สธ.ย้ำมีแผนรับมือวิกฤตภัยธรรมชาติ น้ำท่วม-มรสุมเข้า


เพิ่มเพื่อน    

 

     กรณีที่เกิดเหตุดินโคลนถล่ม อุทกภัย มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในหลายพื้นที่ของประเทศไทย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงระบบการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติและลมมรสุมในประเทศไทยว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือกับภัยพิบัติ เป็น 2 ระบบ คือ 1.ระบบรับมือภาวะภัยพิบัติปกติ 2.ระบบรับมือกับภาวะวิกฤตทั้งหมด การเกิดน้ำท่วม ลมมรสุมเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดวิกฤต ซึ่งมีระบบป้องกันระดับประเทศแบ่งออกเป็น 4  ระยะตามหลักสากล คือ 1.ระยะป้องกัน คือ พื้นที่ต้องรู้ว่าพื้นที่ของตนเองมีความเสี่ยงในเรื่องใด ทั้ง น้ำท่วม มรสุมต่างๆ  2.มีระบบลดความเสี่ยงได้หรือไม่ ซึ่งบางวิกฤตป้องกันไม่ได้ แต่สามารถเฝ้าระวังได้ เช่น หากอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมต้องเตรียมแผนป้องกันภัยพิบัติอย่างไร 3.มีการเตรียมแผนหากเกิดเหตุจะต้องเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของอย่างไร และ 4.การเตรียมทีมสาธารณสุข ประกอบด้วยทีมแพทย์ฉุกเฉิน ทีมควบคุมโรค และทีมสุขภาพจิต ซึ่งมีทุกจังหวัด  หากพื้นที่ใดเกิดเหตุภัยพิบัติใหญ่ ระดับพื้นที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะมีทีมระดับประเทศเข้าไปช่วยเหลือ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ ยารักษาโรค สามารถลงพื้นที่ได้ทันทีในการเปิดศูนย์ภัยพิบัติหากเกิดเหตุการณ์อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ขอให้ดูแหล่งที่มาของข่าวสารว่ามาจากไหนและรับฟังจากระบบเตือนภัยหลักของประเทศเป็นหลัก
    “ ทั้งนี้ ต้องมีแผนจัดการทั้งเรื่องน้ำ อาหาร สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ทั้งผู้สูงอายุ  หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก กลุ่มนี้จะขาดอาหารไม่ได้ ดังนั้น ต้องดูแลว่า มีอาหารพร้อมหรือไม่ ส่วนการดูแลจิตใจต้องมาตรวจสอบว่า ใครมีภาวะตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์มากกว่าคนอื่น ซึ่งจะมีทีมดูแลด้านจิตใจเข้าเยียวยาพร้อมกับครอบครัวเพื่อช่วยให้สงบลง และการตรวจสอบผู้ประสบภัยว่ามีภาวะทางจิตหรือไม่ ทั้งหมดจะต้องประเมินหลังเกิดเหตุการณ์ประมาณ 2 สัปดาห์ หากผ่านพ้นไปยังมีอาการอยู่จะต้องประเมินภาวะซึมเศร้าเพิ่มด้วย หลังเกิดเหตุการณ์ต้องดูแลเรื่องที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งรวมโรค” พญ.พรรณพิมล กล่าว
    พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยประสบกับอุทกภัยเรื่อยมาจนชิน แต่จากประวัติศาสตร์พบว่า ยังมีการเกิดสึนามิ แผ่นดินไหวต่างๆ สอนให้รู้ว่าไทยไม่ใช่ประเทศปลอดภัยพิบัติ และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ปัจจุบันไทยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้น การดูแลรักษาความปลอดภัยจึงไม่ใช่แค่เรา สธ.ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เฮลิคอปเตอร์ โรงพยาบาลสนามที่ตั้งอยู่หน้าถ้ำหลวงตอนเกิดเหตุการณ์เด็ก 13 คนติดถ้ำต้องอาศัยทหาร ตำรวจ ที่มีอุปกรณ์พร้อมกว่า ซึ่งมีการซ้อมแผนร่วมกันตลอด 
    ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีเกิดภัยพิบัติในประเทศอื่น การเข้าไปช่วยเหลือต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (Who) หรือไม่ พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า การเกิดภัยพิบัติต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน แต่บางครั้งต้องผ่านการกลั่นกรอง บางที่เข้าไปช่วยกันเยอะก็ไม่สามารถช่วยได้ทั้งหมด ต้องเคารพและคิดเสมอว่า ประเทศนั้นมีศักยภาพ เราแค่เข้าไปเสริมเท่านั้น 
 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"