ชาวอินเดียรัฐอัสสัม 4 ล้านคนเสี่ยงไร้สัญชาติ


เพิ่มเพื่อน    

ชาวอินเดียในรัฐอัสสัมมากกว่า 4 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จะกลายเป็นคนไร้รัฐ ตามร่างบัญชีรายชื่อพลเมืองของรัฐนี้เมื่อวันจันทร์ ก่อความวิตกว่าชาวมุสลิมในรัฐนี้อาจถูกเนรเทศครั้งใหญ่

ชัยเลศ นายทะเบียนกลางของอินเดีย แถลงข่าวร่วมกับประทีก อาเจลา ผู้ประสานงานการขึ้นทะเบียนพลเมืองแห่งชาติประจำรัฐอัสสัม (ซ้าย) เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2561 / AFP

    เอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561 รัฐบาลรัฐอัสสัมของอินเดียประกาศร่างรายชื่อพลเมืองของรัฐที่จัดทำขึ้นใหม่ ซึ่งจะให้สิทธิพลเมืองแก่ผู้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอยู่ในรัฐนี้มาก่อนปี 2514 ซึ่งเป็นปีที่ชาวบังกลาเทศหลายล้านคนอพยพหนีภัยสงครามต่อสู้เพื่อเอกราช เข้ามายังรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียแห่งนี้ และมีสาแหรกตระกูลอยู่ในรัฐนี้

    รัฐบาลท้องถิ่นรัฐอัสสัมได้เรียกกองกำลังฝ่ายความมั่นคงจากรัฐอื่นมาเสริม 25,000 นาย เพื่อป้องกันปัญหา ข่าวการประกาศร่างรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนพลเมืองในวันจันทร์ได้ก่อให้เกิดการประท้วงภายในรัฐสภาแห่งชาติและทำให้ต้องเลื่อนการไต่สวนในวุฒิสภาวันนี้ออกไปด้วย

    ชัยเลศ นายทะเบียนกลางของอินเดีย กล่าวว่า มีประชาชนแค่ 4 ล้านคนเศษถูกตัดชื่อของจากร่างนี้ จากประชาชนมากกว่า 30 ล้านคนที่ยื่นจดทะเบียน "พลเมืองอินเดียจริงๆ ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล พวกเขายังมีโอกาสเหลือเฟือที่จะใส่ชื่อในรายชื่อสุดท้าย" เจ้าหน้าที่ซึ่งใช้ชื่อต้นชื่อเดียว แถลงที่เมืองกุวาฮาตี เมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนี้

    เขากล่าวด้วยว่า ประชาชนสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ตามระเบียบขั้นตอนที่ประกาศไว้แล้ว ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 30 สิงหาคม รายชื่อฉบับสุดท้ายจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนธันวาคมปีนี้ โดยเจ้าหน้าที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีรายชื่อในบัญชี และใครก็ตามที่ต้องการอ้างสิทธิและยื่นคัดค้าน

    พรรคภารติยะชนะตะ (บีเจพี) ของนายกฯ นเรนทรา โมดี ชนะการเลือกตั้งรัฐอัสสัมเมื่อปี 2559 ภายหลังให้คำมั่นว่าจะขับไล่พวกคนเข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และปกป้องสิทธิของกลุ่มชนพื้นเมืองในรัฐนี้

    เอเอฟพีกล่าวว่า รัฐอัสสัมซึ่งประชากร 1 ใน 3 เป็นมุสลิม เป็นเพียงรัฐเดียวของอินเดียที่จัดทำบัญชีจดทะเบียนพลเมือง

    ผู้อพยพหนีภัยสงครามเอกราชในบังกลาเทศส่วนใหญ่มาตั้งรกรากกันที่รัฐอัสสัม ซึ่งมีชายแดนยาวเหยียดติดกับบังกลาเทศ ผู้อพยพเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและมาแย่งที่ดินและงานจากคนท้องถิ่น เกิดเป็นความตึงเครียดระหว่างสองฝ่าย

    กลุ่มสิทธิวิจารณ์ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลนิยมขวาของโมดีว่า การลบชื่อออกจากบัญชีพลเมืองในรัฐนี้ ก็คล้ายกับที่พม่าเพิกถอนสิทธิและการคุ้มครองชุมชนชาวมุสลิมโรฮิงญาในปี 2525

    เดิมศาลฎีกาของอินเดีย ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลการจดทะเบียนนี้ กำหนดเส้นตายของการประกาศร่างรายชื่อในวันที่ 30 มิถุนายน แต่เนื่องจากจำนวนประชากรมากทำให้เสร็จไม่ทัน จึงได้เลื่อนมาเป็นวันที่ 30 กรกฎาคม ร่างแรกที่ประกาศเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วนั้นมีพลเมืองอยู่ในบัญชีนี้แค่ 19 ล้านคน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"