ผวาเขื่อนในไทยซ้ำรอยลาว


เพิ่มเพื่อน    

   นักวิชาการจุฬาฯ ห่วงเขื่อนขนาดกลาง-เล็กเกือบ 2 พันแห่งกระจายทั่วประเทศขาดการดูแล   หวั่นเขื่อนแตกอย่างลาว เผยไทยไร้ข้อมูลความเสี่ยงเขื่อน 
    เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการจุฬาฯ ร่วมกันเสวนาเรื่อง “เขื่อนแตก เรื่องของลาว กับเรื่องของเรา” จากกรณีอุทกภัยจากการแตกของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในแขวงอัตตะปือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดย รศ.ดร.ฐิรวัตร บุญญะฐี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย มีการนำเสนอว่ากระแสน้ำกัดตัวเขื่อนและพัดพาดินไปหมด แต่ปัจจัยที่อาจทำให้เขื่อนเกิดความเสียหายอาจมาจากกำลังของวัสดุไม่เพียงพอ ใช้วัสดุไม่เหมาะสมสำหรับทำเขื่อนนี้หรือวัสดุดีแล้ว แต่ขณะก่อสร้างบดอัดไม่แน่น เมื่อน้ำซึมผ่านเขื่อนเลยรองรับไม่ดีพอ รวมถึงเรื่องการไหลซึมของน้ำผ่านตัวเขื่อน ใต้เขื่อน มีการประเมินอัตราไหลไม่ถูกต้อง ตลอดจนสำรวจทางธรณีวิทยาไม่ถูกต้อง โดยปกติทางวิศวกรรม หากเราไม่สามารถกำกับธรรมชาติได้ ก็มีวิธีการจัดการ เช่น ก่อนก่อสร้างศึกษาประเมินความเสี่ยง วางแผนแจ้งเตือนภัยและแผนปฏิบัติการกับหมู่บ้านใกล้เคียงที่จะรองรับ ระหว่างก่อสร้างตรวจสอบคุณภาพการทำงาน ตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนตั้งแต่ก่อสร้างเสร็จใหม่แล้วกักเก็บน้ำครั้งแรก กรณีเซเปียน-เซน้ำน้อย คิดว่าเป็นการจัดเก็บน้ำใหญ่ๆ ครั้งแรกเช่นกัน แต่ไม่แน่ใจว่าเมื่อตอนที่เติมน้ำเข้าเขื่อนครั้งแรก เมื่อน้ำมากแล้วมีการระบายออกเลยหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็กระทบกับเขื่อนรองได้ 
    ด้าน ผศ.ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า กรณีเขื่อนแตกทุกคนต่างโทษเรื่องของสภาวะโลกร้อน จริงๆ เขื่อนนี้เพิ่งสร้างเสร็จ หากเกิดจากผลกระทบโลกร้อนจริง น้ำจะไม่มาแค่เขื่อนเดียว ส่วนเหตุผลที่เขื่อนพังอาจเกิดจาก 1.น้ำล้น 2.ตัวฐานเขื่อนไม่ดี 3.เกิดการสไลด์ตัวของชั้นดิน ฯลฯ จากการรายงานบอกว่าน้ำที่ออกมาจากเขื่อนมีปริมาณมากถึง 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ความจริงแล้วความจุของน้ำในเขื่อนมีแค่ 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แล้วอีกกว่า 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตรมาจากไหน บางแห่งบอกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขสมเหตุสมผลมากกว่า เพราะระดับน้ำที่ท่วมยังอยู่แค่ระดับจังหวัด ยังไม่มีการข้ามจังหวัดเลย
    ผศ.ดร.อนุรักษ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของไทยขณะนี้ทุกคนกังวลว่าเขื่อนจะแตกกันหมด บางคนถึงขั้นตั้งคำถามว่าการสร้างเขื่อนยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ในความเป็นจริงแล้วเขื่อนขนาดใหญ่ในไทยยังไม่น่าห่วง เพราะมีการคนตรวจสอบดูแลมาก แต่ที่น่ากังวลคือ เขื่อนขนาดกลางกว่า 800 เขื่อน ไม่มีคนเข้าไปดูแลที่เพียงพอ ขณะที่เขื่อนขนาดเล็กอีกเป็นพันเขื่อนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถูกโอนไปให้หน่วยงานท้องถิ่นดูแล เช่น อบต. ซึ่งจะดูแลได้ดีหรือไม่ หากตรวจสอบพบเขื่อนรั่วซึม ทางการจะรับการรายงานจากท้องถิ่นหรือไม่ อยากเสนอว่าให้ท้องถิ่นเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นก่อน ช่วยกันสอดส่องดูแล 
    "สภาพภูมิอากาศบ้านเราแต่ละปีจะมีน้ำท่วม น้ำแล้งเกิดขึ้นสลับกันไปมา มองว่าเขื่อนยังจำเป็น เพราะต้องเก็บกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง ตอนนี้ในไทยยังไม่เห็นข้อมูลเขื่อนที่มีความเสี่ยง แต่ปัจจุบันมี 10 เขื่อนที่ได้รับการตรวจแล้ว พบบางเขื่อนมีรอยรั่วมากกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงพัง เบื้องต้นกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ไขแล้ว แต่ที่เป็นห่วงคือเขื่อนที่ยังไม่ได้ตรวจสอบอย่างเขื่อนขนาดกลางยังมีอีกหลายร้อยเขื่อน จะทำอย่างไร การตรวจสอบไม่ใช่แค่เดินไปดู ต้องไปดูข้อมูลย้อนหลังหลายประการ แล้วเราจะจัดสรรคนอย่างไรในการทำงานด้านนี้ " ผศ.ดร.อนุรักษ์กล่าว  
    ด้าน รศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ กล่าวว่า กรณีเขื่อนแตกมีผลกระทบต่อไทยน้อยมาก เพราะโครงการของเซเปียน-เซน้ำน้อย เข้าสู่ระบบในปี 2562 ยังไม่มีปัญหาด้านเทคนิคการส่งไฟฟ้า ในปี 2560 ไทยนำเข้าพลังงานจากลาว 8% แต่เกือบครึ่งเป็นพลังงานน้ำ คิดเป็น 4.7% ถ่านหินจากโรงไฟฟ้าหงสา 3.3% ซึ่งการผลิตไฟฟ้าในไทยใช้พลังงานเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นหลัก ไม่ใช่น้ำ และไม่ได้เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"