คำชี้แจงอย่างเป็นทางการของ วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ในฐานะมือกฎหมายรัฐบาล คสช. กลางที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ 5 ก.ค. ก่อนที่มติที่ประชุม สนช.จะเห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ (คณะสงฆ์) พ.ศ.2505 ด้วยมติเห็นชอบ 3 วาระรวด สรุปประเด็นเหตุผลที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ดังกล่าว ในเรื่อง “ที่มา-โครงสร้างกรรมการมหาเถรสมาคม” (มส.) ที่นำไปสู่การรีเซต มส. หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้
“วิษณุ” ย้ำว่า สาเหตุที่ต้องเร่งเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะต้องการให้ทันกับกรณีที่กรรมการ มส.ชุดปัจจุบันกำลังจะหมดวาระในอีกประมาณ 2 เดือน ขณะเดียวกันการปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ก็มีความเป็นจำเป็นเช่นกัน โดยเป็นการกำหนดให้ มส.ไปทำหน้าที่ในเชิงปฏิรูปและขับเคลื่อนการปฏิรูปต่อไปในอนาคต
พร้อมกับยอมรับว่า การเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวที่ ครม.มีมติเห็นชอบเมื่อ 19 มิ.ย. ทางรัฐบาลได้เตรียมการตั้งแต่มีเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ โดยรัฐบาลเห็นว่ากลไกที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ต้องอยู่ที่มหาเถรสมาคม แต่ในอดีตมีจุดอ่อน คือ การที่มีสมเด็จพระราชาคณะเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีความเหมาะสมตามหลักอาวุโส แต่ในระยะหลังกว่าที่พระภิกษุจะขึ้นไปถึงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาก็จะมีอายุมากและอาพาธ ทำให้ไม่สามารถประชุม มส.ได้ ดังนั้นถ้ามุ่งหวังจะให้ มส.เป็นผู้นำในการปฏิรูปนั้นต้องเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและที่มาใหม่
“เดิมทีไม่ได้คิดเรื่องที่มา คิดถึงเรื่องคุณสมบัติ แต่ในระยะหลังมานี้เริ่มเกิดปัญหาขึ้น กรรมการ มส.บางรูป มีปัญหาต้องคดีและถูกกล่าวหา สั่นสะเทือนความรู้สึกความเลื่อมใสศรัทธาที่ประชาชนมีต่อการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ตามรูปแบบปัจจุบันพอสมควรทีเดียว ดังนั้น ในที่สุดก็คิดกันว่ากลับไปดูรูปแบบใน พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ใช้กันมาถึงรัชกาลที่ 8 ดูโบราณราชประเพณี ดูรัฐธรรมนูญที่ใช้ปัจจุบันที่กำหนดว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และถอดถอนจากฐานันดรศักดิ์ ซึ่งหมายถึงฐานันดรศักดิ์พระและฐานันดรศักดิ์เจ้า ซึ่งหมายถึงกรณีสถาปนาอิสริยยศ จึงควรให้มีองค์ปกครองคณะสงฆ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธาเชื่อถือ ซึ่งความเชื่อถือจะได้มาจากพรรษายุกาล หรือ อายุ จริยวัตร และควรได้มาจากที่มาอันเป็นที่ไว้วางใจ จึงควรย้อนกลับไปสู่การให้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเหมือนกับที่เคยมีมาในอดีต จนทำมาเป็นร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว"
คำชี้แจงจาก "วิษณุ" กลางที่ประชุม สนช.
จนสุดท้าย ที่ประชุม สนช.ลงมติเป็นเอกฉันท์ 217 คะแนน ผ่านร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 3 วาระรวด และขั้นตอนต่อไป ประธาน สนช.ก็จะส่งร่างฯ ไปให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว คือ มาตรา 3 ที่บัญญัติว่าเพื่อให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ตลอดจนการดูแลการปกครองคณะสงฆ์เป็นไปเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่หลักของพระพุทธศาสนาให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และมีการรักษาพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามโดยเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป พระมหากษัตริย์คงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้ง มส.
ขณะที่องค์ประกอบของ มส. ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 รูป ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือพระภิกษุซึ่งมีพรรษาอันสมควรและจริยวัตรในพระธรรมวินัยที่เหมาะสมแก่การปกครองสงฆ์ ซึ่งการแต่งตั้งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย โดยจะทรงปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชก่อนก็ได้
ทั้งนี้ ในยุค คสช.จะพบว่า กระบวนการปฏิรูปกิจการพุทธศาสนา-คณะสงฆ์ ผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินการมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกก็ตอนช่วงปลายปี 2559 ที่ สนช.รวม 48 คนเข้าชื่อกันเสนอแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ในมาตรา 7 เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งตอนนั้น สนช.ก็เห็นชอบ 3 วาระรวด และล่าสุดก็มาในครั้งนี้ ที่มีการแก้ไขเรื่องโครงสร้าง-ที่มาของมหาเถรสมาคม
ขณะเดียวกันกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูป-จัดระเบียบ เกี่ยวกับกิจการพุทธศาสนา-คณะสงฆ์ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ก็ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น การให้มีการตรวจสอบควบคุมบัญชีเงินของวัด เพื่อไม่ให้มีการรั่วไหลเกิดการทุจริต ใช้เงินบริจาคของพุทธศาสนิกชนหรือเงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติจัดสรรไปให้ นำไปใช้ในทางมิชอบ อย่างที่เกิดขึ้นกับกรณีทุจริตเงินทอนวัดที่พบว่า มีอดีตพระเถระชั้นผู้ใหญ่-อดีตกรรมการ มส.เข้าไปเกี่ยวข้อง จนบางรูปอย่างอดีตพระพรหมเมธี อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ต้องหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศอยู่จนถึงทุกวันนี้
การสังคายนาวงการคณะสงฆ์ ปฏิรูปกิจการพุทธศาสนาลำดับต่อไปในยุค คสช.จะแตะไปที่จุดไหน จึงต้องรอดู เพราะอาจมีให้เห็นกันอีกหลายเรื่อง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |