การท่องเที่ยวในปัจจุบัน เป็นปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไทยมีความพร้อมที่จะตอบสนองนักท่องเที่ยวได้ดีขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากหลายประเทศก็เห็นถึงความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย และเริ่มปักหมุดเป็นจุดหมายปลายทางที่ครั้งหนึ่งในชีวิตก็อยากมาเยือน
ซึ่งที่ผ่านมาก็ต้องยอมรับว่าแต่ละสถานที่ในประเทศนอกจากที่จะได้สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวแล้ว ยังสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สร้างการรับรู้ของสินค้าพื้นบ้าน แม้กับอาหาร ผ่านการบอกต่อหรือการสนับสนุนจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
แต่ก็ยังติดปัญหาที่ว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ใช่แต่คนต่างประเทศอย่างเดียว ยังรวมถึงคนไทยเองด้วยนั้น จะแห่กันไปท่องเที่ยวแต่ในหัวเมืองที่มีชื่อเสียง สถานที่ได้รับความนิยม บางทีทำให้เกิดปัญหาการรองรับไม่เพียงพอ รวมถึงการกระจุกตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ในเมืองใกล้เคียงอาจจะไม่ได้รับ เป็นปัญหาระดับล่างที่ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างพอสมควร
เพราะชาวรากหญ้าที่อยู่ในจุดไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดัง ความเจริญและการลงทุนก็เข้าไม่ถึง ซึ่งหลายหน่วยงานก็เห็นถึงปัญหาในส่วนนี้ และเกิดโครงการเที่ยวเมืองรองสามารถลดหย่อนภาษีได้ โดยให้นำใบเสร็จที่ใช้ซื้อสินค้าบริการในเมืองรองทั้ง 55 จังหวัดตลอดปี 2561 มาใช้ลดหย่อนภาษี สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ทั้งค่าบริการให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ค่าทัวร์ แพ็กเกจท่องเที่ยว ค่าที่พักในโรงแรม หรือโฮมสเตย์ ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าทัวร์ ค่าแพ็กเกจท่องเที่ยว หรือค่าสัมมนา ซึ่งเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้เกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นที่ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหลัก
ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ก็เกิดโครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ “ซีไอวี” ที่เป็นหมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่า มีจิตบริการ ที่บริหารโดยชุมชน เป็นการสร้างเสริมรายได้เพิ่มขึ้นภายในชุมชน ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีอาชีพ ลดการทิ้งถิ่นฐาน
ซึ่งแนวทางของนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาหมู่บ้านซีไอวีมีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยการเข้ามาพัฒนาและต่อยอดผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้วยการพัฒนานำเทคโนโลยีและเครื่องมือที่สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ เพื่อการสร้างตลาดใหม่ๆ จนทำให้หลายชุมชนประสบความสำเร็จในด้านการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นเข้าสู่ชุมชน
จากปัจจุบันที่ดำเนินการไปแล้ว 161 ชุมชน และได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 450 ชุมชน ภายในปี 2562 ครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ได้กำหนดแผนที่เป็นรูปธรรมในการเข้าไปพัฒนาผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแนวทางการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ
ทั้งนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้กล่าวว่า ในระยะต่อไปการส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านซีไอวี จะผ่านกลไกการดำเนินงานของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ไอทีซี) โดยจะเข้าไปวางแผนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ทั้งทางด้านอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นที่สามารถยกระดับและต่อยอดทางการตลาดได้ โดยจะเป็นการพัฒนาเชิงรุก ที่มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยด้านการออกแบบดีไซน์ เพื่อตอบสนองตลาดโดยรวม และตลาดเฉพาะเจาะจงตามคำสั่งซื้อมากขึ้น และการทำตลาดออนไลน์ ตั้งแต่การจัดทำเฟซบุ๊ก แฟนเพจ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน
ซึ่งต้องติดตามว่าการเข้าไปช่วยเหลือ หรือพัฒนาชุมชนเล็กๆ ให้ดึดดูดสายตานักท่องเที่ยวนั้น ถ้าทำได้จริงก็จะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจแทรกซึมไปในส่วนเล็กๆ ของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการบอกว่าประเทศไทยนั้นสามารถไปเที่ยวได้ทุกจังหวัด ทุกชุมชน ทุกที่มีเอกลักษณ์และความสวยงามที่แตกต่างกัน เป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่จะสร้างการเติบโตของการท่องเที่ยวไทยด้วย.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |