รฟท.เร่งทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เข้าครม. สัปดาห์หน้า ด้าน ITD เล็งจับมือ BTS-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส ชงเค้กรถไฟไฮสปีดอีอีซี ส่วนเอกชน31รายตบเท้าเข้าฟังข้อชี้แจงรถไฟเชื่อมสามสนามบินพรึบ
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 7.6 หมื่นล้านบาทนั้นจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ภายในสัปดาห์หน้าในวันที่ 31 ก.ค.นี้หลังจากเสนอไม่ทันการประชุมครม.สัญจร ในวันที่24 ก.ค.นี้
อย่างไรก็ตามขณะที่โครงการทางคู่เฟส 2 อีก 8 เส้นทางนั้นคณะนี้คณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)เห็นชอบหมดแล้วอยู่ระหว่างเสนอกระทรวงคมนาคมและส่งต่อไปยังสภาพัฒน์เพื่อจัดลำดับความสำคัญการเปิดประมูลทีละเส้นทางต่อไป ส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซีนั้นได้จัดประชุมชี้แจงเอกชนผู้ยื่นซื้อซองทั้ง 31 รายผ่านไปได้ด้วยดี คาดว่าโครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ก่อนเปิดบริการในปี 2567
ด้านนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร และกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD กล่าวว่าหลังจากที่ ITD ได้ยื่นซื้อซองเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์)โครงการแล้วได้คุยกับเอกชนหลายรายเพื่อหาพันธมิตรร่วมประมูลโครงการโดยตนจะเน้นไปที่งานก่อสร้างจึงต้องเจรจาพันธมิตรด้านธุรกิจอื่น ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการคุยกับทั้ง บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) หรือ BTS รวมถึงบริษัททุนต่างชาติจากทั้งประเทศฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รฟท.ได้เปิดประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภาเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ครั้งที่ 1 เพื่อให้ข้อมูลโครงการ และเปิดเวทีให้ผู้ซื้อเอกสารได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ โดยมีเอกชนผู้ซื้อเอกสารทั้ง 31 ราย ว่า วันนี้มีเอกชนผู้ซื้อเอกสารทั้ง 31 ราย มารับฟังรายละเอียดต่างๆคาดว่าหลังจากกำหนดรับซองข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน อาจมีการรวมกลุ่มประมาณ 3-4 กลุ่ม
อย่างไรก็ตามส่วนการส่งมอบพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นพื้นที่ตัวสถานีอยู่ในอำเภอเมืองและอำเภอบางน้ำเปรี้ยวกว่า 300 ไร่ ภายใต้งบประมาณ 3 พันล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินคาดว่า จะเริ่มส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้กับเอกชนเริ่มก่อสร้าง ภายในต้นปี 2562 ส่วนพื้นที่บริเวณสถานีมะกะสัน จำนวน 150 ไร่ คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ครบภายใน 5 ปี
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมการรถไฟฯ จะนำผู้แทนบริษัทเอกชนที่ซื้อเอกสารทั้ง 31 ราย ลงพื้นที่เพื่อชมสถานที่ก่อสร้างโครงการฯ เช่น การก่อสร้างร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต การจัดการพื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อ รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อให้เห็นรูปแบบการเดินทางอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2567
สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางระบบหลักเชื่อมโยงการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงการเดินทางของผู้โดยสารสามท่าอากาศยานเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่ท่องเที่ยว ให้เดินทางถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ในเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ตอบสนองความต้องการในการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเชื่อมโยงกับการคมนาคมขนส่งทางถนน และทางเรือได้อย่างครอบคลุม ส่งผลให้ระบบการขนส่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |