'วัชรพล'ฝัน5ปีต้านโกงเห็นผล ดัชนีพุ่ง50คะแนน


เพิ่มเพื่อน    

23 ก.ค. 61 - ที่อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดย พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษเรื่อง หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาความหวังในการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ตอนหนึ่งว่า การแก้ปัญหาการทุจริตจะอาศัยการปราบปรามอย่างเดียวไม่ได้ เพราะด้านการป้องกันหารทุจริตมีความสำคัญไม่แพ้กัน หากดำเนินการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถเก็บเงินที่เกิดการทุจริตกว่าแสนล้านบาทต่อปีมาพัฒนาประเทศได้

ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ที่ผ่านมา ป.ป.ช.ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาขึ้น 5 หลักสูตรในการศึกษาทุกระดับ โดยมีหัวใจสำคัญ 4 วิชา คือ 1.การคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม 2.ความอายละความไม่ทนต่อการทุจริต 3.จิตพอเพียงต้านทุจริต และ 4.พลเมืองและการรับผิดชอบต่อสังคม ตนมองว่าหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาเป็นความหวังของสังคมไทย เพราะเด็กไทยในอนาคตจะมีจิตสาธารณะ รู้จักแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม รู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ จะกลายเป็นกำลังหลักสำคัญในการต่อต้านการทุจริตของประเทศในอนาคต คิดว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว และภายใน 5 ปี จะเห็นผลว่าการต่อต้านการทุจริตของไทยจะดีขึ้นอย่างเห็นผลแน่นอน หวังว่าค่าดัชนีรับรู้การทุจริตของประเทศไทยจะมีคะแนนถึง 50 คะแนน

อย่างไรก็ตาม แม้ประชาชนต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาทุจริตที่เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่ยอมรับว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาการทุจริตล่าช้า เหตุเพราะก่อนหน้านี้มีคดีสะสมใน ป.ป.ช.จำนวนมาก ปัจจุบันสำนักงาน ป.ป.ช.มีบุคคลกร 2,500  คน รัฐบาลได้เพิ่มอัตรากำลังให้อีก 700 คน เชื่อว่าจะทำให้การสะสางคดีค้างเก่าให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่เพิ่งจะมีผลบังคับใช้นั้น จะทำให้บริบทการทำงานเข้มข้นขึ้น รวดเร็วขึ้น เพราะถือเป็นครั้งแรกที่กฎหมายมีกรอบเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานหรือการไต่สวนของ ป.ป.ช. และกรอบเวลาในการฟ้องคดีของอัยการสูงสุดด้วย

“การกำหนดกรอบเวลาดังกล่าวเพื่อเร่งรัดให้การทำคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คนที่จะทำการทุจริตเกรงกลัว  นอกจากนี้ ยังป้องกันการทุจริตตั้งแต่ต้น โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่ ป.ป.ช.กำหนด มีหน้าที่ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ส่วนตำแหน่งที่ ป.ป.ช.ไม่ได้กำหนด ให้ยื่นต่อหน่วยงานต้นสังกัด”พล.ต.อ.วัชรพล ระบุ

ต่อมามีการอภิปรายหัวข้อ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาสู่การปฏิบัติ โดยนายสวัสดิ์ ภู่ทอง ผอ.สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผอ.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นางปาริยา ณ นคร ผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย นางสมบัติ คชสิทธิ์ ที่ปรึกษาที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยในการอภิปรายมีการหารือว่า หลักสูตรดังกล่าวควรจะแต่ละโรงเรียนจะต้องนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม ไม่ควร เพราะโรงเรียนแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน บางโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมาก แต่โรงเรียนชนบทมีนักเรียนหลักสิบคน ดังนั้น จะต้องให้มีการประยุกต์ใช้ตามบริบทของแต่ละโรงเรียน แต่ยังมีความกังวลว่าจะมีการทำแบบไม่ครบถ้วน หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง จนการสอนตามหลักสูตรดังกล่าวไม่ได้ผล

ส่วนการนำไปปฏิบัตินั้น ที่ผ่านมา สพฐ.ได้นำครูที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำหลักสูตร กว่า 70 คน มาระดมความรู้เพื่อทำแผนการสอนออกมาอย่างละเอียด ได้มีการทดลองสอนตามแผนดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ มีการพัฒนาครูกว่า 2,000 คน ขึ้นมาเป็นวิทยากรต่อต้านการทุจริตด้วย โดยหลักสูตรต้านการทุจริตเป็นความต่อเนื่อง จะแตกต่างจากการทำกิจกรรมที่ทำแล้วจบ ส่วนการนำไปใช้ในระดับอุดมศึกษานั้น เป้าหมายแรกอาจจะทำในรูปแบบกิจกรรมของนักศึกษา ส่วนการผลักดันหลักสูตรดังกล่าวให้แทรกอยู่ในมหาวิทยาลัยทุกคณะจะต้องมีการดำเนินการต่อไปอีก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"