หลังจากวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา มีราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องเร่งชี้แจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริง ว่าธุรกิจของตนเองนั้นได้นำทรานส์แฟตเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารหรือผลิตสินค้าหรือไม่
หลายวันที่ผ่านมาก็มีหลายแบรนด์ทยอยออกมาชี้แจง ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็เพิ่งจะรู้ว่าแท้จริงแล้วสินค้าหลายแบรนด์ไม่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ ทั้งที่ดูรวมๆ ภายนอกแล้วยังไงก็ไม่น่ารอด เอาเป็นว่ามีใครออกมาชี้แจ้งด้านไหน อย่างไรกันบ้าง มาดูกัน
ต้องยอมรับว่าหลายคนพุ่งเป้าไปที่อาหารฟาสต์ฟู้ดกันมากพอสมควร ก็มีค่ายยักษ์ใหญ่ได้ออกมาชี้แจง อย่างบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือรู้จักกันในนามร้านไก่ทอดชื่อดัง “เคเอฟซี” ขอยืนยันว่าเมนูอาหารทุกเมนูที่จำหน่ายในร้านเคเอฟซี ประเทศไทย ปลอดจากไขมันทรานส์ 100% เนื่องจากเคเอฟซี ประเทศไทยได้ดำเนินตามนโยบายบริษัทแม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการยกเลิกการจำหน่ายอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์มาตั้งแต่ปี 2558 โดยได้ทำงานร่วมกับคู่ค้าผู้จำหน่ายวัตถุดิบทุกรายในการเลิกใช้ส่วนผสมที่สามารถทำให้เกิดไขมันทรานส์ออกไป
ด้านแมคโดนัลด์ขอสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเช่นกัน บอกว่าเรื่องของอาหารแต่ละเมนูที่ผลิตเข้ามาทำตลาด เริ่มจากอาหารประเภททอด แมคโดนัลด์ได้ใช้น้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานปราศจากไขมันทรานส์ จากซัพพลายเออร์ภายในประเทศ โดยมีหลักปฏิบัติในการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมคุณภาพของอาหารให้ได้ตามมาตรฐานของแมคโดนัลด์
ส่วนบริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครีมเทียมข้นหวาน นมข้นหวาน และนมคืนรูปปรุงแต่งสเตอริไลส์ ภายใต้แบรนด์เรือใบ (Ship), นกเหยี่ยว (Falcon) และมายบอย (My Boy) ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่การันตีว่าไม่ได้ใช้น้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) ในผลิตภัณฑ์ครีมเทียมข้นหวาน นมข้นหวาน และนมคืนรูปปรุงแต่งสเตอริไลส์สำหรับปรุงอาหารและเบเกอรี่ที่ผลิตภายใต้บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าด้วยเช่นกัน
อิทธิพล ปฏิมาวิรุจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เดลี่ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมข้นหวานภายใต้แบรนด์พาเลซ ก็บอกว่าบริษัทไม่ได้ใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในการผลิตสินค้าหรืออาหารแต่อย่างใด หากให้มองในมุมของผู้ประกอบการก็ต้องบอกว่าหลายรายได้เตรียมตัวมาพักหนึ่งแล้ว เพราะก่อนหน้าเรื่องของไขมันทรานส์เคยถูกพูดถึงมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้ว แน่นอนว่าทางหน่วยงานก็ต้องมีการเข้าไปคุยกับผู้ประกอบการ แต่อยากให้ อย.ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับไขมันทรานส์ว่าไม่ดีต่อสุขภาพอย่างไร และรับประทานมากน้อยขนาดไหน จึงจะเกิดขึ้นเสียกับสุขภาพของประชาชน
ใครๆ ก็บอกว่าปราศจากไขมันทรานส์ คงเป็นค่ายเดียวที่บอกว่าตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน เพราะมิสเตอร์โดนัท โดยเซ็นทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ป บอกว่าตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2561 บริษัทจะสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ปลอดไขมันทรานส์ทั่วประเทศได้ภายในสิ้นเดือน ก.ค.2561
จากคำชี้แจงของทุกบริษัทที่มีให้เห็นกันตามสื่อหลายช่องทาง รวมถึงเพจของแบรนด์นั้นๆ ได้ยินแบบนี้แล้วผู้บริโภคก็คงในชื้นกันขึ้นมาบ้าง เพราะหากเป็นจริงทุกประการ ชีวิตที่จะตกในการเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ คงน้อยลง.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |