ผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิตเด็กออสเตรเลีย แนะเฝ้าระวังสัญญาณเตื่อนทางใจ"หมูป่า" ไม่ควรถูกกดันเล่าเหตุการณ์ในถ้ำ


เพิ่มเพื่อน    

18ก.ค.61-กรมสุขภาพจิต เผยผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิตเด็กออสเตรเลีย แนะทีมสุขภาพจิตในพื้นที่  ผู้ปกครอง พระ ครู เฝ้าระวังสัญญานเตือนทางใจ ทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 คนต่อเนื่องหลังออกจากโรงพยาบาล เด็กๆไม่ควรถูกกดดันให้เล่าเหตุการณ์ในถ้ำ ลดดูทีวี อินเตอร์เน็ต ถ้าหงุดหงิด แยกตัว ฝันร้าย นอนไม่หลับ  ต้องช่วยเหลือทันที


นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง  ไตรเรืองวรวัฒน์  อธิบดีกรมสุขภาพจิต    ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการติดตามดูแลสภาวะสุขภาพจิตของทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 คนภายหลังกลับไปอยู่บ้านว่า กรมสุขภาพจิตได้วางแผนการติดตามดูแลเด็กและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง  โดยได้ประชุมร่วมกับทีมเอ็มแคทและทีมสุขภาพจิตของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย    และศาสตราจารย์แพทย์หญิงรีเบคคา  ไซย์ เชอริฟ ( Prof.Rebecca Syed Sheriff)  ผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิตเด็กของออสเตรเลีย  ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องผลกระทบของเด็กที่ประสบภาวะวิกฤติและการบาดเจ็บ

 

อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำว่า เด็กและโค้ช ทั้ง13 คน  ควรได้รับการดูแลจิตใจจากบุคคลที่คุ้นเคย เช่นครอบครัว  เพื่อน ครู หรือพระ หรือผู้ที่ทีมหมูป่ามักไปปรึกษา ควบคู่กับการเพิ่มความเข้มแข็งทางจิตใจของทีมหมูป่าให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด    เด็กๆไม่ควรถูกกดดันให้เล่าประสบการณ์การติดถ้ำ   ในช่วงนี้เด็กและโค้ชอาจมีความรู้สึกตื่นกลัว ซึ่งไม่ใช่อาการผิดปกติที่รุนแรง      การปลอบโยนจะช่วยให้เด็กดีขึ้น   ประการสำคัญเด็กควรได้รับการปกป้อง ไม่ให้ต้องเผชิญกับสื่อหรือหน่วยงานใดๆ นอกเหนือจากกลุ่มบุคคลที่คุ้นเคยที่คอยดูแล   และหากเป็นไปได้ควรลดเวลาไม่ให้เด็กดูทีวีหรืออินเตอร์เน็ตหรือการดูสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นมากเกินไป  เพื่อลดการรับตัวกระตุ้นที่ทำให้ย้อนระลึกประสบการณ์ติดถ้ำ

 

“ ช่วงพักฟื้นนี้มีข้อแนะนำคนใกล้ชิดเด็กๆ และโค้ช ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครองและครู ให้สังเกตสัญญาณเตือนของอาการผิดปกติทางจิตใจ ได้แก่ ซึมเศร้า แยกตัวเอง ฝันร้าย  นอนไม่หลับ  แยกตัว  หงุดหงิดง่าย   เหล่านี้เป็นอาการที่อาจพบได้ในผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤติ ซึ่งต้องได้รับการประเมินและการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเด็กอย่างละเอียดต่อไป” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

  ทางด้านนายแพทย์ธรณินทร์  กองสุข  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า บทบาทหน้าที่หลักในการติดตามดูแลเด็กและโค้ชหลังออกจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จะเป็นของทีมสุขภาพจิตจังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นผู้คุ้นเคยและใกล้ชิดกับครอบครัวทีมหมูป่าอะคาเดมีที่ได้ดูแลตั้งแต่ระยะเฝ้ารอที่ปากถ้ำหลวง        ส่วนทีมของกรมสุขภาพจิต ประกอบด้วยโรงพยาบาลสวนปรุง  สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์และศูนย์สุขภาพจิตที่1 จ.เชียงใหม่จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านวิชาการและการช่วยเหลือที่เกินขีดความสามารถของทีมสุขภาพจิตจังหวัดเชียงราย   ซึ่งที่ผ่านมา ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญในเรื่องการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพจิตของเด็กและโค้ชจากครอบครัว ครู และคนอื่นๆ เช่น ความเจ็บป่วยทางจิตใจที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ ประวัติการพัฒนาการ ประวัติบาดแผลทางจิตใจ ประวัติครอบครัว รวมทั้งการให้ความรู้กับคนใกล้ชิดของเด็กๆ และโค้ช คือพ่อแม่-ผู้ปกครอง พระ ครู  ให้มีความรู้ด้านสุขภาพจิตเบื้องต้น โดยเฉพาะสัญญาณเตือนถึงอาการและพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ อย่างไรก็ตามในการติดตามเฝ้าระวังนี้ ทางกรมสุขภาพจิตก็มีเครื่องมือช่วยประเมินสภาพจิตใจที่มีประสิทธิภาพ  พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมสุขภาพจิตจังหวัดเชียงรายตลอดเวลา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"