คลองด่านจบ!‘วัฒนา’คุก3ปี


เพิ่มเพื่อน    

  จำคุก 3-6 ปี  "วัฒนา อัศวเหม" พร้อมพวกเอกชนคดีทุจริตคลองด่าน กรมควบคุมมลพิษเดินหน้าฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 2.3 หมื่นล้าน

    เมื่อวันที่ 13 ก.ค.นี้ ที่ศาลแขวงดุสิต ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ 254/2547 ที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง 1.กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี หรือ NVPSKG (ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องตั้งแต่ชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์) 2.บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 3.นายพิษณุ ชวนะนันท์ กรรมการ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 4.บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง  5.นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ กรรมการ บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง 6.บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) 7.นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล กรรมการ บริษัท สี่แสงการโยธา  
    8.บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ 9.นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล กรรมการ บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ 10.บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ 11.นายรอยอิศราพร ชุตาภา กรรมการ บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ 12.บริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ 13.นายชาลี ชุตาภา กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ 14.นายประพาส ตีระสงกรานต์ กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ 15.นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ 16.บริษัท ปาล์ม บีช ดิเวลลอปเมนท์ 17.นางบุญศรี ปิ่นขยัน กรรมการ บริษัท ปาล์ม บีชฯ 18.นายกว๊อกวา โอเยง สัญชาติฮ่องกง ในฐานะผู้แทน บริษัท ปาล์ม บีชฯ และ 19.นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย (หนีคดีตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งศาลออกหมายจับไว้อยู่แล้ว) เป็นจำเลยที่ 1-19 ในความผิดฐานฉ้อโกงการจัดซื้อที่ดิน อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ เนื้อที่รวม 1,900 ไร่ มูลค่า 1.9 พันล้านบาท เพื่อก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน แต่ที่ดินนั้นกลับเป็นกลุ่มบริษัทจัดหามาแล้ว ที่ดินนั้นเป็นคลอง ถนนสาธารณะ และป่าชายเลน และฉ้อโกงสัญญาก่อสร้าง มูลค่าประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งคดีนี้จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
    ซึ่งในส่วนของกิจการร่วมค้า NVPSKG จำเลยที่ 1 นั้น ศาลได้พิพากษายกฟ้องไปแล้วตั้งแต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ โดยคดีศาลสั่งประทับรับฟ้องไว้เฉพาะจำเลยที่ 2-19 เท่านั้น ปัจจุบันจึงเหลือจำเลยที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษารวม 18 ราย โดยศาลแขวงดุสิต ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น ได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2552 เห็นว่าจำเลยทั้ง 18 ราย กระทำผิดจริง จึงพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 3, 5, 7, 9, 11 13-15, 17, 18 และนายวัฒนา จำเลยที่ 19 รวม 11 คน คนละ 3 ปี ส่วนจำเลยที่ 2, 4, 6, 8, 10, 12, 16 ซึ่งเป็นบริษัทนิติบุคคล รวม 7 ราย ให้ปรับรายละ 6,000 บาท โดยจำเลยทั้งหมดยื่นอุทธรณ์สู้คดีเพื่อให้พิพากษายกฟ้อง ซึ่งระหว่างอุทธรณ์คดี จำเลยที่ 3, 5, 7, 9, 11 13-15, 17, 18 ได้ประกันตัวคนละ 1 ล้านบาท ส่วนนายวัฒนา จำเลยที่ 19 หลบหนีคดี ศาลจึงสั่งให้ออกหมายจับและปรับนายประกัน 
     กระทั่งวันที่ 19 พ.ย.2556 มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งให้ยกฟ้องจำเลยทั้ง 18 ราย เนื่องจากเห็นว่าช่วงเวลาที่บริษัท ปาล์ม บีชฯ จำเลยที่ 16 ซื้อที่ดินเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ยังไม่แน่ชัดว่าโครงการจะใช้ที่ดินบริเวณใดบ้าง โดย คพ. โจทก์ เพิ่งมีโครงการชัดเจนว่า จะใช้ที่ดิน ต.คลองด่าน ในเดือน ก.พ.2539 พยานหลักฐานโจทก์จึงยังไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าพวกจำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือดำเนินการใดๆ ให้คณะกรรมการคัดเลือกของ คพ. เลือกที่ดินของบริษัท คลองด่านมารีนฯ จำเลยที่ 12 ต่อมา คพ. โจทก์ ได้ยื่นฎีกา ขอให้ศาลฎีกากลับพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหมด
     ขณะที่วันนี้ นายรอยอิศราพร ชุตาภา กรรมการ บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ จำเลยที่ 11, นายชาลี ชุตาภา กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ ที่ 13, นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ ที่ 15, นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย ที่ 19 ที่ศาลเคยออกหมายจับไว้แล้ว เพราะไม่ศาลเมื่อนัดอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าออกหมายจับครบ 1 เดือนแล้ว ยังไม่ได้ตัวมา ศาลจึงให้อ่านคำพิพากษาลับหลังทันทีในวันนี้ 
     ส่วน นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล กรรมการ บริษัท สี่แสงการโยธา จำเลยที่ 7 ที่วันนี้ไม่มาศาล ระบุยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล โดยขอให้ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาอีกครั้งนั้น ศาลเห็นว่าจำเลยน่าจะมาศาลได้ พฤติการณ์เป็นลักษณะการประวิงคดี กรณีไม่มีเหตุให้เลื่อน และส่วนของ นายกว๊อกวา โอเยง สัญชาติฮ่องกง ในฐานะผู้แทนบริษัท ปาล์ม บีชฯ จำเลยที่ 18 ได้รับหมายศาลโดยชอบแล้วไม่มา พฤติการณ์ทั้ง 2 เชื่อว่าจะหลบหนี จึงให้ออกหมายจับทั้ง 2 ภายในเวลา 1 เดือน เพื่อฟังคำพิพากษาต่อไปในวันที่ 22 ส.ค. เวลา 09.00 น.
    โดยองค์คณะศาลแขวงดุสิต ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ตามทางนำสืบของ คพ. โจทก์ รับฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 รวม 18 ราย กระทำผิดตามฟ้อง จึงพิพากษากลับเป็นว่า จำเลยทั้ง 18 ราย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 ฐานร่วมกันฉ้อโกงกรณีการซื้อที่ดิน 1.9 พันล้านบาท และฉ้อโกงกรณีสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น ที่ศาลล่างพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมดนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย 
    ซึ่งการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ จึงให้จำคุก นายพิษณุ ชวนะนันท์ กรรมการ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำเลยที่ 3 และนายรอยอิศราพร ชุตาภา กรรมการ บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ จำเลยที่ 11 คนละ 6 ปี ใน 2 กระทง ฐานร่วมกันฉ้อโกงการซื้อที่ดิน 1.9 พันล้านบาท และฉ้อโกงสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย อ.คลองด่าน มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท 
    ส่วนนายชาลี ชุตาภา กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ จำเลยที่ 13, นายประพาส ตีระสงกรานต์ กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ จำเลยที่ 14, นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ กรรมการ บริษัท คลองด่านมารีนฯ ที่ 15, นางบุญศรี ปิ่นขยัน กรรมการ บริษัท ปาล์ม บีชฯ ที่ 17, นายกว๊อกวา โอเยง สัญชาติฮ่องกง ในฐานะผู้แทนบริษัท ปาล์ม บีชฯ ที่ 18 และนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย (หนีคดีตั้งแต่ปี 2552) ที่ 19 ให้จำคุกคนละ 3 ปี ฐานร่วมกันฉ้อโกงกรณีการจัดซื้อที่ดิน สำหรับนายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ กรรมการ บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำเลยที่ 5, นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล กรรมการ บริษัท สี่แสงการโยธา จำเลยที่ 7, นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล กรรมการ บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำเลยที่ 9 ให้จำคุกคนละ 3 ปี ฐานร่วมกันฉ้อโกงกรณีสัญญาการก่อสร้าง (รวมจำคุกผู้บริหารบริษัทก่อสร้างทั้งหมดรวม 11 คน) 
    สำหรับ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำเลยที่ 2 กับบริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ ที่ 10 นั้นให้ปรับรายละ 2 กระทง รวมเป็นเงิน 12,000 บาท ฐานร่วมกันฉ้อโกงกรณีการซื้อที่ดินและฉ้อโกงสัญญาจ้างก่อสร้างงานและปรับ บริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ ที่ 12 กับบริษัท ปาล์ม บีช ดิเวลลอปเมนท์ ที่ 16 รายละ 6,000 บาท ฐานร่วมกันฉ้อโกงกรณีการซื้อที่ดินสำหรับ บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำเลยที่ 5, บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) ที่ 6, บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำเลยที่ 8 ให้ปรับรายละ 6,000 บาท ฐานร่วมกันฉ้อโกงสัญญาจ้างก่อสร้างงาน (รวมปรับบริษัทจำเลยทั้งหมด 7 แห่ง)
     นายณกฤช เศวตนันทน์ ทนายความของกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า หลังจากนี้จะเป็นหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษจะต้องฟ้องร้องในทางแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายตามผลของคำพิพากษาในทางอาญาวันนี้ ซึ่งมูลค่าความเสียหายประมาณ 23,000 ล้านบาท ในส่วนคดีความที่ศาลปกครอง ปัจจุบันศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด เป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการและกรมควบคุมมลพิษที่รับผิดชอบเรื่องคดีปกครอง นำคำพิพากษาของศาลวันนี้ไปยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยชี้ขาดตามแนวทางของศาลฎีกาวันนี้ 
     นายณกฤชกล่าวต่อไปว่า และในส่วนการยึดและอายัดเงินของจำเลยและคนที่ได้รับเงินไปจากการจ่ายเงินของทางราชการ ที่ในทางราชการตอนแรกตกลงว่าจะจ่าย 10,000 ล้านบาท แต่ทางราชการได้เปลี่ยนมาจ่ายในงวดแรก และได้จ่ายไป 4,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งต่อมาทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไปอายัดเงินที่จำเลยมีการฟอกเงินที่รับไปประมาณ 500 ล้านบาท จาก 4,000 ล้านบาท ซึ่งทาง ปปง.ก็ได้ฟ้องเป็นคดีทั้งหมด 4 คดี โดยมีการฟ้องต่อศาลแพ่ง ขอให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาไปแล้ว 2 คดี และจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว 2 คดี จากนี้ไปอัยการจะได้นำคำพิพากษาของศาลฎีกานี้ไปขอให้ศาลแพ่งสืบพยานและทำคำพิพากษาต่อไป เพื่อให้เสร็จสิ้นคดีและนำเงินที่บริษัทเอกชนได้รับไปกลับมาตกเป็นของแผ่นดิน
     “คดีนี้มีการอนุมัติงบประมาณให้กรมควบคุมมลพิษจ้างทนายเอกชนฟ้องคดีเอง จึงถือว่าประสบความสำเร็จ คดีนี้มีจำเลยถึง 19 คน มีทุนทรัพย์ความเสียหายสูงมากถึง 23,000 ล้าน มี 2 สำนวนอยู่ในคดีเดียวกัน ใช้เวลาทำคดีฟ้องตั้งแต่ปี 2547 ศาลชั้นต้นตัดสินปี 2552 ศาลอุทธรณ์ตัดสินปี 2556 ศาลฎีการับเรื่องปี 2557 และศาลฎีกาใช้เวลาพิจารณาถึง 4 ปี นับว่าเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์มากที่สุดของคดีความ มีเจ้าหน้าที่ร่วมกระทำความผิดที่โดน ป.ป.ช.ชี้มูลปี 2554 หลายสิบคน จนต่อมาศาลอาญาลงโทษจำคุก” นายณกฤชกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"