มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มตรวจเนื้อไก่สดและตับไก่สด 62 ตัวอย่าง พบยาปฏิชีวนะตกค้าง 26ตัวอย่าง และตกมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 5ตัวอย่าง หวั่นเกิดเชื้อดื้อยา จากสัตว์สู่คน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อเพิ่มมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์
19 ก.ค.61- ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ มีการแถลงข่าว “ผลการตกค้างจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในเนื้อไกลและตับไก่สด” โดยมี น.ส.สารี อ๋องสมหวังเลขาธิการมุลนิธิเพื่อผู้บริโภค และบรรณธิการนิตยสารฉลากซื้อ ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกรุงเทพฯ ร่วมกันแถลงข่าว
น.ส.สารี กล่าวว่า มุลนิธิฉลาดซื้อ มีการสุ่มตรวจตัวอย่างอกไก่และตับสด จาก ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า และ ซุปเปอร์มาเก็ตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑณ เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนจากยาปฏิชีวนะ 3 กลุ่ม นำมาวิเคราะห์การตกค้างยาปฏิชีวนะ 3ชนิด คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน ชนิด เอนโรฟลอคซาซิน 2.กลุ่มเตตราไซคลิน ชนิด ด็อกซีไซคลิน และกลุ่มที่ 3 เบต้า-แลคแทม ชนิด อะม็อกซีซิลลิน ผลปรากฏว่าพบการปนเปื้อนจากยาทั้งหมด 26 ตัวอย่าง หรือ 41.93%แบ่งเป็น ชนิดที่ 1 เอนโรฟลอคซาซิน จำนวน 5 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 8.06 ชนิดที่ 2 ด็อกซีไซคลิน จำนวน 21 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 33.87 และ ชนิดที่ 3 อะม็อกซีซิลลิน ไม่พบการปนเปื้อน
น.ส.สารี กล่าวว่า มีการอนุญาตให้ใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ป่วย หรือป้องกันการเจ็บป่วย แต่ห้ามใช้ในการเร่งการเจริญเติบโต แต่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ.2550 เรื่องอาหารที่มียาตกค้าง ระบุ ในประกาศแนบท้ายกำหนดให้สามารถพบปริมาณสารตกค้างของยาในกลุ่มเตตาไซคลิน ในสัตว์ปีก ส่วนของกล้ามเนื้อ ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และในส่วนของตับไม่เกิน 600 กรัมต่อกิโลกรัม แต่ในกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน ที่มีการตกค้าง 5 ตัวอย่างนั้น ตามประกาศแนบท้ายประกาศดังกล่าว ระบุว่าสามารถใช้ได้แต่ห้ามมีการตกค้างโดยเด็ดขาด ดังนั้นในการตรวจครั้งนี้ จึงพบสินค้าตกมาตรฐาน จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก ตลาดบางแค (หลังห้างวันเดอร์) ในตับไก่ จากแผงร้านค้า ตลาดหนอกจอก พบในตับไก่ จากแผงร้านค้าห้าง บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาเพชรเกษม 2 พบในอกไก่สด ตลาดบางกะปิ พบในอกไก่สด จากแผงร้านค้า และตลาดบางแค (หลังห้างวันเดอร์)พบในแผงไก่สด จากแผงร้านค้า
"ผู้บริโภคไม่ต้องการอาหารที่มีการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ เพราะการเกิดเชื้อดื้อยาเกิดนั้นไม่ว่าจะนวนเชื้อจะมากหรือน้อยก้มีผลต่อการเกิดเชื้อดื้อยาทั้งนั้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง อย.ที่มีแผนควบคุมเชื้อดื้อยา และกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องมีการเข้มงวดจริงจังในการดำเนินการตามมาตรการ และนอกจากหน่วยงานแล้ว ทางผู้ประกอบการเองก็ต้องตรวจสอบที่ต้นทางที่มาของสินค้า โดยข้อมูลทั้งหมดในวันนี้จะมีการส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสมาคมตลาดเพื่อให้เกิดการคุ้มครองดูแลผู้บริโภคต่อไป"นส.สารีกล่าว
ดร.นิยดา กล่าว่า การใช้ยาปฏิชีวินะรับรู้กันมานานว่า หากเชื้อมีการเจอยาแล้วจะมีการปรับตัวให้เกิดเป็นเชื้อดื้อยา จากการสำรวจทั่วโลกแนวโน้มการดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุจากการดื้อเดิมจะพบเจอในโรงพยาบาล ดังนั้นก็จะพุ่งเป้าไปควบคุมการติดเชื้อใน รพ. แต่ต่อมามีงานวิจัยเพิ่มขึ้นว่าการแพร่เชื้อดื้อยา ปัญหาใหญ่กว่านั้น ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากวงจรอาหาร จากการเลี้ยงสัตว์เพื่ออาหารมนุษย์ มีมากขึ้น และการดื้อยาสามารถส่งแพร่จากเชื้อตัวหนึ่งไปสู่เชื้ออีกตัวได้ ซึ่งการดื้อแบบนี้สามารถข้ามจากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัวเพราะปัจจุบัน แม้ว่าจะห้ามใช้ในการเร่งการเจริญเติบโต เช่น พวกสารเนื้อแดง แต่ยังมีการอนุญาตให้ใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันสัตว์ป่วย ดังนั้นการเข้าถึงยาปฏิชีวนะมีเยอะ อาหารจึงเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งเพื่อให้เกิดการเข้าไปดูแลควบคุม ทั้งนี้ก็พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีความร่วมมือกันและพยายามลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ เพราะหากมีการจัดการฟาร์มที่ดีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ตนลองค้นในในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์ กลับพบว่ามีการขายในอินเทอร์เน็ตเจอทุกชนิด ร่วมถึงชนิดที่ห้ามใช้ต่างๆ ดังนั้นหน่วยงานต่างๆจึงต้องมาเพิ่มความเข้มงวดในจุดนี้เพิ่มเติม เพื่อลดปัญหาที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต.
///////////////////////
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |