ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต / เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีงานเปิดตัวหนังสือ ‘พังงาแห่งความสุข...สุขที่คุณสัมผัสได้’ และมีการจัดเวทีเสวนาโดยผู้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ‘พังงาแห่งความสุข’ เช่น ไมตรี จงไกรจักร นายกสมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข ปรีดา คงแป้น เลขาธิการมูลนิธิชุมชนไท ธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง รองผู้อำนวยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
จังหวัดพังงา ได้รับการสำรวจและวิจัยจากหลายหน่วยงานว่าเป็นจังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศติดต่อกันหลายปี เช่น การสำรวจภาวะเศรษฐกิจของสังคมและครัวเรือนตลอดปี 2552-2553 พบว่า พังงาเป็นจังหวัดที่มีความสุขมากที่สุดต่อเนื่องกัน 2 ปี นอกจากนี้การวิจัยของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตั้งแต่ปี 2557-2560 เรื่อง ‘ผลการจัดอันดับจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย’ พบว่า พังงาเป็นจังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศรองจากแม่ฮ่องสอน
จากการสำรวจพบว่าปัจจัยที่ทำให้ประชาชนในจังหวัดต่างๆ อยู่แล้วมีความสุข มีปัจจัยมาจากด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งวิถีชีวิตชาวบ้าน เป็นเมืองสงบ เป็นสังคมขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัวและชุมชน ผู้คนมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง คนในพื้นที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีความเป็นเมืองและลักษณะวัตถุนิยมระดับน้อยถึงปานกลาง ฯลฯ
จากผลการสำรวจของหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าว วาทกรรม ‘พังงาแห่งความสุข’ จึงนำไปสู่การขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคมจังหวัดพังงา โดยมีการจัดงาน ‘สมัชชาพังงาแห่งความสุขครั้งที่ 1’ ในปี 2556 และจัดต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน และนำมาสู่การจัดทำร่างยุทธศาสตร์ 10 ข้อ เพื่อนำไปสู่ ‘พังงาแห่งความสุข’ เช่น 1.การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน กระจายรายได้อย่างเป็นธรรม 2.การสร้างการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาตามวิถีชุมชน 3.การสร้างความมั่นคงในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยอย่างเป็นธรรม 4.การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ฯลฯ
หนังสือ ‘พังงาแห่งความสุข...สุขที่คุณสัมผัสได้’ เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นจากการถอดบทเรียนการทำงานชุมชนร่วมกันของผู้นำชุมชนและประชาสังคมของจังหวัดพังงาที่ทำงานร่วมกันมานานกว่า 20 ปี ผ่านประสบการณ์ความล้มเหลว การล้มลุกคลุกคลาน จุดอ่อน จุดแข็ง ฯลฯ จัดพิมพ์โดยโครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะบรรณาธิการ : ไมตรี จงไกรจักร, ปัณฑิตา จันทร์อร่าม, พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม 2561 จำนวน 166 หน้า จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้มาจากแนวคิดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี และ ประชา หุตานุวัตร ที่มองเห็นว่าบทเรียนการทำงานของสมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข คือ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระดับฐานราก ที่มีความเป็นตัวของตัวเอง และมีศักดิ์ศรี โครงการผู้นำแห่งอนาคตฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการตีแผ่แนวคิดและกระบวนการขับเคลื่อนสังคมของสมาคมประชาสังคมพังงาฯ ออกสู่สาธารณะชน และถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของบทเรียนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งที่มาจากฐานรากที่แท้จริง ซึ่งผู้อ่านจะได้นำแนวคิดต่างๆ ไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์การทำงานในพื้นที่ของตนเองได้
ขณะที่ ไมตรี จงไกรจักร นายกสมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข และอีกหลายบทบาทหน้าที่ทางสังคม ซึ่งเติบโตมาจากเหตุการณ์ ‘สึนามิ’ เมื่อปี 2547 จากนักการเมืองท้องถิ่นแห่งบ้านน้ำเค็ม จ.พังงา ที่สูญเสียบิดาและญาติมิตรหลายสิบคนในเหตุการณ์ครั้งนั้น จนกลายมาเป็นนักพัฒนาและหัวขบวนในการขับเคลื่อนพังงาไปสู่ความสุขในวันนี้ ได้บันทึกบางส่วนในหนังสือเล่มนี้ว่า...
“เชื่อว่า ‘พังงาแห่งความสุข’ เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่คล้ายๆ กับจังหวัดอื่นๆ ที่มีความฝันเดียวกัน อาจฝันที่จะเป็นจังหวัดจัดการตนเอง หรืออื่นๆ ก็ตาม ทั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้สนับสนุนไม่เข้าใจอย่างแท้จริง จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากทีมงานทำงานไร้ซึ่งเป้าหมายร่วม...
หนังสือเล่มนี้ เป็นเหมือนเรื่องเล่าทั้งกระบวนการทำงานในระดับจังหวัด และการทำงานในพื้นที่ การสร้างผู้นำ รวมถึงการประสานภาคีสนับสนุน ให้สอดคล้องกับการทำงานที่มีเป้าหมายของพื้นที่ รวมทั้งการเชื่อมร้อยเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีต่างๆ ในพื้นที่ไปพร้อมกันด้วย...”
ปรีดา คงแป้น เลขาธิการมูลนิธิชุมชนไท ซึ่งมีบทบาทในการสนับสนุนการทำงานของคนพังงามานานกว่า 10 ปีนับตั้งแต่เหตุการณ์สึนามิ โดยใช้เงื่อนไขภัยพิบัติในครั้งนั้นเข้าไปทำงาน สนับสนุนให้ชาวบ้านได้ ‘ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง’ จนกลายเป็นทีมงานชาวบ้านที่ช่วยกันฟื้นฟูพื้นที่ภัยพิบัติ และต่อมาได้ขยายไปทำงานด้านต่างๆ ทั้งเรื่องสิทธิชุมชน การแก้ไขปัญหาที่ดิน ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำงานในพื้นที่จังหวัดพังงาเท่านั้น แต่ยังขยายกลายเป็นเครือข่ายประชาชนที่เข้าร่วมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของพี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศ
ปรีดากล่าวถึงการขับเคลื่อนพังงาแห่งความสุขในตอนหนึ่งว่า...”ถ้าพังงาแห่งความสุขจะตอบโจทย์ได้ คนพังงาทุกกลุ่มต้องมีส่วนร่วม คนทุกกลุ่มหมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล คนไร้สัญชาติที่คุระบุรี คนที่มีปัญหาเรื่องที่ดิน หรือคนที่ถูกเบียดขับจากการท่องเที่ยว เข้ามามีกระบวนการในการวางแผนของจังหวัด มีสิทธิ์มีเสียงในเรื่องนี้...อะไรที่เขาไม่เห็นด้วยเขาสามารถคัดค้านได้ อะไรที่เขาเห็นว่าจะต้องพัฒนาก็ต้องทำ ไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจหรือภาคการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ทุกคนสามารถส่งเสียงได้ สิ่งเหล่านี้คือกระบวนการทำงานที่นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล และนำไปสู่พังงาแห่งความสุขได้ในที่สุด”
ธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. บอกเล่าบทบาทของ พอช.ในหนังสือเล่มนี้ว่า ในช่วงปี 2542-2543 พอช.ซึ่งในขณะนั้นยังเป็น ‘สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง’ ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในจังหวัดพังงารวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นมา เพื่อเป็นรากฐานในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยเริ่มจากเรื่องที่ใกล้ตัว หรือเรื่องที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น สวัสดิการชุมชนที่ชุมชนจะดูแลสมาชิกตั้งแต่เรื่อง เกิด แก่ เจ็บตาย จนนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้น เช่น เรื่องที่ดินทำกิน ฯลฯ และเมื่อเกิดเหตการณ์สึนามิในปี 2547 พอช.ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
นอกจากนี้ธีรพลยังมีข้อแนะนำการทำงานของภาคประชาสังคมในจังหวัดพังงาว่าต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น 1.แกนนำในขบวนประชาสังคมจังหวัดพังงาจะต้องยกระดับการทำงานให้เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ โดยคิดในเชิงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานให้มากขึ้น 2.พังงามีรูปธรรมความสำเร็จของชุมชนแต่ละพื้นที่พอสมควรแล้ว แต่ควรขยับขยายไปสู่ประเด็นอื่นๆ ในชุมชนเพื่อจัดการตนเองได้มากขึ้น 3.คิดหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องการท่องเที่ยว เพราะในอนาคตจะมีผลกระทบมากขึ้น เช่น การสูญเสียที่ดิน การแย่งชิงทรัพยากร ฯลฯ
หนังสือ ‘พังงาแห่งความสุข...สุขที่คุณสัมผัสได้’ ยังมีเนื้อหาที่อัดแน่นไปด้วยประสบการณ์การทำงานของภาคีเครือข่าย ผ่านสายตาและมุมมองของแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่รูปธรรมตัวอย่างมานำเสนอ เช่น ตำนานของความสุขที่คุระบุรี...ข้าวดีที่ตากแดด...เกาะปันหยีมีดีที่สวัสดิการชุมชน...ช่วยเหลือเกื้อกูล จุดสร้างความสุขของคนบ้านหล่อยูง ฯลฯ
ถือเป็นการทบทวนบทเรียนการทำงานของตัวเอง...เพื่อก้าวไปสู่วันข้างหน้า !!
หนังสือเล่มนี้ไม่มีวางจำหน่าย...ท่านที่สนใจติดต่อสอบถามได้ที่มูลนิธิชุมชนไท โทร...02-3795386-7
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |