คมนาคมล้อมคอก เล็งแก้กฎหมายเอาผิดผู้ประกอบการฝืนคำสั่งออกเรือ


เพิ่มเพื่อน    

คมนาคมเล็งแก้กฎหมายเอาผิดผู้ฝ่าฝืนออกเรือหากมีความเสี่ยงมรสุม ด้านกรมเจ้าท่ากางแผนเพิ่มความปลอดภัยคาดสรุปผู้รับผิดชอบได้ภายใน 1 สัปดาห์ เปรยทำได้แค่เยียวยา แต่เอาผิดเจ้าของไม่ได้หลังกฎหมายไม่รองรับ  ด้านเอกชนป่วนอีกจ่ายค่าปัดกู้ซากเรือหวังทิ้งเป็นขยะในทะเล

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีเหตุการณ์เรือล่มที่จ.ภูเก็ตว่า กระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ต้องสร้างมาตรการเรื่องความปลอดภัยทุกระบบขนส่งสาธารณะให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยเรื่องการเดินเรือนั้นต้องปรับปรุงระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้นโยบายไว้ อย่างไรก็ตามในเรื่องการออกเรือนั้นทางบริษัทเจ้าของเรือต้องมีผู้รับผิดชอบที่เป็นผู้จัดการความปลอดภัย(safety manager) ร่วมกับกัปตันเรือ ในการรายงานข้อมูลผู้โดยสารให้กรมเจ้าท่า ซึ่งปัจจุบันมีการรายงานอยู่แล้ว 

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ไปต้องเข้มงวดมากขึ้น โดยสร้างระบบที่เป็นระเบียบปฏิบัติชัดเจนในการลงไปตรวจสอบเรือก่อนเรือออกทุกอย่างต้องพร้อม โดยเฉพาะอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่สำคัญกัปตันจะออกเรือไม่ได้จนกว่าพนักงานจะชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติในการขึ้นเรือให้เรียบร้อยก่อน ทั้งนี้จะเร่งให้กรมเจ้าท่าแก้ไขระเบียบต่างๆให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับเทศกาลวันหยุดยาวช่วงปีใหม่ 62

ด้านนายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า(จท.)กล่าวว่าในอนาคตจะมีการออกระเบียบกรมเจ้าท่าเพื่อใช้บังคับตามกฎหมายในกรณีที่มีการแจ้งเตือนสภาพอากาศและการห้ามออกเรือ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการบังคับอย่างจริงจังเป็นเพียงดุลพินิตของกัปตันคุมเรือในการตัดสินใจออกเดินเรือ นอกจากนี้ในอนาคต ยังมีแนวคิดเรื่องกำหนดมาตรการความปลอดภัยในการใช้บริการเรือโดยสารให้เป็นในลักษณะเดียวกับการใช้บริการเครื่องบิน โดยจะวางระบบมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินเรืออย่างเข้มข้น ทั้งการตรวจสอบตัวเรือ การออกใบประกาศนียบัตรนายท้ายเรือ ตลอดจนการเพิ่มความถี่ในการตรวจเรือให้มากกว่าปีละ1ครั้ง พร้อมปรับปรุงระเบียบปฏิบัติต่างในการเดินเรือและข้อปฏิบัติการขึ้นเรือตลอดจนอบรมพนักงานและงานบริการผู้โดยสารคล้ายแอร์โฮสเตสที่คอยแนะนำการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยและทางออกฉุกเฉินให้ผู้โดยสาร โดยจะนำแนวทางไปปฏิบัติในจังหวัดท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงทั่วประเทศ อาทิ เมืองพัทยาและจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมเจ้าท่าเปิดเผยว่าขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปเหตุการณ์และหาผู้รับผิดชอบคาดว่าจะได้ข้อสรุปในสัปดาห์หน้า แต่ทั้งนี้ยอมรับว่าด้วยตัวกฎหมายยังไม่มีข้อบังคับชัดเจนจึงน่าจะยังเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ประกอบการไม่ได้ ทำได้เพียงมาตรการเยียวยาความเสียหายทั่วไป อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นหนึ่งในสาเหตุมาจากที่กรมเจ้าท่าขาดแคลนพนักงานดูแลความปลอดภัยตามท่าเรือเพราะรัฐบาลไม่อนุมัติให้รับบุคลากรเพิ่มจึงขาดแคลนจำนวนมาก พอคนไม่พอก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ทั่วถึง 

นอกจากนี้ยังขาดแคลนงบประมาณบำรุงรักษาท่าเรืออีกด้วยเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยให้เกิดขึ้น โดยหลังจากที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นนั้นฝ่ายนโยบายได้เริ่มพูดคุยถึงการเพิ่มงบประมาณบ้างแล้วเพราะเป็นสิ่งที่แก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนและทำได้เร็วกว่าการแก้กฎหมายหรือออกประกาศกรมฉบับใหม่ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ยังคงมีข้อพิพาทที่ต้องเคลียร์กับเอกชนคือการกู้ซากเรือที่จมลงไปนั้นเบื้องต้นทางเอกชนปฏิเสธที่จะออกเงินกู้เรือของตนที่จมลงไปนั้นด้วยการให้เหตุผลว่าความลึกที่จมลงไปราว 44 เมตรนั้นไม่กระทบกับการเดินเรือปกติบนผิวน้ำ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"