"คีรี กาญจนพาสน์" ตั้งโต๊ะแถลง พร้อมควัก 10 ล้านบาทเยียวยาผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง โบ้ยไม่ใช่ความผิดของตนทั้งหมด อย่าให้ต้องมารับทุกเรื่อง ตัดพ้ออุตส่าห์ลงทุนแก้รถติด ถ้ารู้ว่ามีปัญหาจะพับโครงการตั้งแต่แรก ตอกกลับพวกวิจารณ์ใช้อารมณ์ แต่ไม่มีความรู้ทางธุรกิจ
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดแถลงว่า จากกรณีรถไฟฟ้าขัดข้องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น บีทีเอสได้ออกมาตรการเยียวยาผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบผ่านการชดเชยค่าเดินทาง ซึ่งคาดว่าจะมียอดชดเชยประมาณ 10 ล้านบาทสำหรับมาตีการชดเชยแบ่งเป็นผู้โดยสารประเภทตั๋วเที่ยวเดียวหรือซื้อแบบหยอดเหรียญ ที่เปลี่ยนใจไม่เดินทางช่วงเวลาดังกล่าวและนำบัตรติดตัวไปด้วย สามารถมาใช้บริการได้ภายใน 14 วัน และหากไม่ประสงค์จะเดินทาง สามารถขอเงินคืนได้ภายในวันที่ 31 ก.ค.2561
ส่วนบัตรประเภทเติมเงินสำหรับบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ สามารถแจ้งขอสิทธิ์รับเที่ยวเดินทางพิเศษ 3 เที่ยว และบัตรประเภทเดินทาง 30 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่มีเที่ยวเดินทางเหลือในช่วงล่าช้าสามารถขอเที่ยวพิเศษ 6 เที่ยว โดยผู้โดยสารสามารถนำบัตรโดยสารติดต่อขอเติมเที่ยวพิเศษที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานีตั้งแต่วันที่ 7-31 ก.ค.นี้ และใช้เดินทางได้ภายใน 45 วันนับจากวันเติมเที่ยวพิเศษ
ทั้งนี้ ในอนาคตหากเกิดกรณีความล่าช้ามากกว่า 30 นาทีนั้น บีทีเอสจะประกาศแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารรับทราบ เพื่อนำตั๋วในเที่ยวเดินทางดังกล่าวกลับมารับการชดเชยได้ทุกกรณี แต่ทั้งนี้ต้องออกช่องสแกนตั๋วที่จัดไว้ให้ในแต่ละสถานีเพื่อบันทึกข้อมูลการเดินทาง
"ปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ให้บริการมาตั้งแต่ 19 ปี ถือว่ารุนแรง และที่ผ่านมาขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่มีฝ่ายใดผิดทั้งหมด โดยบีทีเอสไม่เคยโทษเป็นความผิดของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือแม้แต่บีทีเอสก็ไม่ได้ผิดทั้งหมด ตามข้อเท็จจริงการเยียวยาครั้งนี้ต้องการชดเชยความเสียหายผู้เดินทางที่ไม่สามารถเดินทางได้ตามเวลา และมั่นใจว่าการเยียวยาครั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐาน"
ประธานกรรมการบีทีเอสกล่าวยืนยันว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ความผิดของบีทีเอส และไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใดเลย เป็นเรื่องปกติที่ระบบขนส่งซึ่งรองรับผู้โดยสารวันละเกือบ 1 ล้านคน ย่อมต้องมีข้อผิดพลาด ดังนั้นปัญหาในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องรุนแรงมาก ซึ่งตนก็พยายามทำดีที่สุดแล้ว แต่จะให้บีทีเอสมารับผิดชอบทุกเรื่องคงไม่ได้ ที่ผ่านมาเจอวิกฤติทางการเงินหลายด้านกว่าจะมีกำไรเหมือนทุกวันนี้ อีกทั้งการลงทุนที่ผ่านมาบีทีเอสทำเองหมด ทั้งลงทุนก่อสร้างและเดินรถ แตกต่างจากปัจจุบัน ที่รัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ ทว่าเอกชนที่บริหารก็ยังมีผลประกอบการไม่คุ้มทุน
"อยากขอความเห็นใจผู้ที่ลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายแรก ซึ่งสามารถแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ มาได้เกือบ 20 ปี จนเมืองพัฒนาไปได้มากตามโครงข่ายรถไฟฟ้า ทั้งนี้ หากวันนั้นรู้ว่าจะมีปัญหาเยอะแบบนี้ คงตัดสินใจไม่ลงทุนรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งนี้ สิ่งที่ผมได้ชี้แจงนั้นไม่มีการใช้อารมณ์อธิบายแต่อย่างใด เป็นไปตามเหตุผลแท้จริงทั้งสิ้น ส่วนกรณีโซเชียลฯ มีการต่อว่าอย่างรุนแรงเรื่องการยกเลิกสัมปทานบีทีเอสนั้น เข้าใจว่าผู้เผยแพร่คงทำด้วยอารมณ์ และความไม่รู้เรื่องของหลักการสัญญาทางธุรกิจซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานอยู่แล้ว แต่บางคนอาจไม่ทราบหรือถึงขั้นพูดไปโดยไม่เคยทำสัญญา" นายคีรีกล่าว
นายคีรีกล่าวอีกว่า ในอนาคตบีทีเอสจะเดินหน้าปรับปรุงระบบการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบสื่อสารในวันที่ 6 ก.ค.นี้ บีทีเอสจะมีการนำเข้าระบบกรองสัญญาณจากต่างประเทศ ซึ่งจะมาถึงตอนเช้าก่อนติดตั้งที่ขบวนรถก่อนทดสอบการใช้งาน และมั่นใจว่าช่วงเสาร์-อาทิตย์นี้ ระบบการสื่อสารต่างๆ จะมีความเสถียรมากที่สุด
สำหรับการแก้ปัญหาความแออัดภายในสองปีนับจากนี้นั้น จะเริ่มทยอยรับมอบรถไฟฟ้าเพิ่มเพื่อวิ่งในเส้นทางสายสีเขียว คาดว่าจะเพิ่มปริมาณรองรับผู้โดยสารได้ 10%
นอกจากนี้ บริษัทเตรียมเปิดช่องทางใหม่ในการแจ้งข้อมูลการให้บริการ โดยจะมีแอปพลิเคชันในชื่อ ‘BTS SkyTrain’ ให้ดาวน์โหลด ทั้งใน Apple App Store และ Google Play Store ซึ่งบริษัทจัดทำขึ้นโดยมีจุดเด่นที่สุดอยู่ที่การแจ้งเหตุการณ์รถไฟฟ้าขัดข้อง และการแจ้งความหนาแน่นของแต่ละสถานีแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบข้อมูลก่อนใช้บริการ โดยคาดว่าแอปพลิเคชันนี้จะพร้อมใช้งานในวันที่ 1 ส.ค.นี้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |