ตัวช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง ที่นอนโฟมยางพาราลดแผลกดทับ


เพิ่มเพื่อน    


    “ปัญหาแผลกดทับ” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้แบบสะดุด เพราะหากละเลยอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้ในที่สุด ในงาน “OTOP IGNITE MOST’S INNOVATION OTOP AWARDS 2017” ที่จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) งานที่รวมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นซึ่งได้รับการผสานนวัตกรรมเทคโนโลยี โดยมี 2 หน่วยงานเป็นพี่เลี้ยง จากการเข้าร่วม “โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และการประกวด “OTOP IGNITE MOST’S INNOVATION OTOP AWARDS 2017” หนึ่งไฮไลต์ของผลิตภัณฑ์ที่ชนะเลิศการประกวดหมวดของใช้และของตกแต่งอย่าง “ที่นอนโฟมยางพาราลดแผลกดทับ” ของ “กลุ่มเย็บผ้าเครื่องนอนยางพารา” ผลิตภัณฑ์ชุมชนจาก อ.พานกระต่าย จ.กำแพงเพชร (เพจ Pheangjai Thai Spa) จึงนับเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นตัวเลือกในการป้องกันแผลกดทับในคนสูงอายุที่น่าสนใจไม่น้อย  


    พี่แอน-อารีรัตน์ จัดเสือ ผู้ผลิตเครื่องนอนจากโฟมยางพาราเพื่อสุขภาพ เจ้าของโล่รางวัล เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการทำที่นอนและอุปกรณ์เพื่อสุขภาพเริ่มขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว กระทั่งล่าสุดทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น จึงได้สมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมเป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยมี รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จาก สจล.เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนในการผลิตที่นอนและผลิตภัณฑ์จากยางพาราให้มีคุณภาพ โดยใช้ 3 นวัตกรรมสำคัญเข้ามาพัฒนาสินค้า เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เป็นคนรักสุขภาพ  
    “ลักษณะเด่นของที่นอนยางพาราของเราคือ การเรียงตัวที่ไร้ระเบียบของชิ้นโฟมยางพาราขนาดเล็กภายใต้เนื้อผ้า ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างของที่นอน ส่งผลให้ผิวหนังของผู้สูงอายุที่สัมผัสกับที่นอนมีช่องระบายอากาศ จึงทำให้ไม่เกิดแผลกดทับ ต่างจากที่นอนลมซึ่งทำจากพีวีซี จะทำให้ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงเกิดภาวะร้อนแสบคันที่ผิวหนังและเกิดแผล ประการสำคัญเวลาที่คนสูงอายุนั่งหรือนอนลงไป จะทำให้เกิดแรงต้านจากชิ้นโฟมยางพารา จึงเสมือนเป็นการนวดตัว ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากอาการปวดเมื่อย เนื่องจากที่นอนทั่วไปจะทำให้เกิดแรงกดที่นุ่มยวบ จึงทำให้รู้สึกปวดเมื่อยเวลาใช้งาน ซึ่งเหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยนอนติดเตียง และผ่าตัดกระดูกสันหลังจากการที่กระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งทำให้รู้สึกปวดเมื่อยหลัง ตลอดจนวัยทำงานรักสุขภาพ


    จากการเข้าร่วมโครงการก็ได้รับคำแนะนำจาก สจล. โดย รศ.ดร.อิทธิพล ผ่าน 3 เรื่องที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทดลองในห้องแล็บ 1.ใช้วัสดุที่เป็นทรงกลม เช่น ชิ้นโฟมลักษณะทรงกลมขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นและช่องว่างใต้ผืนผ้าอย่างที่กล่าวข้างต้น เพราะหากใช้วัสดุที่เรียบจะไม่สามารถระบายอากาศได้ 2.กลิ่น เนื่องจากข้อเสียของชิ้นโฟมยางพาราจะมีกลิ่นเหม็นฉุน รศ.ดร.อิทธิพล ท่านจึงได้ให้คำแนะนำเรื่องการใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น กลิ่นตะไคร้, กลิ่นวานิลลา, กลิ่นส้ม, กลิ่นสะระแหน่, กลิ่นมะนาว ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ใส่ลงไปในขั้นตอนการผลิตหมอนและที่นอนยางพารา 3.เลือกใช้ผ้าท้องถิ่นที่นำไปเคลือบอนุภาคนาโน หรือเคลือบสังกะสี (ZINC) ซึ่งกันเชื้อรา อาทิ ผ้าขาวม้า, ผ้าขิด (สำหรับทำหมอนขิดหนุน) ทำให้ผลิตภัณฑ์ใช้ได้นานๆ ค่ะ”
    นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว พี่อารีรัตน์ เจ้าของกิจการที่นอนเพื่อสุขภาพ กล่าวว่า ราคาสินค้าที่ย่อมเยาซึ่งเริ่มที่ 250 บาท สำหรับหมอนรองนั่ง ไปถึงที่นอนโฟมยางพาราลดแผลกดทับแบบพับ เริ่มที่ 4,500-5,000 บาท ฯลฯ เหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออยากให้คนงบน้อยสามารถเข้าถึงที่นอนดีมีคุณภาพ เนื่องจากคุณพ่อของเจ้าตัวป่วยและพิการทุพพลภาพเช่นเดียวกัน ที่สำคัญผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 10 ปี และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ ก็คาดว่าจะเดินหน้าผลิตที่นอนเพื่อสุขภาพดังกล่าวให้มีคุณภาพมากขึ้นไปจากคำแนะนำที่ได้รับจากโครงการ โดยต่อจากนี้จะนำไปให้ รพ.รามาธิบดี ทดลองใช้กับผู้ป่วยต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"