“โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ของรัฐบาล ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาประเทศที่เชื่อมจากระดับชาติสู่ระดับพื้นที่ เป็นการดำเนินการอย่างมีแบบแผนชัดเจน โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพของคนในแต่ละพื้นที่ ไปจนถึงการสนับสนุนให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
โดยหลักในการดำเนินโครงการดังกล่าว แยกเป็นด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านความมั่นคง ได้แก่ สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง, รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย, รู้กลไกการบริหารราชการ, รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม, รู้เท่าทันเทคโนโลยี และร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ คนไทยไม่ทิ้งกัน, ชุมชนอยู่ดีมีสุข และวิถีไทยวิถีพอเพียง และสุดท้ายคืองานตามภารกิจของทุกหน่วยงานที่ลงพื้นที่ (Function)
ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีกลไกในการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ นั่นเอง
ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนในโครงการสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 ที่เปิดรับลงทะเบียนในช่วงก่อนหน้าได้ โดยเป็นการประสานกับ 11 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กรมบัญชีกลาง เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน จะเป็นไปตามโครงการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติจากการลงทะเบียนในครั้งแรก จะไม่สามารถเข้าร่วมการลงทะเบียนที่เปิดเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ การลงทะเบียนจะต้องเป็นรูปแบบสมัครใจ โดยผู้ลงทะเบียนจะต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูลแก่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อมูลด้านรายได้ ข้อมูลเงินฝากธนาคาร การถือครองที่ดิน และข้อมูลหนี้สิน เป็นต้น รวมทั้งจะต้องยินยอมให้นำข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมถ่ายภาพใบหน้าไปใช้ เพื่อให้รัฐบาลมีข้อมูลสำหรับนำไปใช้ในการจัดทำสวัสดิการรัฐในระยะต่อไป
โดยโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมนี้ เป็นหนึ่งในกลไกการดำเนินงานของโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นแกนหลักในการลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลประชาชนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีรายได้น้อย และยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่พลาดโอกาสการลงทะเบียนในรอบที่ผ่านมา โดยในการลงทะเบียนจะมีการสอบถามความต้องการในการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทักษะและอาชีพ รวมทั้งจะใช้กลไกประชาคมในการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น เพื่อคัดกรองผู้เข้าข่าย และบันทึกข้อมูลผู้ลงทะเบียนที่ผ่านกลไกประชาคมเข้าระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำโดยกระทรวงการคลัง ภายในวันที่ 31 ก.ค.2561 เพื่อจัดเก็บข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องในภายหลัง
โดยกระทรวงการคลังจะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง ฐานข้อมูลการถือครองที่ดิน กรมที่ดิน ฐานข้อมูลการยื่นชำระภาษี กรมสรรพากร ฐานข้อมูลบำนาญ กรมบัญชีกลาง ฐานข้อมูลเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่รับฝากเงินจากประชาชน พันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สลากออมทรัพย์ของธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และฐานข้อมูลคนพิการของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อนำมาประมวลผลผู้มีรายได้น้อย และนำไปใช้ในการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมต่อไป โดยผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิได้จาก “ทีมไทยนิยม” ประจำพื้นที่ ที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเว็บไซต์ www-epayment.go.th
หลังจากคัดกรองผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว กระทรวงการคลังจะทำหน้าที่ออกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ผู้มีสิทธิ เพื่อใช้รับสวัสดิการตามที่ภาครัฐกำหนดต่อไป โดยจะแจกจ่ายบัตรสวัสดิการฯ ดังกล่าว ผ่านกลไกของทีมไทยนิยมนั่นเอง
โดยจากการสำรวจของกระทรวงมหาดไทย พบว่า มีผู้เข้าข่ายลงทะเบียนเพิ่มเติมในครั้งนี้ 1.1 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ 2.6 แสนคน, ผู้พิการ 9.1 หมื่นคน, ผู้ป่วยติดเตียง 2.1 หมื่นคน และผู้ที่พลาดโอกาสลงทะเบียนในรอบแรกอีก 6.8 แสนคน ขณะที่กระทรวงการคลังเอง คาดการณ์ว่ารอบนี้จะมีผู้มาลงทะเบียนอีก 1.5 ล้านคน.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |