ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับยกย่องจากทั่วโลกเป็นหน่วยงานวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกของโลก พร้อมเร่งพัฒนาดันภาคส่งออกหนุนไทยเติบโต
นายวินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯ ตรวจผลิตภัณฑ์ไปแล้วกว่า 120,000 ผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่า เป็นที่หนึ่งในเรื่องการตรวจสอบความปลอดภัยด้านฮาลาล การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาระบบในการสร้างความปลอดภัย จนกลายเป็นต้นแบบที่ประเทศโลกมุสลิมและประเทศที่ไม่ใช่มุสลิมต้องให้ความสนใจมีการขอเข้าศึกษาดูงานและอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล อาทิ ปากีสถาน อุซเบกิสถาน มาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย ตุรกี รวมถึง ญี่ปุ่น กัมพูชา สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมัน
ทั้งนี้ ไทยยังส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลน้อยถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้ถูกมองเห็นว่าตลาดฮาลาลนั้นเป็นตลาดเล็ก เช่น ไทยมองตลาดฮาลาลอยู่ที่ 17% ของตลาดอาหารโลก แต่สำหรับประเทศเยอรมันมองตลาดฮาลาลอยู่ที่ 89 % ดังนั้นจึงควรเร่งพัฒนา เพราะปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากรมุสลิมมีการกำลังขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ถ้าไทยให้ความสำคัญในเรื่องของเครื่องหมายฮาลาล การส่งออกก็จะสามารถขยายตัวส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้อย่างมาก
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |