'ป.ป.ช.'ชี้ภาพมัด สินบน'โรงไฟฟ้า' โรลส์รอยซ์ส่อวืด


เพิ่มเพื่อน    

     ป.ป.ช.ยันมีรูปถ่ายมัดชัดๆ สินบน “มิตซูบิชิ” เพราะคนญี่ปุ่นถ่ายไว้หมดใครรับเท่าใด ส่วนกรณี “โรลส์รอยซ์” ส่อเค้าเหลว เหตุฝรั่งไม่ร่วมมือ กลัวลูกค้าหนี รับสภาพเมืองไทยถูกมองต้องมีใต้โต๊ะ
     เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงการตรวจสอบกรณีสินบนบริษัท มิตซูบิชิ ฮิตาชิ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่ไทย 20 ล้านบาท ในโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในไทย เมื่อปี 2556 ว่าบริษัทดังกล่าวต้องการขนถ่ายวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาติดตั้งที่โรงไฟฟ้า อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ด้วยเรือขนาดใหญ่ มาขึ้นที่ท่าเรือของกรมเจ้าท่า แต่เมื่อน้ำหนักเกิน จึงต้องจ่ายสินบน โดยบริษัทได้ร้องเรียนกับ ป.ป.ช.ญี่ปุ่น ซึ่งเราได้ไปพูดคุย ป.ป.ช.ญี่ปุ่นอยากให้เราเล่นงานเจ้าหน้าที่ไทยอย่างเดียว เพราะคนของเขาไม่ค่อยสนใจ 
     “ป.ป.ช.ญี่ปุ่นระบุว่าเจ้าหน้าที่ไทยเป็นคนเรียกรับสินบน เราก็ตรวจสอบ ปรากฏว่าข้อมูลตรงกัน โดยบริษัทนั้นอ้างว่าต้องจำยอม ไม่เช่นนั้นจะผิดสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้า และโดนค่าปรับ ทั้งนี้ ความเป็นจริงหน่วยงานตรวจสอบของญี่ปุ่นต้องเอาผิดบริษัทดังกล่าวด้วย เนื่องจากสมยอม” นายสุรศักดิ์กล่าว 
     นายสุรศักดิ์กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกล่าวหาว่าเรียกรับสินบน มีทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมเจ้าท่าในพื้นที่ นักการเมืองท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจน้ำ รวม 4-5 คน เข้าไปร่วมประชุมร่วมรับเงินรับทอง ซึ่งคนของบริษัทดังกล่าวที่ถือเงินมาให้เจ้าหน้าที่ถ่ายรูปไว้หมดว่าใครรับไปบ้าง ซึ่ง ป.ป.ช.ได้หลักฐานส่วนนั้นมาหมดแล้ว และ ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ 
     “เมื่อเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไม่ต้องหยุดดำเนินการ ถือเป็นคนละประเด็น เพราะบริษัทดังกล่าวไม่ได้ชนะประมูลด้วยการให้สินบน เป็นเฉพาะกรณีการให้สินบนเพื่อจะนำของขึ้นท่ามาก่อสร้างเท่านั้น” นายสุรศักดิ์กล่าว
นายสุรศักดิ์ ในฐานะองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริง ผู้รับผิดชอบสำนวนกรณีการจ่ายสินบนของบริษัท โรลส์ รอยซ์ จำกัด ให้เจ้าหน้าที่รัฐในบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการตรวจสอบว่า ในเรื่องของเส้นทางการเงินถือว่ามีความยากลำบาก เนื่องจากดำเนินการผ่านสถาบันการเงินต่างประเทศ และสถาบันการเงินเหล่านั้นไม่ค่อยให้ความร่วมมือเรื่องข้อมูลกับ ป.ป.ช. เพราะเขาได้ค่าธรรมเนียมดำเนินการตรงนั้น แล้วถ้าให้ข้อมูลอีกหน่อยคงไม่มีใครมาใช้บริการ เราจึงต้องประสาน ป.ป.ช.ประเทศนั้นๆ เพื่อใช้อำนาจตามกฎหมายเขาให้ช่วยดำเนินการ 
     "ประเทศนี้มันแปลก นักลงทุนไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศที่จะมาเสนอขายสินค้าหรือบริการต่างๆ เข้าใจว่าต้องมีใต้โต๊ะ เขาเข้าใจและเชื่อว่าต้องมี ทั้งที่สินค้าหรือบริการของคนที่ชนะการประกวดราคาก็มีคุณภาพและราคาถูกกว่า" นายสุรศักดิ์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"