กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินติญ” ตั้งแต่วันที่ 17 – 22 กรกฎาคม 2561 ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยใน 13 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 3 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง พร้อมระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินติญ” ตั้งแต่วันที่ 17 – 22 กรกฎาคม 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มใน 13 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิจิตร นครสวรรค์ ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ระนอง เพชรบุรี และประจบคีรีขันธ์ รวม 2,369 ครัวเรือน 6,935 คน 23 อำเภอ 34 ตำบล 106 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด
ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 3 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี รวม 2 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 400 ครัวเรือน 1,042 คน วัด 1 แห่ง ถนน 2 สาย สถานที่ราชการ 7 แห่ง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 300 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ตาก เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง และอำเภออุ้มผาง รวม 6 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80 ครัวเรือน 271 คน ถนน 18 สาย ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ประจวบคีรีขันธ์ เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอหัวหิน รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80 ครัวเรือน 248 คน ฝาย 3 แห่ง ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ อีกทั้งเร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคุลมภาคใต้ ทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางพื้นที่ รวมถึงทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นลมแรง ปภ.จึงได้ประสานจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยจากภาวะฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม และคลื่นลมแรง โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด
อีกทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน คลื่นลมมีกำลังแรง คลื่นสูง 2 – 3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งระมัดระวังอันตรายจากคลื่นซัดฝั่ง รวมถึงชาวประมงให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือเป็นพิเศษ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง อีกทั้งนักท่องเที่ยวควรงดประกอบกิจกรรมทางทะเลทุกประเภท ทั้งนี้ หากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |