เจาะใจผู้บริโภค 4.0


เพิ่มเพื่อน    

    ที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรอบด้าน ระยะหลังทำให้นักการตลาดต้องปรับมุมมองด้านกลยุทธ์กันตลอดเวลา ไม่ใช่แค่ตัวผู้บริโภคเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งเครื่องมืออย่างโซเชียลมีเดียเองก็มีการปรับเร็วไม่แพ้กัน การอัพเดตข้อมูลให้ทันเทรนด์ จึงมีส่วนสำคัญที่จะนำมาต่อยอดกลยุทธ์
    เมื่อไม่นานมานี้วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU ได้เปิดงานวิจัยที่ชื่อว่า “Momentum Marketing เจาะใจคนชอบแชร์ จุดกระแสการตลาด” เผย “ผู้บริโภคกลุ่มแรก” หรือ “มีก่อนใช้ก่อน” (Early Adopters) ผู้เป็นนักจุดกระแสการแชร์ต่อจนโด่งดันสนั่นโลกออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการเกิดหรือดับของสินค้าและบริการ จากการรีวิวและบอกต่อไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มทั่วไป แนะว่าให้จับตากลุ่ม Gen Y เพราะมีสัดส่วนเป็นผู้บริโภคกลุ่มแรก และมีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นจากการเข้าสู่ตลาดแรงงาน
    บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาดและการเงิน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่ปรึกษางานวิจัย “Momentum Marketing เจาะใจคนชอบแชร์ จุดกระแสการตลาด” กล่าวว่า ทุกวันนี้โซเชียลเน็ตเวิร์กมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น จากผลสำรวจของ ETDA พบว่า คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6.4 ชม./วัน หรือ 45 ชม./สัปดาห์ และขยายครอบคลุมกลุ่มคนหลายอาชีพและหลายช่วงอายุ ในช่วงที่ผ่านมาเราจึงเห็นแบรนด์ต่างๆ  แทบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์หันมาใช้กลยุทธ์การตลาดสร้างกระแสในโซเชียลมีเดีย เพื่อจับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ให้สนใจสินค้าและบริการของตน เมื่อการสร้างกระแสทางการตลาดเป็นเรื่องที่ไม่ยากอีกต่อไป คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าและมองเห็นโอกาสของผู้ประกอบการ ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดครองใจ
    สำหรับกลุ่มเป้าหมายจากผลการศึกษาพบว่าในยุค 4.0 การที่สินค้าใหม่จะเกิดหรือดับนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่มคนที่เรียกว่า “ผู้บริโภคกลุ่มแรก” หรือ “มีก่อนใช้ก่อน” (Early Adopters) เพราะเป็นกลุ่มคนที่เปิดรับสิ่งต่างๆ ได้ไว และมักเป็นคนกลุ่มแรกที่รับรู้ หรือได้ทดลองให้สินค้าก่อนใคร จากนั้นจะทำการรีวิวสินค้าและแชร์ต่อในโลกออนไลน์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย จนเกิดเป็นกระแสรับรู้ไปถึงผู้บริโภคกลุ่มถัดไปซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้น หากนักการตลาดสามารถทำให้คนกลุ่มนี้เปิดใจยอมรับสินค้าได้ จะเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างชื่อเสียงและผลกำไรให้กับแบรนด์
    ทั้งนี้ จากการสำรวจการเปิดรับนวัตกรรมและสินค้าใหม่ของคนไทยมากกว่า 1,400 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อและโซเชียลมีเดียสูงเป็นอันดับหนึ่ง 93% ผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยม Facebook, Line, Instagram และ Twitter รองลงมาคือ โทรทัศน์ และเว็บไซต์ ในจำนวนนี้เป็นผู้บริโภคกลุ่มมีก่อนใช้ก่อน 16.05% เป็นชาย 19.41% และหญิง 14.33% ซึ่งหากแบ่งตามกลุ่มอายุพบว่า เป็นเจนเอ็กซ์หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 41-55 ปี 14.41% ขณะที่เจนวาย หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 23-40 ปี มีสัดส่วนสูงถึง 21.06% ถือเป็นตัวเลขที่น่าสนใจ เมื่อเจาะลึกพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การเลือกซื้อสินค้า พบว่ามี 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการสื่อสารในโลกออนไลน์สูง ได้แก่ 1.แฟชั่น&คอสเมติก 2.เทคโนโลยี&แกดเจ็ต และ 3.อาหาร&เครื่องดื่ม
    คาดการณ์ในปี 2561 จากอินสตาแกรม โดย “พอล เว็บสเตอร์” หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและสร้างสรรค์แบรนด์ อินสตาแกรม ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก Facebook บอกว่า ข้อมูลจากพฤติกรรมของผู้ใช้อินสตาแกรมที่สังเกตเห็นในปีที่ผ่านมาด้วยสมาชิกมากถึง 800 ล้านคน พบว่าร้านค้าโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวล่าสุด ร้านอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรือเทรนด์แฟชั่นใหม่ล่าสุด ผู้คนต่างต้องการที่จะติดต่อสื่อสารกับธุรกิจเหล่านี้ นอกจากนี้  62% ของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลยังบอกว่าหากแบรนด์ติดต่อกับพวกเขาผ่านโซเชียลมีเดียก็จะเพิ่มโอกาสในการเป็นลูกค้าประจำที่จงรักภักดีต่อแบรนด์นั้น
    สืบเนื่องจากโซเชียลแพลตฟอร์มกำลังได้โอกาสที่น่าตื่นเต้นในการทำลายกำแพง ที่จะเชื่อมต่อไปสู่การขายสินค้าในปี 2561 จากการที่แบรนด์ต่างๆ เริ่มได้รับผลประโยชน์จากการเชื่อมต่อนี้ โซเชียลมีเดียจะกลายเป็นแหล่งซื้อขาย และจะช่วยกระตุ้นยอดขายผ่านช่องทางโซเชียลได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันในอดีตการสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดระดับโลก เคยเป็นสิ่งที่ถูกสงวนไว้สำหรับแบรนด์ขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณจำนวนมากเท่านั้น แต่ความง่ายดายในการจัดการและประสิทธิภาพของโซเชียลมีเดีย ได้ยกระดับความเท่าเทียมให้กับสนามแห่งการตลาด ซึ่งช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กได้เกิดและเติบโตในระดับโลก โดยในปี 2561 คาดว่าบริษัทขนาดเล็กจะยังคงผลักดันที่จะลดขีดจำกัดต่างๆ และสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับทุกคนในอุตสาหกรรม
    อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลจากไพรซ์ซ่า (Priceza)  เว็บไซต์ Priceza.com เครื่องมือค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา พบว่ายอดการซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยอยู่ที่ 1,800 บาทต่อออเดอร์ โดยยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 1,177 บาทต่อออเดอร์ และมียอดสั่งซื้อผ่านคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กหรือพีซีอยู่ที่ 2,008 บาทต่อออเดอร์ โดยผู้บริโภคจะเลือกทำรายการสั่งซื้อผ่านคอมพิวเตอร์มากกว่าการทำรายการสั่งซื้อผ่านสมาร์ทโฟน.

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"