รฟท.เผยเอกชนยื่นซื้อซองไฮสปีดสามสนามบินมากเกินคาด พุ่ง31ราย เร่งดันไฮสปีดอีก2เส้น 3 แสนล้านบาทเข้าประมูลภายในรัฐบาลชุดนี้ รับลูก ‘สมคิด’ สั่งศึกษาไฮสปีดไปสุราษฎร์ธานีรับไทยแลนด์ริเวียร่า-เชื่อมรถไฟแลนด์บริดจ์อันดามัน เปิดโผรายชื่อเอกชนชิงเค้กไฮสปีดอีอีซี
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับการเปิดขายซองทีโออาร์นั้นถือว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามขั้นตอนทุกอย่างที่ได้ตั้งไว้ อีกทั้งบริษัทที่มายื่นซื้อซองถึง 31 รายนั้นถือว่าเกินกว่าเป้าหมายที่รฟท.ตั้งไว้อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะเร่งสรุปรายชื่อผู้ซื้อซองและเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปของการประกวดราคา
อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงอีก 2 เส้นทางที่เหลืออย่าง โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-หัวหิน วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาทและโครงการถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก วงเงินราว 2.7 แสนล้านบาทนั้นขณะนี้ทั้ง2โครงการอยู่ระหว่างเสนอตามขั้นตอนทั้งการเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ทั้งนี้รฟท.ตั้งเป้าว่าจะเร่งดำเนินการโครงการดังกล่าวให้เข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาได้ภายในรัฐบาลชุดนี้หรือภายในช่วงกลางปีหน้าจะต้องทำให้ได้ตามแผนที่ฝ่ายนโยบายตั้งไว้
สำหรับกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีต่อสายตรงถึงประธานบอร์ดรฟท.เพื่อเร่งรัดความชัดเจนของโรงการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงช่วงหัวหิน-ชุมพร-สุราษฎร์ธานีเพื่อไปเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟแลนด์บริดจ์ช่วงชุมพร-ระนอง รองรับเส้นทางท่องเที่ยวตามชายฝั่งภาคตะวันตก หรือ ไทยแลนด์ริเวียร่า นั้นเมื่อนโยบายสั่งการมารฟท.ก็จะเร่งพิจารณาแนวทางพัฒนา โดยภายในปีนี้คาดว่าจะเห็นความชัดเจนด้านการจ้างเอกชนที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดการออกแบบ ความเหมาะสมและความคุ้มค่าของเส้นทางดังกล่าวหากต้องต่าขยายจากโครงการเดิมในช่วงกรุงเทพ-หัวหิน ทว่าในงบประมาณปี 2562 นั้นไม่ได้ตั้งงบไว้ดังนั้นจึงอาจต้องใช้แนวทางเบิกงบกลางปีมาใช้ดำเนินการ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาโครงการดังกล่าวไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนดำเนินการเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อถอดแบบราคาและร่างทีโออาร์ต่อไป
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ระบุว่าการเปิดขายซองเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี วงเงิน 2.15 แสนล้านบาทระหว่างวันที่ 16 มิ.ย.-9 ก.ค. นั้นมีเอกชนรายใหญ่สนใจเข้าร่วมซื้อซองมากมายหลากหลายเจ้าทั้งกลุ่มทุนขนาดใหญ๋ในประเทศไทยหลากหลายสาขา อาทิ บิ๊กทุนรถไฟฟ้า บิ๊กอสังหาริมทรัพย์ บิ๊กทุนพลังงานและบิ๊กทุนก่อสร้าง ตลอดจนมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนรถไฟฟ้าไฮสปีดทั้งจากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และฝรั่งเศสเป็นต้น ทั้งนี้สรุปรายชื่อบริษัทที่เข้าซื้อซองรวมทั้งสิ้น31 ราย ประกอบด้วย 1. บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือBTS เป็นรายแรก2. บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CP 3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD 4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ 5.บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ หรือ EnCo
6.บริษัท อิโตชู คอปเปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่น 7.บริษัท ชิโนไฮโดร จำกัด(มหาชน) จากประเทศจีน 8.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC 9. บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM 10. บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด 11.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK 12.บริษัท China Railway Construction Corporation Limited หรือ CRCC 13.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH 14.บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL 15.บริษัท Chaina Railway Group limited 16. บริษัท China Resources (Holdings) Company Limited 17.บริษัท CITIC Group Corporation
18. บริษัท Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc 19. บริษัทการรถไฟฝรั่งเศส SNCF INTERNATIONAL 20.Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development 21.บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE 22.บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือ CPN 23.บริษัท แอล เอ็ม ที สโตน จำกัด 24.บริษัท Wannasser Internationnal Green Hub Berhad 24.บริษัท ช.การช่าง จำหัก (มหาชน) หรือ CK 25.บริษัท China Communications Construction Corporation Limited 26.บริษัท เทอดดำริ จำกัด 27.บริษัท Salini Impregio S.p.A. 28.บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด 29.บริษัท TRANSDEV GROUP 30. บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด 31 บริษัท MRCB Builders SDN. BHD. อย่างไรก็ตามส่งผลให้รฟท.มีรายได้จากการขายซองดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 31ล้านบาท หรือคิดเป็น 1 ล้านบาทต่อซอง
ทั้งนี้ภายหลังจากผ่านขั้นตอนการขายซองโออาร์ไปแล้วจะจัดประชุมชี้แจงจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 23 ก.ค.2561 และ 24 ก.ย.2561 หลังจากนั้นจะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน ในวันที่ 10 ก.ค.- 9 ต.ค. 2561 ตามกำหนดการรฟท.จะเปิดให้มีการรับซองข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.2561 เวลา 9.00 -15.00น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับการซื้อซองเอกสารข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาทและต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท และกำหนดให้เปิดซองผู้ยื่นข้อเสนอวันที่ 13 พ.ย.2561 เวลา 10.00 น.ณ สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |