เชิดชูเกียรติ ผู้สืบสานตำนานต้นไม้ “รุกข มรดกของแผ่นดิน”


เพิ่มเพื่อน    

 

    ทุกคนคงรู้สึกว่าโลกกำลังร้อนขึ้นทุกวัน แม้แต่ในช่วงนี้จะเป็นฤดูฝน แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงไปนานเมื่อใด  อากาศก็จะร้อนราวกับฤดูร้อนดีๆนี่เอง ปัญหาโลกร้อนไม่ได้ผูกโยงเฉพาะเรื่องปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงไปถึงปริมาณป่า และต้นไม้ของโลกที่ลดลง เพราะการทำลายของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม 
    ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยเราสูญเสียป่าไปจำนวนมาก และยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณป่าได้ตามความตั้งใจอีกด้วย ตัวเลขเป็นทางการระบุว่าปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าประมาณ 34%  แต่ถ้าดูจากข่าวเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่าต่างๆ ก็ทำให้นึกไปว่า จริงๆแล้ว พื้นที่ป่าอาจจะน้อยกว่า ที่มีบอกกล่าวไว้
    แต่ถึงป่าจะลดลง แต่ก็มีบางจุดในประเทศไทย ที่มีไม้ใหญ่อายุเป็นร้อยๆปี   ไว้ให้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน เป็นปอดให้กับเรา ไม้ใหญ่เหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในป่า แต่อยู่ในเมือง เข้าใจว่าตอนที่ต้นไม้เหล่านี้ก่อกำเนิดบนโลก พื้นที่ตรงนั้นน่าจะเคยเป็นป่ามาก่อน  แต่เมื่อมีการหักล้างถางพง  จากความเป็นป่าก็เลยกลายเป็นเมืองไปโดยปริยาย
    การเห็นคุณค่าของไม้ใหญ่ ที่ก่อกำเนิดรุ่นราวคราวเดียวกับบรรพบุรุษของหลายต่อหลายรุ่น  ทำให้กระทรทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  ได้จัดโครงการ "รุกข มรดกแห่งแผ่นดิน" โดยมองว่า ต้นไม้เก่าแก่อายุนับร้อยปีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  เพราะอยู่คู่กับคนไทยมานาน คนหลายต่อหลายรุ่นคุ้นเคยต้นไม้ในชุมชนของตัวเองมานาน  นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อต่างๆผูกโยงกับต้นไม้เก่าแก่เหล่านี้ด้วย 

 


     ในโครงการ"รุกข มรดกแผ่นดิน "กระทรวงวัฒนธรรมได้คัดเลือกต้นไม้เก่าแก่จำนวน 63 ต้นให้อยู่ในโครงการ  โดยต้นไม้เหล่านี้  มีขนาดใหญ่ อายุประมาณ 100 ปี ขึ้นไป มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีตำนานหรือเรื่องเล่าประกอบ อยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมหรือสถานที่สำคัญมีความสอดคล้องกับระบบนิเวศพื้นฐานเป็นต้นไม้หายาก หรือใกล้สูญพันธุ์ 
    "ไม้หญ่ "เก่าแก่อายุนับ 100ปี ปรากฎให้เห็น ไล่เรียงตั้งแต่เหนือจรดใต้ จังหวัเดชียงราย มีต้นสมอพิเภกอายุ 150 ปี หรือปัตตานี ที่มีต้นหยีอายุเกือบ 300 ปี ส่วนที่เมืองสองแคว จ.พิษณุโลก เ ราจะได้พบกับต้นจำปาขาวอายุตั้ง 700 ปี  และต้นยางนา อายุมากกว่า 1,000 ปี ที่ อ.นครไทย จ.พิษณุโลกเช่นกัน เป็นต้น
    และเมื่อเร็วๆนี้ ทางกระทรวงวัฒนธรรม ยังได้จัดงานแถลงข่าววัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ "รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี" และเปิดตัวหนังสือ"รุกข มรดกของแผ่นดิน" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 63 พรรษา และที่สำคัญยังได้มีการมอบโล่ยกย่องเชิดชูคนรักษ์ต้นไม้และผู้สืบสานตำนานต้นไม้กว่า 127  ราย 
        นายวีระ โรจพจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สัมพันธภาพระหว่างคนกับต้นไม้ทำให้เกิดวัฒนธรรมได้มากน้อยแค่ไหน นับเป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การศึกษาเรียนรู้ ต้นไม้ของบางท้องถิ่นมีชีวิตยืนนานสืบรุ่นต่อรุ่น จนกระทั่งให้ความรู้สึกประหนึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ของชุมชน และตามด้วยความเชื่อว่าต้นไม้ใหญ่ต้องมีเทวดารักษา หรือวิญญาณของบรรพบุรุษดูแล จึงเกิดเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ มีวัด มีพระ มีศาล หรือมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แม้สัมพันธภาพของต้นไม้กับสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เป็นวิถีความเชื่อที่ไม่ได้เกิดผลร้าย แต่ยิ่งทำให้ชุมชนเชื่อมั่น ระมัดระวังในการใช้ชีวิต และต้นไม้ใหญ่ที่มีความหมาย เชิงสัญลักษณ์ก็จะได้รับการดูแล อนุรักษ์ไว้เป็นพิเศษต่อไปตราบนานเท่านาน ดังที่ปรากฏในชุมชนหลายแห่ง อาทิ ต้นศรีมหาโพธิ์ กำแพงเพชร โพธิ์ ไทร ไกร กร่าง ที่วัดบางกุ้ง สมุทรสงคราม ฯลฯ

 


       สำหรับบรรยากาศในงาน เต็มไปด้วยความคึกคักมีกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลต้นไม้ป่าไม้หลายแบบ ทั้ง การสาธิตการทำสวนในขวด สาธิตการทำอาหารจากดอกไม้ สาธิตการขยายพันธุ์ไม้ สาธิตดูแลรักษาต้นไม้ พร้อมด้วยเสียงเพลงอันไพเราะกับหารแสดงชุดไพรพิสดาร ที่ขับร้องโดยสถาบันสุทราภรณ์
         ทั้งนี้ในส่วนของการมอบโล่เชิดชูเกียรติคนรักษ์และสืบสานต้นไม้นั้น ได้มอบให้กับพระภิกษุ 16 รูป บุคคลหรือหน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าของต้นไม้ “รุกข มรดกของแผ่นดิน”  52 คน บุคคลอีก 14 คน องค์กร 24 แห่ง และชุมชน 21 แห่ง

 

นายสุวัฒน์ ดาวเรือง เจ้าของต้นทุเรียนพันธุ์เจ้าเมืองสุราษฎร์ธานี 


      นายสุวัฒน์ ดาวเรือง ผู้ได้รับโล่ประเภทบุคคลเจ้าของต้นไม้  “รุกข มรดกของแผ่นดิน” ต้นทุเรียนพันธุ์เจ้าเมืองสุราษฎร์ธานี แห่งบ้านสวนกล้วย ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี  กล่าวว่า ต้นไม้ที่ดูแลเป็นต้นทุเรียนโบราณ ที่คนเก่าคนแก่พบมาตั้งแต่ปี 2505 ซึ่งเขาเล่ากันว่าตอนนั้นไม่ใช่ต้นเล็ก แต่เป็นต้นขนาดใหญ่แล้วน่าจะปลูกมานานสันนิษฐานโดยรวมๆ น่าจะอายุราว 300 ปี ลำต้นมีขนาดใหญ่โอบล้อมได้ 5-6 คน ขนาดเส้นรอบวง 8.15 เมตร และมีความสูง 80 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ จากความเชื่อที่ชาวบ้านเล่ามาว่า สมัยก่อนมีคนเข้าไปหาของป่าแล้วหายไปเป็นแรมเดือน ลูกหลานก็ไปจุดธูปบนบานศาลกล่าวต่อเจ้าป่าเจ้าเขา จนคนที่หายไป กลับมา พร้อมกับมาเล่าว่า ไปเจอต้นทุเรียนอยู่หนึ่งต้น อยู่ท่ามกลางผลไม้อื่นๆ ในป่า เขากินผลไม้เหล่านั้นประทังชีวิตนับว่าผลไม้ป่านั้นได้ช่วยชีวิตเขาไว้ ต่อมาคนเลยเข้าไปสำรวจ ก็พบว่ามีอยู่จริง จากนั้นเวลาผ่านไปก็มีการย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยกันในบริเวณป่าที่มีต้นทุเรียนดังกล่าว มีชายคนหนึ่งไปจับจองที่ตรงต้นทุเรียน แล้วเขาก็ได้ดูแลต้นทุเรียนมาจนถึงปีพ.ศ.2530 ซึ่งตอนนั้นเขาอายุมากแล้ว ดูแลไม่ได้ เลยขายให้ตนพร้อมกับฝากเอาไว้ว่า ให้ดูแลแทนเขาด้วย อย่าทำลายเพราะเขาดูแลมานาน ก็เลยทำให้ตนได้ดูแลต่อมาจนถึงปัจจุบัน 

    สำหรับ ทุเรียนต้นนี้ เป็นพันธุ์เจ้าเมืองเพราะเชื่อกันว่าน่าจะเกิดตั้งแต่สมัยเจ้าเมืองเวียงสระเป็นเจ้าเมือง ปัจจุบันนอกจากทุเรียนต้นนี้บริเวณรอบๆ ก็มีทุเรียนต้นอื่นและผลไม้ชนิดอื่นด้วย ในหนึ่งปีทุเรียนจะออกลูกช่วงก.ค.ถึง 3,000-4,000 ลูก ก็มักจะมีคนไปจับจอง มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมจำนวนมาก สร้างรายได้ให้คนในชุมชนมากมาย ตอนนี้ก็กำลังพัฒนาทำท่องเที่ยวชุมชน ตั้งแต่เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องของวัฒนธรรม แล้วก็เรื่องท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย

    “การรับโล่วันนี้ รู้สึกดีใจที่ตนทำมา 30 กว่าปีต่อจากคนเดิม อย่างน้อยวันนี้เรามีหน่วยงานราชการและหน่วยงานภาคีต่างๆ เห็นความสำคัญด้วย แปลว่าเราไม่ทำแค่คนเดียวแล้ว หลังจากนี้คิดว่าถ้าไม่มีตนก็น่าจะมีคนที่สืบทอดดูแลรักษาต้นนี้ได้ตลอดไป เพราะฉะนั้นเมื่อก่อนกังวลว่าถ้าหมดเราไม่รู้ใครจะมาดูแลต่อ ก็ตั้งใจว่าอนาคตต้นทุเรียนต้นนี้ พร้อมกับพื้นที่ป่าที่จัดไว้ ถ้ามีโอกาสจะถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ เพราะว่าเราอยากให้สืบทอดไปถึงรุ่นลูกหลานไม่อยากให้สูญหายไปกับเรา” นายสุวัฒน์ กล่าว
    

     

นายสายัณห์ สวัสดิ์สุนทร ประธานสภาวัฒนธรรมจ.ระยอง  ดูแลต้นมะปริง ระยอง

     ด้านนายสายัณห์ สวัสดิ์สุนทร ประธานสภาวัฒนธรรม ต. กระเฉด อ. เมือง จ.ระยอง ตัวแทนหน่วยงานเจ้าของ “รุกข มรดกของแผ่นดิน” ต้นมะปริง ระยอง กล่าวว่า กระเฉดเป็นไม้โบราณประจำถิ่นของไทย อายุราว 250 ปี มีเส้นรอบวงโดยประมาณ 3.30 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร ยืนต้นอยู่บริเวณเส้นทางสัญจรในอดีตระหว่างบ้านกระเฉด-บ้านค่าย เมืองแกลง ปัจจุบันนายสมยศ สมุทรคีรี บ้านปิ่นทอง เป็นเจ้าของพื้นที่ บริเวณของต้นมะปริง เคยเป็นเส้นทางการเดินทัพเพื่อรวบรวมกำลังพลของพระเจ้าตากเพื่อกู้ชาติ เมื่ออ่านประวัติศาสตร์ไทยรบกับพม่า ก็จะเห็นความเชื่อมโยงของแต่ละหมู่บ้าน เขาว่ากันว่าเส้นทางบริเวณต้นมะปริง อาจจะมีผู้สัญจรไปมาเดินผ่านกินมะปริงเสร็จแล้วจึงทิ้งเมล็ดไว้ ต่อมาเมล็ดจึงเจริญเติบโตขึ้นอยู่คู่กับชุมชนกระเฉดมาจนทุกวันนี้ อีกหนึ่งหลักฐานที่ค้นพบและเกี่ยวข้องกับต้นมะปริงคือ
    มีคณะเคยไปสำรวจเส้นทางบริเวณนี้ พบเศษเครื่องปั้นดินเผาพวกกระเบื้องถ้วยชาม กระเบื้องเคลือบ ซึ่งนักโบราณคดีที่มาสำรวจด้วยบอกว่า ของเหล่านี้เป็นเครื่องใช้ของชาวจีนเมื่อ 500 ปีมาแล้ว ในสมัยซัวเถา ที่มาภาชนะเหล่านี้มาแตกที่นี่ก็สันนิษฐานกันว่า คนจีนมาค้าขายที่รุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดการสู้รบก็อพยพมาลี้ภัยในป่า เพราะฉะนั้นบริเวณต้นมะปริงในอดีตอาจจะเคยเป็นที่หลบซ่อนยามสงคราม
     นายสายัณห์ กล่าวอีกว่า แต่เดิมรักษาต้นนี้ด้วยวิธีธรรมชาติ แต่พอคนที่ซื้อที่ดินเข้ามาใหม่ก็พบยายามแต่งให้สวยโดยไม่มีความรู้ทางรุกขกร นำสิ่งของไปติด ไปห้อยเพื่อความสวยงาม ตนไปเห็นเลยขอร้องให้เขาเอาออกเพื่อให้รักษาราก กิ่ง ให้ต้นไม้บริสุทธิ์ มีอายุยืนยาวเพื่อที่จะไม่ได้มีแมลงหรือเชื้อราเข้าไปติดที่ลำต้น โดยปกติมีการจัดงาน ทำพิธีต่างๆบริเวณนี้ เช่น บรวงสรวง เพราะเชื่อว่ารุกขเทวดาจะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ เวลาจะทำพิธีต่างๆ จะเชิญเทวดดามาฟังเทศน์ฟังธรรมด้วย
         “ต้นไม้ที่เป็นไม้ใหญ่เป็นที่พึ่งพาของนกกา ส่วนต้นไม้เล็กๆ เป็นที่ให้ร่มเงา ส่วนรากที่อุ้มน้ำก็ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมระบบนิเวศ ดังนั้นคนรุ่นใหม่จึงควรจะคิดตามธรรมชาติให้เป็น ถ้าเราไม่รังแกธรรมชาติมากนัก ธรรมชาติก็ไม่รังแกเรา เราจะเห็นว่าน้ำใสๆ ที่ไหลมาตามโตรกทาง  มาตามคลองจนเป็นแม่น้ำใสสมบูรณ์เพราะมันกรองโดยธรรมชาติ แต่ขณะนี้น้ำไหลลงมาพร้อมกับเอาโคลลนลงมาด้วย น้ำใสไม่มีแล้ว ก็ต้องฝากเด็ก รุ่นลูกหลานว่าควรจะอนุรักษ์สิ่งที่เป็นธรรมชาติ ถ้าเราไม่เบียดบังธรรมชาติแล้วธรรมชาติจะดูแลเราอย่างดี" นายสายัณห์ กล่าว
        นอกจากนี้ยังมีผู้สืบสานต้นไม้ชนิดอื่นๆ ที่ได้รับโล่ อาทิ กลุ่มต้นไม้ห่มผ้าบนดอยอินทนนท์, ต้นทะโล้ เชียงใหม่, ต้นจันผา สุรินทร์, ต้นกระบก ร้อยเอ็ด, ต้นหยี ปัตตานี, ต้นนางดำ นครราชสีมา,  ต้นลำแพน นครศรีธรรมราช ฯลฯ

 

ต้นทุเรียนเจ้าเมืองสุราษฎร์ อายุราว 250 ปี

ต้นมะปริง จ.ระยอง

 

ต้นทะโล้ จ.เชียงใหม่
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"