การกลืนในผู้สูงอายุ


เพิ่มเพื่อน    


    เรื่องของการสำลักน้ำหรือสำลักอาหารนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียวสำหรับทุกคน มิเช่นนั้นเราคงไม่ได้เห็นข่าวคราวเรื่องราวของเด็กกลืนหรือสำลักเอาเมล็ดฝรั่ง เมล็ดขนุนเข้าไปในหลอดลม..จริงไหม
    เพียงแต่ว่าการสำลักหรือปัญหาการกลืนอาหารนั้น หากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุแล้ว มันจะรุนแรงและแก้ไขได้ยากกว่าคนวัยอื่นเท่านั้น เราจึงเห็นผู้สูงวัยอายุประมาณ 90 ขึ้นไป มักจะมีข้อแนะนำจากแพทย์ให้ใช้วิธี "ฟีด" อาหารทางจมูก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อการป้องกันสำลักนั่นเอง 
    เท่าที่เคยถามจากคุณหมอที่ดูแลคุณแม่นั้น ได้เคยอธิบายว่า คนแก่ทุกอย่างในร่างกายเสื่อมหมด เฉกเช่นกับที่เราท่องจำตอนเรียนวิชาสุขศึกษาว่า วัยสูงอายุเป็นวัยของการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้น การทำงานของช่องปาก ของฟัน ของคอ ก่อนไปถึงหลอดอาหารมันก็เสื่อมลง เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสำลัก หรือการกลืนไม่คล่องตัวเหมือนวัยอื่นๆ นั่นเอง
    เมื่อเร็วๆ นี้เอง ทางกรมการแพทย์ก็ได้ออกมาเผยแพร่ปัญหาเกี่ยวกับการกลืนของผู้สูงอายุที่ต้องพึงระวัง โดยอธิบายว่า กลไกในการกลืนในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1.ระยะช่องปาก ผู้สูงอายุไม่มีฟัน และกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวลดลง ทำให้ใช้เวลาในการบดเคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้น กำลังและการประสานการทำงานของริมฝีปากและลิ้นลดลง ทำให้กระบวนการเตรียมอาหาร และการส่งผ่านอาหารใช้เวลานานขึ้นและประสิทธิภาพลดลง ต้องมีการกลืนหลายครั้งกว่าอาหารจะหมดจากช่องปาก ผู้สูงอายุบางรายอาจมีอาหารเหลือค้างในปาก เป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรค เสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก 
    2.ระยะคอหอย การกลืนที่คอหอยจะเกิดช้ากว่าวัยอื่น กล่องเสียงยกตัวขึ้นมารับกับฝาปิดกล่องเสียงช้า ความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยลดลง หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดช้า ทำให้อาหารอยู่ในระยะคอหอยนาน ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดสำลักอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ จึงเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ และ 3.ระยะหลอดอาหาร ระยะเวลาที่หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดจะสั้นลง จึงมีอาหารเหลือค้างที่คอหอย เสี่ยงต่อการสำลักเข้าทางเดินหายใจ แรงบีบไล่อาหารของหลอดอาหารลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะไส้เลื่อนกระบังลมมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น กลไกการกลืนจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระยะ และมีส่วนสัมพันธ์กับระบบประสาทสั่งการและการควบคุมการหายใจ
    ส่วนคุณหมอประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ บอกว่า สาเหตุของภาวะกลืนลำบากที่พบได้บ่อยของความผิดปกติของช่องปากและคอหอยในวัยสูงอายุคือ โรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม แต่อาจมีสาเหตุจากภาวะอื่นๆ ได้แก่ โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช รวมถึงโรคพาร์กินสันที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ทำให้การกลืนอาหารยากขึ้น 
    อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำวิธีแก้ปัญหาภาวะกลืนลำบาก ว่าควรปรับอาหารผู้สูงอายุหรือผู้ใกล้ชิดเลือกชนิดของอาหารที่ใช้ในการฝึกกลืนอย่างเหมาะสม ได้แก่ อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายและมีรสจืด โดยรับประทานปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง และเลือกใช้ช้อนที่มีขนาดเล็กลงและหลุมไม่ลึก ทำให้ปริมาณการรับประทานอาหารต่อคำลดลง รวมถึงปริมาณน้ำที่น้อยลงในแต่ละคำจะช่วยลดอาการสำลักได้ 
    แต่ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันมีนวัตกรรมสารเพิ่มความหนืดที่ผสมได้ทั้งอาหารเหลวและของเหลว เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหากลืนลำบากมีความปลอดภัยมากขึ้น และการใช้เทคนิคช่วยกลืนคือ จัดท่าให้ศีรษะและลำตัวของผู้สูงอายุสามารถชดเชย กลไกการกลืนที่บกพร่องไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการรับประทานอาหารทางปากมากขึ้นด้วย 
    เรื่องกลืนไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดนะคะเมื่อเวลาเหลือน้อยลง. 
                                        "ป้าเอง"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"