27 ก.ค.61- นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานที่ปรึกษานปช. Facebook Lifve ถึงครูวิภาว่า เป็นเรื่องสะเทือนใจและมีมุมที่น่าสนใจก็คือ ครูดี ๆ แบบครูวิภาที่ไปเซ็นค้ำประกันลูกศิษย์ตั้ง 60 คน ยังมีในสังคมไทยอยู่ !!!
นอกจากมีครูดี ๆ ก็ยังมีนักเรียนที่คิดว่าเป็นความชอบธรรมในการที่รับเงินกยศ.แล้วเบี้ยว อาจจะมีความเข้าใจว่าเงินนี้เป็นเงินที่ให้ฟรี...หรือเปล่า?
ปัญหาของกยศ.ก็คือให้โรงเรียน ให้สถาบันมหาวิทยาลัย รับผิดชอบก็เป็นเงินเหมาจ่ายไปเลย มันก็เกิดคนที่เข้ามากู้เยอะ ถ้าตรงไปตรงมาโรงเรียนก็พยายามจะให้นักเรียน แต่นักเรียนจะกู้ได้ปัญหาก็ต้องโทษว่าแล้วกยศ.วางระเบียบอย่างไร? เพราะถ้าครูวิภารู้ว่ามันจะเป็นอย่างนี้ ครูวิภาก็คงจะไม่เซ็น
จากนั้นก็มีกรอ.ซึ่งมาเกิดเอาปี 2547 แต่กยศ.มีมาตั้งแต่ออกพ.ร.บ.ปี 2541 ไป ๆ มา ๆ หนี้ของกยศ.มาก คนเป็นหนี้มีเป็นล้านล้านราย
นางธิดากล่าวต่อไปว่า เรื่องนี้เป็นเงินของประเทศ แล้วคุณทำกันอย่างไร? คุณวางระเบียบกันอย่างไร? 1) ให้โรงเรียนเหมาจ่าย บางโรงเรียนเหมาแล้วไม่ได้ไปจ่ายจริง มีเด็กปลอมอยู่จำนวนหนึ่งหรือเปล่า? 2) จ่ายจริงและอยากให้เด็กได้รับเงินทุนกยศ.ก็ส่งจำนวนให้รัฐบาลตามจำนวน สำนึกที่ว่านั่นเป็นเงินของประเทศชาติไม่ได้ถูกวางและไม่ได้ถูกปลูกฝัง
จริง ๆ ต้องปล่อยกู้เป็นคน ไม่ใช่ปล่อยกู้เป็นโรงเรียนเป็นมหาวิทยาลัยแบบเป็นเงินเหมาจ่าย ประมาณว่าผู้กู้ก็คิดเหมือนกับว่าได้รับทุนฟรีจากรัฐบาล เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยใดที่อยากให้มีคนเข้ามาเรียนและมีรัฐบาลเป็นคนจ่ายเงินก็จะพยายามดึงคนเข้ามาเรียนโดยไม่ต้องรับผิดชอบว่าจบออกไปเขาจะมีงานทำหรือไม่ เขาจะเป็นนักเรียนหรือบัณฑิตที่มีคุณภาพหรือไม่ นี่จึงเป็นปัญหา!!!
นี่จึงเป็นเหตุผลให้ครูคนหนึ่งเซ็นเป็นสิบ ๆ คน สุดท้ายการติดตามทวงหนี้กลับมาทำให้เกิดปัญหากับครูผู้ค้ำ กรณีครูวิภาทำให้มองได้ว่าเป็นครูที่แสนดีและระบบที่แย่!
นางธิดาเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 40 เกิด “ต้มยำกุ้ง” ก็มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อให้มาปล่อยกู้ ให้เยาวชนได้มีการพัฒนา ได้เข้าเรียน ถึงแม้ว่าขณะนั้นประเทศชาติดูเหมือนจะล่มจมเพราะ “ต้มยำกุ้ง” ก็ตาม แล้วก็ไปเลียนแบบออสเตรเลีย แต่ทำแล้วชุ่ย ถามว่ามีใครที่สนใจว่านักเรียนที่กู้นั้นจะสามารถใช้คืนทุนได้ไหม? หรือสามารถไปประกอบอาชีพตามที่ได้เรียนไหม?
ปรากฎการณ์นี้สะท้อนถึงความเหลวไหลของระบบรัฐไทยถึงความไม่รับผิดชอบในการใช้จ่ายเงิน นอกจากนี้ยังไม่รับผิดชอบในการทวงหนี้ด้วย เป็นการสะท้อนถึงปัญหาของโรงเรียน, มหาวิทยาลัย, ระบบกยศ. รวมทั้งสะท้อนถึงความไม่รับผิดชอบทั้งหน่วยงานรัฐและทั้งของนักเรียนด้วย เรียกว่าผิดทั้งหมดตั้งแต่ต้นเลย
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าพัฒนาการที่ผ่านมาของการศึกษาไทยไม่ได้สร้างคนที่มีคุณภาพ ที่จะสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ ไม่ได้สร้างคนที่มีคุณธรรมเพราะขนาดครูที่เซ็นค้ำประกันให้ยังเบี้ยวได้เลย และเรื่องนี้จะเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งสังคมไทยจะต้องลากเอาตัวกันออกมา และอาจจะเป็นวาทะกรรมว่า “ลูกศิษย์ครูวิภา”
นางกล่าวว่า “นี่เป็นความล้มเหลวของการศึกษาไทย ของระบบข้าราชการไทย และแม้กระทั่งนักการเมืองผู้คิดค้นเรื่องกยศ.ขึ้นมา ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่เลว ไม่ได้ทั้งคุณภาพ ไม่ได้ทั้งคุณธรรม”
ถามว่าประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร เป็นสังคมคนแก่ แต่เยาวชนแย่ลงทุกวัน ต่อไปจะมีคนขนานนามคนเบี้ยวหนี้ว่า “ลูกศิษย์ครูวิภา
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา
อย่างไรก็ตามนโยบายนี้ใช้กันมาต่อเนื่องในรัฐบาลระบอบทักษิณนานนับ 10 ปี ไม่พบว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกแต่อย่างใด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |