ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาในบังกลาเทศประท้วงแผนส่งกลับพม่า


เพิ่มเพื่อน    

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศหลายร้อยคนประท้วงต่อต้านแผนการของรัฐบาลบังกลาเทศและพม่าที่จะส่งตัวพวกเขากลับคืนพม่า ตั้งเงื่อนไขพม่าต้องให้สิทธิพลเมืองและรับประกันความปลอดภัยก่อน

 ชาวโรฮิงญาในค่ายพักกิงชั่วคราวกูตูปาลอง เมื่อวันที่ 12 ม.ค.2561 ภาพ AFP

   เอเอฟพีรายงานว่าผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศก่อหวอดประท้วงกันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยพากันร้องตะโกนคำขวัญและชูป้ายข้อความเรียกร้องสถานะพลเมือง และการรับประกันความปลอดภัย ก่อนที่พวกเขาจะยอมเดินทางกลับรัฐยะไข่

    การประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ ยังฮี ลี ผู้แทนพิเศษผู้นำเสนอรายงานต่อองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จะเดินทางมาเยือนค่ายลี้ภัยหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ ซึ่งเป็นที่พักพิงของชาวมุสลิมโรฮิงญาราว 1 ล้านคน

    รัฐบาลบังกลาเทศเพิ่งบรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลพม่า ในการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาราว 750,000 คน ที่เดินทางมายังบังกลาเทศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 กระบวนการนี้กำหนดใช้เวลาภายใน 2 ปี และคาดว่าจะเริ่มได้อย่างเร็วสุดในสัปดาห์หน้า

    อย่างไรก็ตาม ชาวโรฮิงญาจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในค่ายลี้ภัยแออัดไม่ถูกสุขลักษณะ กล่าวกันว่า พวกเขาไม่ต้องการกลับรัฐยะไข่ ที่ที่พวกเขาหนีพฤติการณ์โหดร้ายป่าเถื่อน ทั้งการฆาตกรรม ข่มขืนและวางเพลิงเผาบ้านเรือน

    กลุ่มสิทธิหลายกลุ่มและยูเอ็นก็เคยกล่าวเช่นกันว่า การส่งตัวกลับต้องกระทำโดยความสมัครใจ พร้อมกันนั้นพวกเขายังได้แสดงความห่วงกังวลต่อสภาพการณ์ภายในพม่า ที่ทหารและม็อบชาวพุทธยะไข่วางเพลิงเผาทำลายถิ่นที่อยู่ของชาวโรฮิงญา

    รัฐบาลพม่ากล่าวว่า พม่ากำลังสร้างค่ายที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้ผู้ที่เดินทางกลับพม่าใช้เป็นที่พำนักก่อน โมห์อิบุลเลาะห์ ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่เคยเป็นครู กล่าวว่า แผนการที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ชาวโรฮิงญาหวาดกลัว

    "พวกเราต้องการพื้นที่ปลอดภัยในรัฐอาระกัน (ยะไข่) ก่อนการกลับคืนถิ่นเดิม" เขากล่าวกับเอเอฟพีทางโทรศัพท์จากเมืองคอกซ์บาซาร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายลี้ภัย

    "เราต้องการให้มีกองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นในอาระกัน เราต้องการสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิพลเมือง เราไม่ต้องการการส่งตัวกลับโดยไม่มีการรับประกันความปลอดภัยในชีวิต" เขากล่าว

    ด้านตำรวจบังกลาเทศกล่าวว่าพวกเขาไม่ทราบว่ามีการชุมนุมประท้วงที่นั่น

    เจ้าหน้าที่บังกลาเทศคนหนึ่งเปิดเผยด้วยว่า ชาวโรฮิงญาราว 6,500 คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนไร้ผู้ครอบครองบริเวณชายแดนของบังกลาเทศและพม่า จะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ถูกส่งตัวกลับคืนถิ่น

    ข้อตกลงส่งกลับถิ่นเดิมนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาราวๆ 200,000 คน ที่อพยพหนีความรุนแรงระหว่างชุมชน และปฏิบัติการของกองทัพหลายครั้งก่อนหน้านั้น มาอาศัยอยู่ในบังกลาเทศก่อนเดือนตุลาคม 2559

    รายงานของรอยเตอร์วันเดียวกันระบุว่า พวกแกนนำโรฮิงญาอาวุโสในค่ายผู้ลี้ภัยที่กูตูปาลอง ที่อ้างว่าพวกเขาเป็นตัวแทน 40 หมู่บ้านในรัฐยะไข่ ได้ร่างรายการเงื่อนไขที่พวกเขาต้องการให้พม่ารับปากก่อน จึงจะยอมกลับคืนถิ่น

    เงื่อนไขที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์มีอาทิ ต้องการให้พม่าประกาศต่อสาธารณะว่าจะให้สิทธิพลเมืองและถือว่าโรฮิงญาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า, ต้องการถิ่นที่อยู่เดิมคืน รวมถึงการสร้างบ้าน มัสยิดและโรงเรียนขึ้นใหม่, กองทัพต้องชดใช้ความผิดที่ฆ่า ปล้นชิงและข่มขืน และต้องปล่อยชาวโรฮิงญาบริสุทธิ์ที่ถูกจับในปฏิบัติการปราบปราม.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"