สนช.ผ่านฉลุยร่างกฎหมายการงบประมาณ ลดระดับตรวจสอบรัฐวิสาหกิจถึงแค่บริษัทแม่-ลูก "วัชระ" โวยลั่นปล้นประเทศรอบใหม่ โอนทรัพย์สินชาติเป็นของเอกชน จี้ "พรเพชร" ถอนพิจารณา ไม่งั้นถวายฎีกาค้านถึงที่สุด
ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่รัฐสภา เมื่อวันศุกร์ มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานที่ประชุม มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ..... ในวาระสองและวาระสาม สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว คือ มาตรา 4 ว่าด้วยคำนิยามของคำว่า ”รัฐวิสาหกิจ” ให้มีความหมาย ดังนี้ (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (2) บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกิน 50% และ (3) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตาม (1) หรือ (2) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกิน 50%
สมาชิก สนช.หลายคนสอบถามถึงมาตรา 4 นิยามความหมายของคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ที่ทำให้สามารถตรวจสอบได้แคบลง จากเดิมตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 กำหนดครอบคลุมถึงบริษัทที่บริษัทลูกเข้าไปถือหุ้นเกิน 50% แต่ในร่างดังกล่าวกลับให้ตรวจสอบได้เพียงวิสาหกิจของรัฐและบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจเท่านั้น โดยคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญชี้แจงว่า ในเชิงการตรวจสอบสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสามารถเข้าไปตรวจสอบบริษัทที่บริษัทลูกเข้าไปถือหุ้นเกิน 50% ได้อยู่แล้ว โดยตรวจสอบผ่านการจัดทำงบดุลของบริษัทแม่ในรัฐวิสาหกิจ
ที่ประชุมยังได้พิจารณาบทเฉพาะกาล มาตรา 52/1 ว่าด้วยการกำหนดให้กฎหมายอื่นที่อ้างความหมายของคำว่ารัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ จะต้องดำเนินการปรับปรุงนิยามรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับนี้ภายใน 3 ปี และหากไม่ได้แก้ไขให้เสร็จภายใน 3 ปี จะต้องใช้นิยามรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณฉบับนี้
นายคำนูณ สิทธิสมาน ในฐานะ กมธ.วิสามัญ อภิปรายไม่เห็นด้วยกับมาตราดังกล่าว ระบุว่า การทบทวนคำนิยามรัฐวิสาหกิจของกฎหมายอื่นที่มาอ้างกฎหมายนิยามคำว่ารัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ ควรต้องได้รับการทบทวนตามภารกิจของกฎหมายฉบับนั้นหรือของหน่วยงานนั้น โดยไม่ควรให้หน่วยงานนั้นมาใช้นิยามคำว่ารัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวิธีการงบประมาณฉบับใหม่ ทั้งที่ยังไม่ได้พิจารณาภารกิจของหน่วยงานตนเอง นอกจากนี้ การกำหนดระยะเวลาไว้ 3 ปี จะมีปัญหาตามมาอีก คือ ในอนาคตเมื่อกระบวนการนิติบัญญัติเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยมีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำให้การแก้ไขกฎหมายทำได้ลำบาก เนื่องจากจะต้องพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศอีกจำนวนมาก จึงเห็นว่าไม่ควรกำหนดเวลาบังคับเอาไว้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม สนช.มีมติเอกฉันท์ 178 คะแนน เห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ..... ประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ด้านนายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กฎหมายนี้มีสาระสำคัญให้บริษัทหลานเหลนของรัฐวิสาหกิจไม่อยู่ภายใต้กฎหมายงบประมาณ เท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ให้มีการปล้นชาติรอบใหม่ ไม่แตกต่างอะไรกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมกดหัวคนทั้งชาติให้ยอมรับวิธีการเบียดบังทรัพย์สินของคนทั้งชาติไปให้เอกชน และทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด เป็นวิธีการปล้นชาติแบบเนียนๆ อาศัย สนช.เป็นเครื่องมือออกกฎหมาย โดยไม่มีตัวแทนของพี่น้องประชาชนคอยตรวจสอบถ่วงดุลในสภานี้เลย ขอเรียกร้องให้นายพรเพชรสั่งการให้ถอนร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ..... ฉบับนี้ออกไปก่อน เพื่อรอให้สภาผู้แทนราษฎรมาพิจารณาต่อไป หาก สนช.เดินหน้าพิจารณาโดยไม่สนใจเสียงทักท้วงของพี่น้องประชาชน ตนจะใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านให้ถึงที่สุด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |