ประเด็นคลายล็อกการเมืองที่สำคัญและวิพากษ์วิจารณ์กันมาก คือข้อเสนอให้ คสช.ใช้มาตรา 44 ยกเลิกระบบไพรมารีโหวต (ระบบเลือกผู้สมัคร ส.ส.ขั้นต้น) หรืออาจเปลี่ยนไปทำในระดับภาค
เรื่องนี้ส่งผลให้ สนช. พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตประธาน กมธ.พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง สนช. ผู้คิดค้นนวัตกรรมดังกล่าวออกมาดักคอว่า หากไม่มีการทำไพรมารีโหวตจะเสี่ยงต่อการขัด รธน. และขัดต่อเจตนาของ คสช.ที่ต้องการปฏิรูปการเมือง ส่วนถ้าใช้ไพรมารีโหวตรายภาคแทน จะดูไกลเกินไปที่ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมคัดเลือกผู้สมัคร และในที่สุดทุกอย่างจะกลับไปเป็นเหมือนเดิม คืออำนาจการคัดเลือกผู้สมัครจะกลับไปอยู่ที่กรรมการบริหารพรรคและนายทุน
อย่างไรก็ตามแม้จะมีเสียงค้านดังกล่าวก็จริง แต่ผู้ตัดสินใจสุดท้ายก็คือ คสช.ที่ต้องประเมินสถานการณ์ และประเด็นสำคัญคือพรรคพลังประชารัฐจะได้ประโยชน์หรือไม่
โดยมีเสียงแว่วว่าอาจใช้วิธีพบกันครึ่งทาง คือในระบบเขตยังใช้ระบบไพรมารีโหวต เพราะได้ผ่อนผันให้สมาชิกประจำจังหวัด 100 คนคัดเลือกผู้สมัครในเขตต่างๆ ในจังหวัดได้ทั้งหมดแล้ว แต่อาจยกเลิกไพรมารีโหวตในระบบบัญชีรายชื่อ เพราะมองว่าปิดกั้นไม่ให้กรรมการบริหารพรรคส่งคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ รวมทั้งนายทุนลงสมัครได้ตามต้องการ เนื่องจากคนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศจะไม่รู้จัก ที่สำคัญหากยกเลิกก็ไม่ขัด รธน. เพราะผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อไม่ต้องมีเรื่องภูมิลำเนาเข้ามาเป็นคุณสมบัติเช่น ส.ส.แบบแบ่งเขต
แนวทางนี้จะตรงใจใครหรือไม่ ขอให้ไปถาม สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มสามมิตรก็จะทราบคำตอบ.
ช่างสงสัย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |