สหภาพฯกทพ.เบรคตั้งกองทุนฟิวเจอร์ฟันด์ ชี้แบกดอกเบี้ยแสนล้าน


เพิ่มเพื่อน    

สหภาพ กทพ.บุกคมนาคมเบรคตั้งกองทุน TFF หวันสร้างภาระทางการเงินให้การทางพิเศษฯพร้อมเสนอหลังหมดสัญญาสัมปทานกับ BEMให้บริการทางด่วนขั้นที่1และ2 เอง

นายชาญชัย โพธิ์ทองคำ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(สร.กทพ.) เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมว่า ได้มีการเสนอขอให้ทางกระทรวงทบทวนเรื่องการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตของประเทศ(Thailand Future Fund : TFF)ในโครงการทางพิเศษพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก และโครงการทางด่วนขั้นที่ 3-สายเหนือตอนN2 ด้านตะวันออกช่วงเกษตรนวมินทร์ต่อไปยังมอเตอร์เวย์ ของการทางพิเศษฯ เนื่องจากมองว่าผลการตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 8% นั้นสูงเกินไป

อย่างไรก็ตามมองว่าการกู้เงินผ่านกองทุนดังกล่าวระยะเวลา 30 ปี เป็นเงินต้นจำนวน 45,093 ล้านบาท ดอกเบี้ย 107,093 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 152,187 ล้านบาท จะทำให้มีต้นทุนทางการเงินสูงมากเมื่อเทียบกับการออกพันธบัตรระยะเวลา 15 ปีที่มีเงินต้น 45,093 ล้านบาท ดอกเบี้ย 13,445 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 58,234 ล้านบาท ซึ่งการกู้กองทุนรวมTFF จะเป็นการกู้ครั้งเดียวและต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา 3 ปี

อย่างไรก็ตามแต่ในส่วนของการออกพันธบัตรสามารถทยอยกู้เงินได้คือใช้เท่าไหร่ก็กู้เท่านั้นโดยในปีแรกการทางพิเศษฯใช้เพียงประมาณ 3,000 ล้านบาท รวมถึงในอนาคตที่จะมีการเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษมากขึ้นปริมาณจราจรจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยทุกปีไม่น้อยกว่า 6% การทางพิเศษฯจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯไม่น้อยกว่า 250,000 ล้านบาท

“อยากให้มีการพิจารณาเพราะต้นทุนที่สูงเกินไปการทางพิเศษฯจะอยู่ได้อย่างไร และอยากให้เอาเงินก้อนนี้มาทำเป็นโครงการที่ไม่ได้เป็นรายได้อะไรมากมายเช่น โครงการทางพิเศษพระราม3-ดาวคะนอง ที่เป็นโครงการที่เป็นลูกค้าเก่า เพราะฉะนั้นปริมาณรถจะไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนโครงการใหม่ๆที่คนใช้เยอะ ซึ่งการกู้ผ่าน TFF ครั้งเดียว 45,093 ล้านบาทนั้น การทางพิเศษฯไม่ได้ใช้เงินในครั้งเดียวภายใน 3 ปีถึงจะใช้เงินหมด การกู้เงินมากอดไว้โดยที่เสียดอกเบี้ยแน่นอนภายใน 3 ปีจึงเป็นการสร้างปัญหาสร้างภาระทางการเงินให้การกทางพิเศษฯ” นายชาญชัย กล่าว

นอกจากนี้ยังเสนอให้ยกเลิกสัมปทาน)ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) สายดิน โครงการทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEMที่จะหมดอายุสัมปทานภายในเดือนก.พ.ปี 63 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยทางการทางพิเศษฯได้มีการเสนอหลังหมดสัญญาจะขอนำกลับมาบริหารเองและมองว่าหากนำกลับมาบริหารเองในการยกเลิกด่านบางด่านที่เกิดขึ้นจากสัญญาสัมปทานผูกไว้หากไม่มีสัญญาสัมปทานดังกล่าวแล้วก็สามารถยกเลิกได้ และสามารถการบริหารจัดการจราจรให้มีความคล่องตัวในการเดินทางมากขึ้น รวมถึงมองว่าเป็นการเสียเปรียบเนื่องจากในสัญญาสัมปทานได้มีการรวมรายได้ของทางด่วนขั้นที่ 1 กับขั้นที่ 2 ด้วยจึงต้องแบ่งรายได้ร่วมกับผู้ได้รับสัมปทาน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"