต้นทุนการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางชีวิตของคนไร้บ้านในช่วงเริ่มต้น กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิต ความต้องการ และแนวทางแก้ปัญหาสำหรับคนไร้บ้านหน้าใหม่ที่เพิ่งไร้บ้านมาไม่เกิน 5 ปี เนื่องจากคนไร้บ้านหน้าใหม่มีโอกาสได้รับการเพิ่มศักยภาพเพื่อคืนกลับสู่สังคมได้ง่ายกว่าคนไร้บ้านที่อยู่มานาน และหากดำเนินการได้รวดเร็ว ก็จะสามารถช่วยให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณในการดูแลคนเหล่านี้ในระยะยาวได้
ผศ.ดร.ธานีกล่าวต่อว่า จากการศึกษาพบว่าคนไร้บ้านหน้าใหม่ มีความต้องการการมีงานทำเป็นสำคัญ และพวกเขาต้องการที่จะเลี้ยงดูตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐหรือคนอื่น เพราะคนกลุ่มนี้ยังมีความตั้งใจที่จะกลับไปใช้ชีวิตดังเช่นคนปกติทั่วไป ซึ่งแตกต่างจากคนไร้บ้านที่อยู่มานานแล้ว เนื่องจากเกิดการปรับตัวให้อยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีบ้านและไม่จำเป็นต้องมีงาน แต่พวกเขาจำเป็นต้องพึ่งพิงภาครัฐมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น แนวนโยบายสำหรับคนไร้บ้านหน้าใหม่ก็คือ การพัฒนาศักยภาพและการหางานทำให้กับคนกลุ่มนี้อย่างมั่นคง และภายใน 1 ปีมีความสำคัญมาก ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและผลิตภาพอย่างน้อย 116 ล้านบาทต่อปี (คิดบนฐานคนไร้บ้านในเขต กรุงเทพ) หากไม่ดูแลและฟื้นฟูคนไร้บ้านอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างระบบการป้องกันภาวะความเสี่ยงจากการไร้บ้านและการดูแลคนไร้บ้านหน้าใหม่ ซึ่งการสูญเสียโอกาสดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามการพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน จำนวนประชากรคนไร้บ้านที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หากเป็นคนไร้บ้านกลุ่มที่มีศักยภาพไม่มาก อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังทั้งทางกายและทางจิตจนไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ นโยบายการดูแลจากภาครัฐก็ยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่
ด้านนายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานสนับสนุนองค์ความรู้ สสส. กล่าวว่า การจัดเวทีเสวนาวิชาการในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากโครงการศึกษาแนวทางวิเคราะห์ต้นทุนการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางชีวิตของคนไร้บ้านในช่วงเริ่มต้น อันเป็นโครงการย่อยของแผนงาน ที่มีการวางเป้าหมายในการเริ่มโครงการที่จะมุ่งเน้นการหาคานงัดของนโยบายและรูปแบบทางนโยบายที่เหมาะสมกับคนไร้บ้านแต่ละกลุ่มเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ และยังมุ่งหวังให้เห็นถึงต้นทุนของสังคมและภาครัฐที่ต้องสูญเสียไปหากไม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน/คนไร้ที่พึ่งอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือจากคนในสังคมถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง หากให้โอกาสอย่างเท่าเทียม สร้างโอกาสทำงาน รวมถึงเข้าถึงสิทธิสวัสดิการและสุขภาพอย่างครอบคลุม จะทำให้คนไร้บ้านกลับมามีชีวิตที่มีคุณภาพได้อีกครั้ง.
ลำพูนเชิดชูเกียรติคนเลิกเหล้า
ที่ห้องประชุมจามเทวี ภายในศาลากลางจังหวัดลำพูน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดลำพูน นายอำเภอ ประจำเดือนมีนาคม 2561 ก่อนเข้าวาระการประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนได้เป็นประธานมอบเข็มเชิดชูเกียรติแก่บุคคลตัวอย่างที่สามารถปฏิบัติตนให้สามารถเลิกดื่มสุราโดยเด็ดขาด ตามโครงการคนหัวใจหิน สู่คนหัวใจเพชรจิตอาสาทำดี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนได้มอบเข็มเชิดชูเกียรติแก่เครือข่ายประชาชนงดเหล้าที่สามารถเลิกดื่มสุรา และให้คำแนะนำบุคคลที่ดื่มสุรา และเชิญชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ลด ละ เลิก ห่างไกลจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยผู้ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ ได้แก่ นายประเสริฐ มูลงาม เครือข่ายประชาคมงดเหล้า อ.บ้านธิ, นายสถิตย์ ดัสดี เครือข่ายประชาคมงดเหล้า อ.ป่าซาง, นายปิ่นคำ ปุ๊คแค เครือข่ายประชาคมงดเหล้า อ.ทุ่งหัวช้าง, นางแสงจันทร์ มโนสร้อย เครือข่ายประชาคมงดเหล้า อ.เวียงหนองล่อง และ น.ส.อาภาภร ปัญโญ เครือข่ายประชาคมงดเหล้า อ.ลี้
โครงการคนหัวใจหิน สู่คนหัวใจเพชร เป็นโครงการที่สำนักงานกองทุนสนุบสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จัดกิจกรรมรณรงค์ให้เครือข่ายทุกอำเภอ ลดปริมาณนักดื่มหน้าใหม่ เน้น กิจกรรม ชวน ช่วย ชม และเชียร์ ให้มีการ ลด ละ เลิกการดื่มสุรา โดยเริ่มจากช่วงก่อนเข้าพรรษา สำหรับจังหวัดลำพูน ได้จัดกิจกรรมเชิดชูคนบวชใจ ปฏิญาณตนงดเหล้า เข้าพรรษา ครบ 3 เดือน มีผู้เข้าร่วมจำนวน 646 คน และมีผู้ปฏิญาณตนบวชใจงดเหล้าตลอดชีวิต ครบ 3 ปีขึ้นไป (คนหัวใจเพชร) จำนวน 63 คน ซึ่งจะมีการขยายผลและสร้างเครือข่ายขยายไปทุก หมู่บ้านและทุกอำเภอในจังหวัดลำพูนต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |