มีกระแสข่าวมาต่อเนื่องว่า คสช.อาจใช้มาตรา 44 เพื่อแก้ปมปัญหาไพรมารีโหวตด้วยการยกเลิก หรืออาจเปลี่ยนไปทำในระดับภาค
ท่ามกลางข้อสังเกตเอาใจ "พรรคพลังประชารัฐ" ภายใต้การนำกลุ่มสามมิตร ใช่หรือไม่ที่บัดนี้ยังไม่มีจุดยืนใดๆ กับประเด็นนี้ ที่ประกอบไปด้วย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มมัชฌิมา และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ในรัฐบาล คสช.
รวมทั้งพรรคขนาดกลาง หรือแม้พรรคขนาดใหญ่ที่เสแสร้ง แต่แท้จริงแล้ว อาจเห็นด้วยเฉพาะแค่ทำไพรมารีโหวตในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งหากไปถามจี้ใจดำแบบระบบบัญชีรายชื่อ ก็มั่นใจว่าไม่มีใครอยากได้
เนื่องจากปิดช่องอำนาจให้คณะกรรมการบริหารพรรค ไม่สามารถส่งผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถ คนรุ่นใหม่ หรือแม้กระทั่งนายทุนพรรค อยู่ในบัญชีลำดับต้นๆ เพื่อมีโอกาสได้เป็น ส.ส.ตามความต้องการ
แต่กลับเอาอำนาจที่มีอยู่เดิมไปฝากไว้กับสมาชิกพรรคตามจังหวัดต่างๆ ในเขตที่พรรคส่ง ส.ส.ลงสมัครรับเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน สมาชิกพรรคเหล่านี้ก็ไม่รู้จักและไม่มีเชื่อมโยงกับผู้สมัครบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดมาให้เลือก
แม้ประเด็นนี้จะมีการโยนเหรียญออกมาถามทางกันมาอย่างกว้าง ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำลังจัดทำร่างแก้ไขคำสั่งหัวหน้า คสช. 53/2560 เพื่อป้อน คสช. ตัดสินใจในปมปัญหาดังกล่าว ควบคู่กับคลายล็อกทางการเมืองในเดือนกันยายนนี้
ขณะเดียวกันมีความพยายามออกมาดักคอและตีกัน โดยเฉพาะจากฝั่งแม่น้ำสาย สนช. ผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่นี้ คือ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง แสดงความเห็นว่า
“หากไม่มีการทำไพรมารีโหวตจะเสี่ยงต่อการขัด รธน. และขัดต่อเจตนาของ คสช.ที่ต้องการปฏิรูปการเมือง ส่วนถ้าใช้ไพรมารีโหวตรายภาคแทน จะกลับไปเหมือนเดิม ดูไกลเกินไปที่ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมคัดเลือกผู้สมัคร ในที่สุดทุกอย่างจะกลับไปเหมือนเดิมคือ อำนาจการคัดเลือกผู้สมัครจะกลับไปอยู่ที่กรรมการบริหารพรรคและนายทุน”
นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์กันว่าอาจส่งผลลบแก่ คสช. ที่ไม่สามารถตอบคำถามสังคมได้ว่าหากยกเลิกระบบไพรมารีโหวต แล้วเวลาที่ สนช.ไปขยายเพื่อเตรียมตัวเลือกตั้ง สอดไส้ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ส. ที่จะมีผลบังคับใช้ภายหลัง 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่คสช.บอกว่า 60 วันแรกเตรียมไว้ให้ กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง และอีก 30 วันให้พรรคการเมืองทำไพรมารีโหวต จะเตะถ่วงเวลาไว้ทำไม
ประเด็นเหล่านี้ คสช.ต้องเอาไปคิด วิเคราะห์ แยกแยะว่า หากยกเลิกไพมารีโหวตไปทั้งหมด เพื่อเอาใจพรรคพลังประชารัฐ หรือพรรคขนาดกลาง หรืออื่นๆ จะคุ้มหรือเสียมากกว่ากัน
ในขณะเดียวกัน หาก คสช.ยืนยันตามหลักเดิมคือปล่อยให้เป็นไปตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 145 ที่ยังคงให้ทำไพรมารีโหวต ทั้งแบบ ส.ส. เขต 350 เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 เขต ก็อาจจะเป็นอุปสรรคในการวางตัวผู้สมัครต่างๆ
โดยเฉพาะจากฝั่ง "กลุ่มสามมิตร" ที่กำลังไปไล่ดูดอดีต ส.ส.เข้ามาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ใช่หรือไม่ และยังอาจสร้างกระทบต่อพรรคขนาดกลาง พรรคพันธมิตรทหาร ที่กำลังเตรียมการหาทุน และวางตัวผู้สมัคร ส.ส ว่าจะอยู่ในลำดับที่เหมาะสมอย่างไร เพราะคาดหวัง ส.ส.บัญชีรายชื่อจากการเลือกตั้งระบบใหม่ คือ ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่เชื่อว่าคะแนนเสียงจากบัญชีรายชื่อ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยจะถูกตัดออก เพราะได้โควตา ส.ส.เต็มเพดานแล้ว และจะไหลมาสู่บัญชีรายชื่อส.ส.ของพรรคระดับกลางและพรรคเล็ก เพื่อผลักดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ หลังเลือกตั้งได้สำเร็จ
ดังนั้น ทางออกที่ดีสุดคือพบกันครึ่งทาง ด้วยการยืนยันหลักไพรมารีโหวตในระบบเขตเช่นเดิม คือให้แต่ละพรรคมีสมาชิกประจำจังหวัด 100 คน เพื่อคัดเลือกผู้สมัครในเขตต่างๆ ในจังหวัดได้ทั้งหมด หรือหากจะส่งผู้สมัครส.ส. 350 เขต ก็ควรมีสมาชิกจังหวัดละ 100 คนทุก 77 จังหวัด
แต่อาจเลือกยกเลิกไพรมารีโหวตในระบบบัญชีรายชื่อ และเปิดทางให้คณะกรรมการบริหารพรรควางตัวผู้สมัคร ได้ตามความต้องการ และที่สำคัญยังไม่ขัด รธน. เพราะผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อไม่ต้องมีเรื่องภูมิลำเนาเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นคุณสมบัติ เช่น ส.ส.แบบแบ่งเขต
ข้อเสนอพบกันครึ่งทางเช่นนี้ สุดท้าย คสช.จะเป็นผู้ให้คำตอบ ท่ามกลางข้อสันนิษฐานว่าพรรคพลังประชารัฐและภาคเครือข่ายทหารได้ประโยชน์ใช่หรือไม่.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |