วันที่ 15 กรกฎาคม เมื่อ 151 ปีที่แล้ว นั้นคือปี พ.ศ.2410 ในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามต้องสูญเสียเขมรและเกาะ 6 เกาะ พื้นที่ 124,000 ตร.กม.ให้แก่ฝรั่งเศส
เนื่องจากไทยกับญวนทำสงครามเพื่อแย่งชิงเขมรส่วนนอกกันมานานหลายปี สงครามครั้งนั้นเรียกว่า อานามสยามยุทธ สู้รบกันอยู่นานหลายสิบปีจนมีการสงบศึกกัน โดยตกลงกันว่าจะให้เขมรเป็นประเทศราชของสยามต่อไป แต่ก็ต้องส่งบรรณาการไปให้ญวนเสมือนประเทศราชของญวนด้วย (แต่ไทยมีสิทธิ์ในการสถาปนากษัตริย์เขมรดั่งเดิม)
ต่อมารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนากษัตริย์แห่งเขมร โดยให้ นักองด้วง ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือสมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ ในปี 2397 เขมรได้แอบส่งสารลับไปยังฝรั่งเศส โดยขอให้ฝรั่งเศสช่วยกู้ดินแดนที่เสียให้ญวณได้กลับมาอยู่กับเขมรอีกครั้ง และมาช่วยคุ้มครองเขมรให้พ้นจากทั้งอำนาจของสยามและญวน แต่การติดต่อระหว่างฝรั่งเศสและกัมพูชาครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อคณะทูตของมงติญี กงสุลฝรั่งเศสประจำเซี่ยงไฮ้เข้ามาทำสนธิสัญญากับไทยแบบเดียวกับสนธิสัญญาเบาว์ริงของอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2399
เมื่อเดินทางออกจากไทย มงติญีได้เดินทางต่อไปยังกัมพูชา แต่นักองค์ด้วงกษัตริย์ในกัมพูชาขณะนั้นตอบว่ากัมพูชาเป็นเมืองน้อยไม่อาจทำสัญญาได้ตามลำพัง ต้องปรึกษาสยามก่อน คณะทูตของมงติญีจึงเดินทางต่อไปยังราชสำนักเว้ของเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะทูตของมงตีญีกลับไปไม่นาน นักองค์ด้วงได้ส่งหนังสือไปยังกงสุลฝรั่งเศสของสิงคโปร์เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2399 เพื่อนำไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสช่วยคุ้มครองกัมพูชาให้พ้นจากอำนาจของสยามและเวียดนาม
แต่ไม่กี่ปีถัดมาสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ นักองราชาวดี หรือสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมรองค์ต่อไป หลังจากที่โดนน้องชายอย่างพระสีวัตถาและลุงคือ สนองสู จ้องและได้ทำการแย่งบัลลังก์
แต่ด้วยความช่วยเหลือจากทางสยามจึงได้ครองราชย์สำเร็จ ในช่วงก่อนปี 2406 นั้น ฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบอินโดจีนหรือญวนมากขึ้น และได้เข้ามาบีบบังคับโดยใช้กำลังทั้งทางกองเรือและทางการทูตให้สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ยอมให้อำนาจแก่ฝรั่งเศส ในการเข้ามาปกครองและให้เขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและพระองค์ยังคงเป็นกษัตริย์อยู่
และได้ทำสัญญากันในปี 2406 ฝรั่งเศสเข้ามาเอาผลประโยชน์โดยเอาเปรียบทางการค้าไทย และต้องการดินแดนเพื่อเข้าไปใกล้กับแม่น้ำโขงเพราะต้องการจะล่องเรือเข้าไปยังจีนผ่านทางนั้น
เมื่อรู้ว่าไทยได้ทำสัญญาลับกับเขมรว่าดินแดนเขมรส่วนนอกยังเป็นของไทยไม่ใช่ของฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดกับไทยให้ยกเลิกสัญญาฉบับนั้นและยอมสละดินแดนเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศสเสีย ฝรั่งเศสจึงได้ส่งกองเรือเข้ามาประชิดเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข่มขู่สยามหลายครั้ง
หลังจากที่ฝรั่งเศสดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการยึดครองดินแดนเวียดนาม พลเรือเอก เดอ ลากรองดิแยร์ ข้าหลวงอินโดจีนฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อให้กัมพูชาเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส
นักองค์ราชาวดีได้ตกลงใจทำสนธิสัญญาดังกล่าว หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ.2406 นักองค์ราชาวดีได้ทำหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่าถูกฝรั่งเศสบังคับให้ทำสัญญา
สยามได้พยายามรักษาสิทธิของตนเหนือกัมพูชาโดยทำสนธิสัญญาลับสยาม-กัมพูชา เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ.2406 เพื่อยืนยันสิทธิของสยามเหนือกัมพูชา พระนโรดมยินยอมลงนามในสนธิสัญญานี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อฝรั่งเศสทราบถึงการทำสนธิสัญญาลับสยาม-กัมพูชา ก็ได้เข้ามาคัดค้านและเจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญา
ฝ่ายไทยเห็นว่าไม่มีทางจะต่อสู้กับฝรั่งเศสได้จึงต้องยอมไปใน พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867) ไทยจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส รับรองให้เขมรส่วนนอกด้านติดกับโคชินไชนา รวมเกาะอีก 6 เกาะเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสบังคับกษัตริย์นโรดมพรหมบริรักษ์แห่งเขมรให้ยอมยกดินแดนดังกล่าวไปอยู่ใต้การปกครอง
ก่อนที่สยามจะเสียดินแดนครั้งที่ 7 ราชสำนักสยามกับราชสำนักเขมรมีความใกล้ชิดกันอย่างมาก เพราะสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือนักองค์ด้วง เคยทรงพำนักอยู่ในสยามเป็นเวลาถึง 27 ปี
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี( รูป วิกิพีเดีย)
สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีเสด็จพระราชสมภพเมี่อ พ.ศ.2339 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองเอง) และพระราชอนุชาในสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันทร์)
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีเสด็จสวรรคตนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นักองจันทร์ อภิเษกขึ้นครองราชย์ที่เขมรพระราชทานนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชา
แต่เมื่อสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์แล้วมีใจออกห่างกรุงสยาม โดยหันไปพึ่งญวนแทน ในช่วงนั้นเจ้านายและขุนนางเขมรจึงแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
กล่าวคือฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสมเด็จพระอุทัยราชา ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นซึ่งรวมทั้งนักองด้วง จึงต้องหนีเข้ามายังกรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่มีพระชนมายุ 16 พรรษา โดยเข้ามาพำนัก ณ วังเจ้าเขมร ซึ่งเป็นวังที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี พระบิดาเคยพำนักอยู่
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อนักองด้วงมีพระชนมายุ 43 พรรษา หลังจากที่ทรงพำนักอยู่ในราชอาณาจักรสยามเป็นเวลา 27 ปี จึงเดินทางกลับเขมรพร้อมกับกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เพื่อรบกับญวนที่กำลังแผ่อำนาจเข้าสู่เขมรในช่วงนั้น
โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร"
ดังนั้น เมื่อกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถจัดการเหตุการณ์ในเขมรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการอภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นครองราชสมบัติที่เขมรเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา มีพระนามว่า "พระหริรักษ์รามาธิบดี ศรีสุริโยพันธุ ธรรมมิกวโรดม บรมศรีอินทรา มหาจักรพรรดิราช บรมนารถบรมบพิตร สถิตย์เป็นอิศวรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร เจ้ากรุงกัมพูชา" เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแม จุลศักราช 1209 ตรงกับวันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2390
ต่อมาในปี พ.ศ.2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยพระนามของสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ตามที่ทรงมีศุภอักษรเข้ามาขอเปลี่ยน เป็น
"องค์พระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ศรีสุริโยประพันธ์ ธรรมิศวโรดม บรมศิรินทร บวรมหาจักรพรรดิราช พิกาศนารถบพิตร สถิตยเป็นอิศรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร".
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |